posttoday

"กรณ์" ลุย เอสโทเนีย-สวีเดน นำทัพศึกษาบล็อกเชน ปรับใช้ GovTech ไทย

04 ธันวาคม 2562

กรณ์ ลาสภา นำทัพ ลุย เอสโทเนีย-สวีเดน ศึกษาบล็อกเชน ปรับใช้ GovTech ไทย

กรณ์ ลาสภา นำทัพ ลุย เอสโทเนีย-สวีเดน ศึกษาบล็อกเชน ปรับใช้ GovTech ไทย

ในระหว่างนี้ นายกรณ์ จาติกวณิช สส.บัญชีรายชื่อพรรคประชาธิปัตย์ พร้อมด้วยสมาคมฟินเทคไทย เดินทางไปที่ E-Estonia Briefing Center ของรัฐบาล เอสโทเนีย อยู่ที่เมือง Tallinn ล่าสุด นายกรณ์  โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว Korn Chatikavanij ว่า เอสโทเนียเป็นประเทศที่มีการพัฒนาในในการบริหารจัดการในทุกมิติด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำหน้ากว่าทุกประเทศในโลก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะตอนเขาได้รับอิสรภาพจากการเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียตเมื่อเกือบ 30 ปีที่แล้วนั้น เขาต้องเริ่มจากเกือบศูนย์ เงินเฟ้อในช่วงแรกๆสูงถึง 200% (ต่อวัน!) และงบรัฐบาลมีแค่ประมาณ 6,000 ล้านบาท! (ของเราปีนี้ 3 ล้านล้าน) ด้วยทรัพยากรที่จำกัดเขาจึงตัดสินใจว่าเขาต้องสร้างระบบรัฐขึ้นมาด้วยเทคโนโลยีทั้งหมดเท่าที่ทำได้

วันนี้เขาพัฒนาไปไกลมาก รัฐเขาใช้ blockchain ตั้งแต่ก่อนที่จะมีการเรียกว่า blockchain และเป็นประเทศเดียวในโลกที่มีการเลือกตั้งด้วยระบบอีเลคโทรนิค ซึ่งเขาทำได้เพราะระบบ e-identification เขาเสถียรมาก

และประชาชนได้ประโยชน์ที่จับต้องได้จากระบบ e-government อย่างเช่น วันนี้เด็กที่นี่เกิดปุ๊บรัฐจะแจ้งให้พ่อแม่ทราบทันทีว่าเขามีสิทธิรับการช่วยเหลืออย่างไรบ้าง รวมถึงรัฐจะแจ้งว่ามีศูนย์เลี้ยงเด็กเล็กและอนุบาลใกล้บ้านให้เลือก เมื่อเลือกแล้วทางโรงเรียนก็จะได้รับแจ้งว่าจะมีเด็กจะมาเพิ่มเมื่อไรกี่คน เพื่อให้เตรียมความพร้อม

"กรณ์" ลุย เอสโทเนีย-สวีเดน นำทัพศึกษาบล็อกเชน ปรับใช้ GovTech ไทย

ทั้งหมดนี้ประเทศเขารวยกว่าเราจริงแต่ก็ไม่มาก และย้อนกลับไป 30 ปีก่อนเรามีรายได้ต่อหัวไม่ต่างกับเขามากนัก ผมคิดว่าการใช้เทคโนโลยีและการเน้นความโปร่งใสในการทำงานของรัฐมีผลอย่างมากในการพัฒนาที่รวดเร็วของเขา

โดยนายกรณ์บอกว่า หลักการของเขาน่าสนใจมากคือ 1. Decentralization - แต่ละหน่วยงานมีระบบเก็บ data ของตัวเอง ไม่ใช้ central data base แต่ระบบสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลและทำงานร่วมกันอย่างราบรื่น
2. Once-only - อันนี้ดีมาก - ข้อมูลแต่ละชนิดหนึ่งจะจัดเก็บโดยหน่วยงานเดียว (เช่นที่อยู่จะจัดเก็บโดยทะเบียนราษฎร) ห้ามหน่วยงานอื่นรบกวนประชาชนด้วยการขอซ้ำซ้อน ให้หน่วยงานรัฐบาลแชร์กัน นอกจากสะดวกกับประชาชนแล้วยังทำให้ดูแลความปลอดภัยของข้อมูลง่ายกว่า 3. Transparency- ประชาชนสามารถตรวจสอบในระบบได้ตลอดเวลาว่า มีใครเข้ามาดูหรือเอาข้อมูลส่วนบุคคลเขาไปใช้อย่างไร 4. No legacy - ถ้ามีปัญหากฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อ digitalization รัฐสภาจะแก้ไขให้ทันที

“คณะจากไทยเรามานั่งคิดกันว่า เราต้องทำอย่างไรความเปลี่ยนแปลงแบบนี้จึงจะเกิดที่บ้านเราได้ ไว้ผมจะมาแชร์ไอเดียครับ”

วันนี้ (4 ธันวาคม) คณะได้เดินทางเรือต่อไปสวีเดน ซึ่งนายกรณ์บอกว่า ประเทศสวีเดนวันนี้แทบไม่มีการใช้เงินสดแล้ว

"กรณ์" ลุย เอสโทเนีย-สวีเดน นำทัพศึกษาบล็อกเชน ปรับใช้ GovTech ไทย