posttoday

"อนาคตใหม่"มั่นใจผุด "ไฮเปอร์ลูป"ในไทย ช่วยสร้างงาน 1.8แสนตำแหน่ง

14 มีนาคม 2562

พรรคอนาคตใหม่แถลงผลศึกษา “ไฮเปอร์ลูป” ในไทย สร้างงาน 1.8 แสนตำแหน่ง-สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 9.7 แสนล้านบาท

พรรคอนาคตใหม่แถลงผลศึกษา “ไฮเปอร์ลูป” ในไทย สร้างงาน 1.8 แสนตำแหน่ง-สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 9.7 แสนล้านบาท

เมื่อวันที่ 14 มี.ค.62 นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ และ ดร.สุรเชษฐ์ ประวีณวงศ์วุฒิ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อ และที่ปรึกษาโนบายคมนาคมพรรคอนาคตใหม่ จัดแถลงข่าว “ไฮเปอร์ลูป : ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมไทย”

นายธนาธร กล่าวว่า การพัฒนาเศรษฐกิจในช่วงยุคทศวรรษที่ 1980-1990 ประเทศไทยเคยได้รับการขนานนามว่าเป็นเสื้อตัวที่ห้าแห่งเอเชีย ที่จะกลายเป็นประเทศร่ำรวยต่อจากฮ่องกง สิงคโปร์ เกาหลีใต้ และไต้หวัน แต่กลับทำไม่สำเร็จ แถมประเทศไทยยังถูกทิ้งห่างไปเรื่อยๆ ในขณะที่ประเทศที่ตามหลังไทยอย่างเวียดนามและอินโดนีเซียก็เริ่มไล่กวดไทยจนไกลจะแซงหน้าไทยแล้วเช่นกัน

เมื่อพูดถึง “วิกฤตต้มยำกุ้ง” ปี 2540 คนส่วนใหญ่จะนึกถึงแค่ ปัญหาการจัดการเศรษฐกิจมหภาคหรือการต่อสู้กับการเก็งกำไรค่าเงินบาท แต่นั่นเป็นเพียงส่วนยอดของภูเขาน้ำแข็งเท่านั้น ปัญหารากฐานของเศรษฐกิจที่อยู่ลึกกว่านั้นคือ การเติบโตที่ผ่านมาของไทยตั้งอยู่บนเป้าหมายการเป็น “ฐานการลงทุน” ให้กับกิจการต่างชาติ เนื่องจากเป็นวิธีที่ทำให้ตัวเลขส่งออกและจีดีพีสูงขึ้นภายในเวลาสั้นๆ และมีการจ้างงาน รายได้เข้าประเทศแค่เพียงผิวเผินเท่านั้น ไม่ยั่งยืน แต่เราไม่เคยสนใจการพัฒนาเทคโนโลยีและทักษะความสามารถของเราเองอย่างจริงจัง จนงานวิชาการหลายชิ้นเรียกการพัฒนาของไทยว่าเป็น Technologyless Industrialization หรือ “การพัฒนาอุตสาหกรรมโดยไร้เทคโนโลยี” ซึ่งทำให้ในระยะยาว ไทยไม่สามารถไล่กวดทันกับประเทศอื่นได้

ซึ่งในแต่ละอุตสาหกรรมมีเทคโนโลยีเฉพาะตัว ประเทศที่มาทีหลังมี 3 ทางให้เลือก ก็คือ
1. Path-following Strategy การเดินตามผู้นำ โดยให้ผู้นำถ่ายทอดเทคโนโลยีและองค์ความรู้มาให้ทีละขั้นตอน ซึ่งประเทศไทยมัดเดินตามเส้นทางนี้มาตลอด แต่เกาหลีใต้และไต้หวันประสบความสำเร็จมาแล้วจากการเดินตาม 2 ทางเลือกต่อไปนี้ คือ

2. Path-skipping Stategy อาศัยความได้เปรียบจากการมาทีหลัง ข้ามลัดขั้นตอนลองผิดลองถูกของผู้นำ

3. Path-creating Strategy กล้าเลือกเส้นทางใหม่เลย

ดังนั้นเทคโนโลยี “ไฮเปอร์ลูป(Hyperloop)” ถือเป็นหนึ่งในหลายความเป็นไปได้ที่ทำให้เรามุ่งสู่เส้นทางใหม่ในการพัฒนาอุตสาหกรรมไทย

