'ทวี-ราชทัณฑ์'เคลียร์ปมบุ้งเสียชีวิตเหตุฉุกเฉินไม่มีสัญญาณบงชี้ก่อน
รมว.ยุติธรรม ทวี สอดส่อง ยันรพ.ราชทัณฑ์ดูแล บุ้ง เนติพร ด้วยความเสมอภาค ไม่ได้ขัดแย้งกับใคร ขณะอธิบดีกรมราชทัณฑ์ สหการณ์ เพ็ชร์นรินทร์ ระบุเป็นเหตุฉุกเฉินที่ไม่มีสัญญานบ่งชี้อาการผิดปกติของร่างกายมาก่อน
พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม กล่าวว่า การเสียชีวิตของนางสาวเนติพร เสน่ห์สังคม หรือ บุ้ง นักกิจกรรมทางการเมือง อยู่ในระหว่างการควบคุมของกรมราชทัณฑ์ กฎหมายให้พนักงานสอบสวน พนักงานอัยการ ฝ่ายปกครองสำนวนชันสูตรพลิกศพ ไม่มีคนของกรมราชทัณฑ์ อยากให้ครอบครัวมีความมั่นใจว่าภายในเวลา 30วัน จะต้องส่งสำนวนไปให้ศาล เพื่อเข้าสู่การไต่สวนการเสียชีวิตหากเกิดข้อสงสัยก็ให้แพทย์คนกลางไต่สวนได้ และราชทัณฑ์ยินดีที่จะให้ความร่วมมือวันเกิดเหตุก่อนนางสาวเนติพรเสียชีวิต มีแพทย์อยู่กันถึง9คน ส่วนกระบวนการรักษาเป็นเรื่องของแพทย์
พ.ต.อ.ทวี ระบุด้วยว่าได้ไปดูกล้องวีดีโอด้วยตนเองและยังยังมีการเก็บไว้ และอยากให้มั่นใจได้ว่า สถานโรงพยาบาล ชายกับหญิงแยกกัน ผู้หญิงมี63คน ทั้งบุ้งและตะวัน นอนอยู่ด้วยกันเพราะด้วยอุดมการณ์จึงเป็นห่วงเรื่องสภาพจิตใจ และหากมีโอกาสก็อยากให้สื่อมวลชนได้เข้าไปดูสถานที่จริง ยืนยันว่า เรือนจำไม่ได้ขัดแย้งกับใคร ดูแลทุกคนด้วยความเสมอภาค
ที่ผ่านมารพ.ราชทัณฑ์ไม่เคยรับใครกลับ ถ้าหากรพ.ธรรมศาสตร์ไม่ขอ และไม่มีหนังสือส่งตัวกลับ มีหนังสือเป็นเอกสารหลักฐานทั้งหมดที่ยืนยันได้ส่วนกรณีที่ ทนายความของบุ้ง จะขอวงจรปิด ในหลักการจะต้องให้อยู่แล้ว แต่เจ้าหน้าที่จะต้องขอตรวจสอบในรายละเอียดเพราะมีหลายส่วน แต่อะไรที่เป็นสิทธิของผู้ป่วยจะต้องขออนุญาตผู้ป่วยก่อน เพราะอยู่ด้วยกัน 2คน ต้องขออีกคนก่อน
ส่วนการตั้งคณะกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อไม่อยากให้เหตุการณ์แบบนี้เกิดขึ้นอีก และราชทัณฑ์ ควรจะต้องมีการทำอะไรได้ดีกว่านี้สำหรับผู้ต้องขังคดีระหว่าง คือคดีที่รอการตัดสิน ซึ่งยังถือว่า ผู้ต้องขังยังเป็นผู้บริสุทธิ์ ยืนยันว่า เรือนจำไม่ได้ขัดแย้งกับใคร ดูแลทุกคนด้วยความเสมอภาคโรงพยาบาลราชทัณฑ์มีมาตรฐานเดียวกัน
