posttoday

ตั้งรัฐบาล66: "นิด้าโพล"ชี้การเมืองสร้างข่าวตีคู่แข่ง-ปั่นกระแสโซเชียล

28 พฤษภาคม 2566

"นิด้าโพล"ชี้ประชาชนเชื่อพรรคการเมืองสร้างข่าวโจมตีคู่แข่ง-ปั่นกระแสความนิยมผ่านโซเชียล แต่ไม่เชื่อต่างชาติแทรกแซงเลือกตั้ง

ศูนย์สำรวจความคิดเห็นสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า) เรื่อง ข่าวลือหรือข่าวจริง ช่วงเลือกตั้ง 2566 ระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 1,310 หน่วยตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่าง กำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0

จากการสำรวจความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อโจมตีพรรคการเมืองคู่แข่ง พบว่า
ร้อยละ 31.22 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
ร้อยละ 25.27 ระบุว่า เชื่อมาก
ร้อยละ 23.59 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
ร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

ด้านความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อเพิ่มคะแนนนิยมให้กับพรรคตนเอง พบว่า
ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
ร้อยละ 27.40 ระบุว่า เชื่อมาก
ร้อยละ 22.06 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
ร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ 

สำหรับความเชื่อของประชาชนต่อข่าวการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการแทรกแซงจากต่างชาติ พบว่า
ร้อยละ 56.56 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
ร้อยละ 22.21 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
ร้อยละ 8.17 ระบุว่า เชื่อมาก
ร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ

เมื่อถามถึงการได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชน ในช่วง 6 สัปดาห์ของการหาเสียง พบว่า
ร้อยละ 30.92 ระบุว่า จำนวนมากกว่า 20 ข่าว
ร้อยละ 22.29 ระบุว่า จำนวน 1-5 ข่าว
ร้อยละ 16.26 ระบุว่า จำนวน 6-10 ข่าว
ร้อยละ 13.66 ระบุว่า ไม่เคยได้ยินเลย
ร้อยละ 10.15 ระบุว่า จำนวน 11-15 ข่าว
ร้อยละ 6.72 ระบุว่า จำนวน 16-20 ข่าว

กลุ่มตัวอย่างครั้งนี้มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือมากที่สุดเพศหญิงมากกว่าเพศชาย มีสัดส่วนใกล้เคียงกันระหว่างกลุ่มอายุระหว่าง 18-45 ปี และกลุ่มอายุ 46 ปี ขึ้นไป  ส่วนใหญ่รายได้เฉลี่ยต่อเดือนระหว่าง 10,001-20,000 ต่อเดือน