ทางด้าน ดร.สุรเชษฐ์ กล่าวว่า ไฮเปอร์ลูป เป็นระบบขนส่งมวลชนรูปแบบใหม่ที่กำลังอยู่ในขั้นตอนการศึกษาพัฒนา มีระบบการทำงานลักษณะคล้ายตู้ทรงกระบอกความยาวประมาณ 25 เมตรที่ขับเคลื่อนด้วยพลังแม่เหล็กไฟฟ้าภายในท่อที่มีแรงกดอากาศต่ำใกล้เคียงสูญญากาศ เพื่อลดแรงเสียดทานจากปัจจัยต่างๆ โดยหวังว่าในอนาคตจะสามารถเดินทางได้ด้วยความเร็วถึง 1,100 กม./ชม. แต่ใช้พลังงานและปล่อยมลพิษน้อยกว่าการเดินทางแบบอื่นๆ

ส่วนรายละเอียดผลการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนและประโยชน์ที่จะได้รับจากไฮเปอร์ลูปในประเทศไทย ต้นแบบการศึกษาเส้นทางกรุงเทพ-เชียงใหม่ และกรุงเทพ-ภูเก็ต พบว่าในอนาคตมีความเป็นไปได้สูง เพราะอาจมีต้นทุนการก่อสร้างที่ต่ำกว่ารถไฟความเร็วสูง และได้ประโยชน์ทางเศรษฐกิจที่ไม่น้อยไปกว่ากัน (คาดว่าประมาณ 9.7 แสนบ้านบาท) โดยคาดการณ์ว่าจะสามารถสร้างงานในประเทศได้ถึง 1.8 แสนตำแหน่งงาน และไฮเปอร์ลูปมีความปลอดภัยและความสเถียรและโดยเฉพาะความสะดวกรวดเร็วที่ถือว่าดีที่สุดเมือเทียบกับการเดินทางแบบอื่นๆ

นายธนาธร กล่าวว่า พรรคอนาคตใหม่ไม่ได้เสนอนโยบายให้สร้างไฮเปอร์ลูปทันที แต่จะเสนอนโยบายตั้งคณะทำงานเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุน และวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับไฮเปอร์ลูปทั้งหมดเพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างอุตสาหกรรมไฮเปอร์ลูป อย่างไรก็ตามหากพบว่าผลการศึกษาหรือการวิจัยพัฒนานั้นไม่สามารถทำได้จริง ก็ยังมีประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องอื่นๆ อีกมากมายที่ได้องค์ความรู้ในการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้อง เช่น เทคโนโลยีไฟฟ้า อวกาศ เกษตร คมนาคม ระบบการขึ้นรูปโลหะ ระบบปรับแรงดันอากาศ ฯลฯ

แต่หากเทคโนโลยีไฮเปอร์ลูปประสบความสำเร็จ ไทยจะเป็นประเทศที่ขยับจากผู้ตามไปเป็นผู้นำ สามารถผลิตเพื่อใช้ในประเทศและส่งออกไปยังประเทศอื่นๆ ได้ สามารถขยับที่ทางของประเทศไทยไปเป็นแนวหน้าของประเทศอุตสาหกรรมโลกได้ ตามแนวทาง Path-skipping Stategy และ Path-creating Strategy

นายธนาธร กล่าวด้วยว่าจะเปิดเผยรายงาน Preliminary Feasibility Report ในช่วงหลังการเลือกตั้งเพราะหากเปิดเผยในช่วงนี้มีความเป็นไปได้ว่าอาจขัดกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งได้ ดังนั้นคาดว่าจะเปิดเผยในวันจันทร์ที่ 1 เมษายน 2562 โดยรายงานผลการศึกษาชิ้นนี้เป็นการศึกษาเบื้องต้น แต่ทุกคนสามารถนำไปศึกษา พัฒนา อ้างอิง ทำซ้ำ ดัดแปลง และวิพากษ์วิจารณ์ได้เต็มที่โดยถือว่าผลการศึกษาชิ้นนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของสาธาร