posttoday

เรืองไกร บุก กกต. ยื่นสอบคุณสมบัติ นายกฯ อิ๊งค์ แพทองธาร 2 ข้อหาหนัก

04 กันยายน 2567

เรืองไกร บุก กกต. ยื่นสอบคุณสมบัติ นายกฯแพทองธาร จี้ตรวจเข้ม การลาออกจาก กรรมการบริษัท 20 แห่ง หลังพบ พิรุธยื่นลาออกจากบริษัท ใน 4 จังหวัด ภายในวันเดียวกัน พร้อมให้ตรวจสอบเรื่องจริยธรรม ยินยอมให้ทักษิณครอบครองตำแหน่งนายกฯ

นายเรืองไกร ลีกิจวัตนะ สมาชิกพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ได้เดินทางมายัง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อยื่นคำร้องให้ กกต.ตรวจสอบคุณสมบัติ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ใน 2 ประเด็น คือ 

ประเด็นแรก กรณีเป็นกรรมการบริษัท 20 แห่ง ของ น.ส.แพทองธาร ที่ยื่นออกลาจากกรรมการบริษัท ในวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งมีผลทันที โดยตามกฎมหมายแพ่ง มาตรา 1153/1 แก้ไขเมื่อปี 2549 ในสมัยรัฐบาลนายทักษิณ ชินวัตร แก้ไขเรื่องการลาออกจากกรรมการบริษัทว่า การจะลาออกให้ยื่นหนังสือไปที่บริษัท หรือจะยื่นต่อนายทะเบียนก็ได้ 

ส่วนการไปจดทะเบียนจะอยู่ในอีกมาตรา คือ ว่าถ้ามีกรรมการลาออกแล้ว กรรมการที่เหลือ มีเวลาไปจดแจ้งอีก 14 วัน ดังนั้นหนังสือเอกสารที่ตนคัดมา 20 บริษัทรวมกว่า 100 หน้า มายื่นต่อกกต. โดยมีข้อสังเกตว่า น.ส.แพทองธาร ไปยื่นลาออกที่บริษัท ที่ตั้งอยู่ใน 4 จังหวัด อาทิ อยู่ที่กทม. 14 บริษัท อยู่ที่ปทุมธานี 2 บริษัท โดยหนึ่งแห่งมีสนามกอล์ฟอัลไพน์ด้วย นครราชสีมา 1 บริษัท และอยู่ลำพูน 3 บริษัท โดยยื่นด้วยตัวเองในวันที่ 15 ส.ค. ภายในวันเดียวได้อย่างไร

ทั้งนี้ในวันที่ 16 ส.ค. 67 สภาผู้แทนราษฎรก็ได้มีการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ดังนั้นจึงเกิดคำถามว่าเดินทางไปว่ายื่นใน 4 จังหวัดในเวลาเดียวกันได้อย่างไร และถามตรงไปยังนายกรัฐมนตรี ว่าโชว์เอกสารการลาออกได้หรือไม่ โดยนายกรัฐมนตรีมีคำตอบว่าไม่ใช่เรื่อง  ดังนั้น กกต.จึงต้องตรวจสอบให้ชัด

 

 

ประเด็นที่ 2 ขอให้ กกต.ตรวจสอบเรื่องจริยธรรม นายกรัฐมนตรี ยินยอม ให้นายทักษิณ ชินวัตร ซึ่งเป็นบิดา มาครอบครองตำแหน่งนายกฯ หรือไม่ ขอย้ำว่า นี่ไม่ใช่เรื่องของพ่อ ลูก แต่เป็นเรื่องของนายกฯ ของแผ่นดิน เป็นเรื่องที่ยอมไม่ได้ เพราะอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ความแพ่ง ของน.ส.กนกวรรณ วิลาวัลย์ โดยได้คัดคำร้องในเรื่องจริยธรรม ข้อ 8 เรื่องการขัดกันแห่งผลประโยชน์ให้คนอื่นยินยอมรับหรือไม่ ไม่ใช่เรื่องครอบงำที่จะไปร้องยุบพรรค เพราะยังอ่านคำวินิจฉัยเต็มจากศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ แต่อันนี้มีเหตุควรแก่การยื่นตรวจสอบแล้ว

ทั้งนี้ คำว่าครอบงำอยู่ในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ (พ.ร.ป.) ว่า ด้วยพรรคการเมือง มาตรา 28 แต่ไม่มีคำว่าครอบครองในกฎหมายดังกล่าว ตนจึงต้องยกคำพิพากษาศาลฎีกา และพจนานุกรมให้กกต.ไปดูว่าคำว่าครอบครองหนักกว่าหรือไม่ และคำว่าครอบครองไม่สามารถร้องในมาตรา 28 เพราะไม่มีบัญญัติคำนี้ จึงไม่สามารถไปขยายความกฎหมายเองได้ แต่จะต้องไปปรับกับมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งมีกำหนดข้อห้ามไว้ 22 ข้อ ซึ่งรัฐมนตรีใหม่ได้มีการตรวจสอบแน่ ยืนยันว่าไม่ได้ร้องแค่นายกรัฐมนตรีเพียงคนเดียว แต่จะร้องหมดทุกฝ่าย " นายเรืองไกร