posttoday

กระทรวงต่างประเทศแจงทำไม"ธนาธร"กับพวกต้องขึ้นศาลทหาร

12 เมษายน 2562

แจงยิบธนาธรโดนคดีความผิดตั้งแต่ 24 มิ.ย.58 ก่อนมีคำสั่งคสช.ให้โอนอำนาจไปศาลยุติธรรม ยันเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมเปิดโอกาสอุทธรณ์ได้

แจงยิบธนาธรโดนคดีความผิดตั้งแต่ 24 มิ.ย.58 ก่อนมีคำสั่งคสช.ให้โอนอำนาจไปศาลยุติธรรม ยันเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมเปิดโอกาสอุทธรณ์ได้

เมื่อวันที่ 12 เม.ย.62 เว็ปไซต์กระทรวงการต่างประเทศได้เผยแพร่ข่าวสารนิเทศ : ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขึ้นศาลทหารของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ในช่วงต้นของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปี ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ ระบุว่า

๑. ประเทศไทยมีระบบศาลทหารมานานแล้วเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในโลก เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และนานาประเทศในทวีปยุโรป แม้การดำเนินการอาจมีความแตกต่าง
อยู่บ้าง ศาลทหารจึงมิใช่ศาลที่ตั้งขึ้นเพื่อมุ่งร้ายแก่บุคคลเป้าหมายเป็นพิเศษแต่อย่างใด

ศาลทหารเป็นศาลที่อยู่ภายใต้ระบบศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำหรับฉบับปัจจุบันได้บัญญัติรับรองไว้ในหมวด ๑๐ ว่าด้วยศาล โดยแบ่งประเภทเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร

ทั้งบัญญัติด้วยว่าการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาลทหารต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง

๒. ในการดำเนินคดีต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งในช่วงที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๓๗/๒๕๕๗ และ ๓๘/๒๕๕๗ ให้การกระทำใดๆ ที่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญามาตราต่างๆ รวมทั้งมาตรา ๑๑๖ และฐานอื่นตามมาตรา ๑๘๙ ให้ถือเป็นประเภทคดีที่ต้องขึ้นศาลทหาร

ซึ่งต่อมาคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๕/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ ได้กำหนดให้การกระทำความผิดเหล่านี้โอนไปอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันดังกล่าวให้ยังคงอยู่ในอำนาจของศาลทหารต่อไป

โดยผู้ต้องหาหรือจำเลยจะมีสิทธิมีทนายความและมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้เหมือนคดีในศาลยุติธรรมทั่วไป อย่างไรก็ตาม

หากบุคคลใดที่ต้องคดีติดใจสงสัยในอำนาจศาลก็ยังสามารถยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธานได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๑๙๒ เพื่อขอให้พิจารณาคดีในศาลยุติธรรม

๓. กรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับพวก เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘

กรณีคดีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจกับพวกจำนวนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ (ก่อนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๕/๒๕๕๙ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙) ด้วยข้อหากระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๖ และฐานอื่นตามมาตรา ๑๘๙ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ ๒

ทั้งนี้ การดำเนินคดีจะเป็นไปตามกฎหมายและหลักนิติธรรม โดยผู้ต้องหาหรือจำเลยล้วนมีสิทธิได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย เป็นธรรม รวดเร็ว และปราศจากอคติทั้งปวงภายใต้ระบบกฎหมายของประเทศที่มีมาช้านาน และได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการเช่นเดียวกับในนานาอารยประเทศทั้งหลาย

แจงยิบธนาธรโดนคดีความผิดตั้งแต่ 24 มิ.ย.58 ก่อนมีคำสั่งคสช.ให้โอนอำนาจไปศาลยุติธรรม ยันเป็นไปตามกระบวนการยุติธรรมเปิดโอกาสอุทธรณ์ได้

เมื่อวันที่ 12 เม.ย.62 เว็ปไซต์กระทรวงการต่างประเทศได้เผยแพร่ข่าวสารนิเทศ : ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการขึ้นศาลทหารของผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทำความผิด ในช่วงต้นของรัฐบาลคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ปี ๒๕๕๗ จนถึงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ ระบุว่า

๑. ประเทศไทยมีระบบศาลทหารมานานแล้วเช่นเดียวกับอีกหลายประเทศในโลก เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และนานาประเทศในทวีปยุโรป แม้การดำเนินการอาจมีความแตกต่าง
อยู่บ้าง ศาลทหารจึงมิใช่ศาลที่ตั้งขึ้นเพื่อมุ่งร้ายแก่บุคคลเป้าหมายเป็นพิเศษแต่อย่างใด

ศาลทหารเป็นศาลที่อยู่ภายใต้ระบบศาลตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย สำหรับฉบับปัจจุบันได้บัญญัติรับรองไว้ในหมวด ๑๐ ว่าด้วยศาล โดยแบ่งประเภทเป็นศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร

ทั้งบัญญัติด้วยว่าการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาลทหารต้องดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธยพระมหากษัตริย์ ทั้งต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีตามรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้เป็นไปโดยรวดเร็ว เป็นธรรม และปราศจากอคติทั้งปวง

๒. ในการดำเนินคดีต่อบุคคลใดบุคคลหนึ่งในช่วงที่มีประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๓๗/๒๕๕๗ และ ๓๘/๒๕๕๗ ให้การกระทำใดๆ ที่ขัดต่อประมวลกฎหมายอาญามาตราต่างๆ รวมทั้งมาตรา ๑๑๖ และฐานอื่นตามมาตรา ๑๘๙ ให้ถือเป็นประเภทคดีที่ต้องขึ้นศาลทหาร

ซึ่งต่อมาคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๕/๒๕๕๙ ลงวันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙ ได้กำหนดให้การกระทำความผิดเหล่านี้โอนไปอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม เว้นแต่เป็นการกระทำความผิดที่เกิดขึ้นก่อนวันดังกล่าวให้ยังคงอยู่ในอำนาจของศาลทหารต่อไป

โดยผู้ต้องหาหรือจำเลยจะมีสิทธิมีทนายความและมีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาต่อไปได้เหมือนคดีในศาลยุติธรรมทั่วไป อย่างไรก็ตาม

หากบุคคลใดที่ต้องคดีติดใจสงสัยในอำนาจศาลก็ยังสามารถยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลซึ่งมีประธานศาลฎีกาเป็นประธานได้ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมาตรา ๑๙๒ เพื่อขอให้พิจารณาคดีในศาลยุติธรรม

๓. กรณีนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กับพวก เมื่อ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘

กรณีคดีของนายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจกับพวกจำนวนหนึ่งที่ถูกกล่าวหาว่า กระทำความผิดเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๕๕๘ (ก่อนคำสั่งหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่ ๕๕/๒๕๕๙ วันที่ ๑๒ กันยายน ๒๕๕๙) ด้วยข้อหากระทำผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา ๑๑๖ และฐานอื่นตามมาตรา ๑๘๙ จึงเข้าหลักเกณฑ์ตามข้อ ๒

ทั้งนี้ การดำเนินคดีจะเป็นไปตามกฎหมายและหลักนิติธรรม โดยผู้ต้องหาหรือจำเลยล้วนมีสิทธิได้รับการพิจารณาโดยเปิดเผย เป็นธรรม รวดเร็ว และปราศจากอคติทั้งปวงภายใต้ระบบกฎหมายของประเทศที่มีมาช้านาน และได้รับการคุ้มครองตามมาตรฐานในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกประการเช่นเดียวกับในนานาอารยประเทศทั้งหลาย