posttoday

กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารยื่น 8 ข้อเรียกร้องถึงนายกฯ เพื่อเยียวยาให้ตรงจุด

14 พฤษภาคม 2564

ผู้แทนผู้ประกอบการร้านอาหารเปิดผนึกจดหมาย 8 ข้อเรียกร้องถึงนายกฯ หวังรัฐเยียวยาให้ตรงจุด

วันที่ 14 พ.ค. จากประกาศของนายกรัฐมนตรีและศบค. ไม่อนุญาตให้นั่งรับประทานอาหารในร้าน เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในรอบที่ 3 ทำให้ร้านอาหารปิดตัวลงและปิดกิจการเป็นจำนวนมาก เพราะเนื่องจาก รัฐบาลไม่ได้เตรียมมาตรการช่วยเหลือดูแลและเยียวยาพร้อมกับประกาศ จึงทำให้ร้านอาหารเป็นจำนวนมากทั้งเล็กและใหญ่ ที่แบกรับปัญหาทั้งยอดขายและภาระหนี้สินมาตั้งแต่การแพร่ระบาดในรอบแรก จึงสะสมภาระขาดทุนต่อเนื่อง รวมทั้งดอกเบี้ยเงินกู้ต่าง ๆ เมื่อมาเจอคำสั่งปิดในรอบที่ 3 นี้ จึงมีผลกระทบกับผู้ประกอบการร้านอาหารอย่างรุนแรง

ดังนั้นเมื่อวันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหารและสมาคมต่าง ๆ ได้ร่วมกันพูดคุยในคลับเฮ้าส์ในห้องที่ชื่อว่า ผู้ประกอบธุรกิจร้านอาหาร โดยมีผู้เข้าร่วมรับฟังเกือบ 1 พันคน และได้ข้อสรุปที่จะขอความเมตตาจากนายกรัฐมนตรีให้ช่วยสั่งการ ภายใต้ พรก.ฉุกเฉิน ซึ่งนายกรัฐมนตรีมีอำนาจเด็ดขาด

โดยผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารได้สรุปข้อเรียกร้อง ทั้งหมด 8 ข้อ ตามรายละเอียดในจดหมายเปิดผนึก ที่จะสามารถช่วยเยียวยาได้ตรงประเด็น

รวมทั้งข้อผ่อนผันที่ทาง ศบค.ได้มีประกาศในวันนี้ วันศุกร์ที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2564 ให้ร้านอาหารพื้นที่สีแดงเข้มและควบคุมสูงสุด สามารถเปิดให้นั่งทานที่ร้านได้ โดยให้ใช้เงื่อนไขเดียวกันกับพื้นที่สีแดง แต่ให้นั่งทานได้ถึง 3 ทุ่ม และสามารถสั่งอาหารกลับบ้านได้จนถึง 5 ทุ่ม ซึ่งจะสามารถทำให้ร้านอาหารซึ่งอยู่ในเขตเศรษฐกิจมหภาค พอที่จะมีแรงและมีช่องทางในการประคับประคองตัวเองได้พอสมควรและสามารถขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจทั้งระบบที่มีห่วงโซ่ใหญ่ทั้ง เกษตร ชาวสวน ชาวประมงและภาคแรงงานได้ โดยใช้หลัก Living Balance

นาย สรเทพ กล่าวจากกลุ่มตัวแทนผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหาร

กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารยื่น 8 ข้อเรียกร้องถึงนายกฯ เพื่อเยียวยาให้ตรงจุด

กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารยื่น 8 ข้อเรียกร้องถึงนายกฯ เพื่อเยียวยาให้ตรงจุด

กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารยื่น 8 ข้อเรียกร้องถึงนายกฯ เพื่อเยียวยาให้ตรงจุด

กลุ่มผู้ประกอบการร้านอาหารยื่น 8 ข้อเรียกร้องถึงนายกฯ เพื่อเยียวยาให้ตรงจุด