ขณะที่ นายสหการณ์ เพ็ชร์นรินทร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ไล่เรียงลำดับไทม์ไลน์ในวันเกิดเหตุที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันไม่มีตัวบ่งชี้มาก่อน ไม่มีอาการในลักษณะเป็นภาวะฉุกเฉินหรือบ่งชี้ถึงความเสี่ยงในชีวิตกระบวนการต่างๆที่ได้ตรวจสอบ เป็นไปตามมาตรฐานทางการแพทย์ทั้งหมดมีนำส่งห้องไอซียูทันทีทำซีพีอาร์ และให้กลูโคส ฉีดยากระตุ้นหัวใจ ทำซีพีอาร์ตลอด ในห้องไอซียู เป็นห้องกู้ชีพมีเครื่องไม้เครื่องมือพร้อมในการช่วยชีวิตอยู่แล้ว
ส่วนที่ผู้อำนวยการโรพยาบาลราชทัณฑ์ให้ข้อมูลไม่ตรงนั้น อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ระบุว่า ในวันแถลงข่าว ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชทัณฑ์ พยายามตอบคำถามสื่อมวลชนให้มากที่สุด แต่ไม่ใช่แพทย์เจ้าของไข้เป็นผู้บริหารจึงไม่ได้ไปเจาะลึกผู้ป่วยแต่ละคน และไม่ใช่แพทย์เวร ผู้เสียชีวิตเป็นผู้ป่วยที่พักฟื้น และไม่ได้มีตัวชี้วัดเรื่องความเสี่ยง คนดูแลจึงเป็นเจ้าหน้าที่เป็นหูเป็นตาให้กับแพทย์
เมื่อนักข่าวว่า ทนายความออกมาเปิดเผยว่า แพทย์โรงพยาบาลธรรมศาสตร์แจ้งว่าผู้เสียชีวิตไม่มีสัญญาณชีพตั้งแต่ก่อนมาถึงโรงพยาบาลธรรมศาสตร์ อธิบดีกรมราชทัณฑ์ ยอมรับว่า ขณะนั้นไม่สามารถจับสัญญาณชีพด้วยมือได้แล้ว ส่วนจะสิ้นลมหรือยังน่าจะอยู่ในช่วงกู้ชีพก่อนส่งรพ.ธรรมศาสตร์ เป็นช่วงที่ช่วยกันยื้อชีวิตให้มากที่สุด และมองว่าไม่ได้ล่าช้าเกินไปที่นำส่งเพราะรพ.ราชทัณฑ์ พยายามอย่างเต็มที่ ซึ่งการช่วยกู้ชีพ จะต้องทำหลายอย่างทั้งช็อตไฟฟ้า และตรวจการเต้นหัวใจ และฉีดยาต่างๆ ซึ่งรพ.ราชทัณฑ์ ทำทุกอย่างตามขั้นตอน ตามมาตรฐานไม่ได้ต่างจากรพ.รัฐทั่วไป
“โดยหลักวิชาแพทย์ จะประเมิน เช่น การเต้นของหัวใจ อ็อกซิเจนในเลือด ความดัน น้ำตาลไม่ใช่เป็นผู้ป่วยแบบฉุกเฉิน เป็นการรักษาตามอาการ ขณะเดียวกันมีการให้รับประทานอาหารแต่สิ่งสำคัญแพทย์ไม่สามารถที่จะไปบังคับ ไม่ว่าจะด้วยการกิน หรือให้อาหารทางเลือด ซึ่งแพทยสมาคมโลก ได้กำหนดไว้อยู่ หากผู้ป่วยไม่ยินยอมก็ไม่สามารถกระทำได้”
ส่วนกล้องวงจรปิดและแผนการรักษา5วันย้อนหลังก่อนเสียชีวิตที่ทางทนายความและครอบครัวได้ขอไปนั้น ยืนยันว่า ได้นัดหมายให้ครอบครัวไปรับในวันนี้ โดยพ่อและแม่จะมีอำนาจการขอเอกสารทั้งหมด ส่วนวีดีโอจะต้องไปดูก่อนเพราะมีบุคคลที่สามเข้ามาเกี่ยวข้อง และยินดีที่จะให้เอกสารทุกอย่าง เพราะหากขึ้นศาลและมีการไต่สวนการตาย ศาลสามารถเรียกดูพยานหลักฐานได้ทั้งหมดอยู่แล้ว