posttoday

ประกันสังคมงอมพระรามสังเวยค่าจ้าง 300 บาท

10 ธันวาคม 2555

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กองทุนประกันสังคมกำลังถูกฝ่ายการเมืองบีบล้วงเอาเงินที่สมาชิกผู้ประกันตนในฐานะลูกจ้างร่วม 10 ล้านคน

เป็นที่แน่ชัดแล้วว่า กองทุนประกันสังคมกำลังถูกฝ่ายการเมืองบีบล้วงเอาเงินที่สมาชิกผู้ประกันตนในฐานะลูกจ้างร่วม 10 ล้านคน

โดย...ชีวรัตน์ กิจนภาธนพงศ์

จ่ายเงินสมทบเอาไปชดเชยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากนโยบายของรัฐบาลขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท ในรูปแบบการลดการจ่ายเงินสมทบลงมา

เป็นการใช้นโยบายทางการเมืองมาล้วงเงินที่สมาชิกพึงได้ไปใช้จ่ายให้กับผู้ประกอบการที่เดือดร้อน โดยที่ไม่เคยถามไถ่สมาชิกที่จ่ายเงินสมทบแม้แต่น้อย

แนวทางหลักที่คณะทำงานพิจารณาลดผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ได้นำเสนอนั้น คือให้ลดเงินสมทบประกันสังคมลงฝ่ายละ 2% ในปี 2556 และลดลง 1% ในปี 2557 จากปัจจุบันที่นายจ้างและลูกจ้างจ่ายเงินสมทบอยู่ฝ่ายละ 5%

แน่นอนว่าหากมีการปรับลดเงินสมทบประกันสังคมตามข้อเสนอของคณะทำงานจะกระทบต่อเงินกองทุนชราภาพทันที

เพราะการเก็บเงินสมทบนายจ้างและลูกจ้างในอัตราปกติ 5% ต้องแบ่งส่งกองทุนย่อย 3 กองทุน ได้แก่ สมทบเข้ากองทุนชราภาพ 3% สมทบเข้ากองทุนประโยชน์ทดแทน 4 กรณี คือ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย คลอดบุตร 1.5% และสมทบเข้ากองทุนว่างงาน 0.5%

ดังนั้น การลดเงินสมทบลง 2% จะกระทบกองทุนประโยชน์ทดแทน 4 กรณี และกองทุนชราภาพเป็นจำนวนเงินประมาณ 4 หมื่นล้านบาทในปี 2556 แต่จะไม่กระทบกองทุนว่างงาน

เนื่องจากสำนักงานประกันสังคม (สปส.) ต้องกันเงินในกองทุนว่างงานสำหรับภาวะการเลิกจ้างตามสภาพเศรษฐกิจ

นอกจากนี้ หากลดการส่งเงินสมทบลง 1%ในปี 2557 จะทำให้เงินกองทุนประโยชน์ทดแทน4 กรณี หายไปกว่า 2.5 หมื่นล้านบาท

รวมทั้งหมดหากมีการลดเงินสมทบประกันสังคมตามข้อเสนอ 2 ปี (2556-2557) จะทำให้กองทุนประกันสังคมหดหายไปกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท

ในขณะที่ค่าใช้จ่ายต่างๆ สูงขึ้น ก็คงหนีไม่พ้นจะต้องมาสูบเงินจากกองทุนประกันสังคมที่สะสมไว้ แม้ว่าจะมียอดเงิน 9.4 แสนล้านบาท แต่เงินทั้งหมดนี้มีผู้ประกันตน 10 ล้านคนเป็นเจ้าของ และจะต้องจ่ายคืนเมื่อยามวัยเกษียณที่ยังถกเถียงกันอยู่ว่าปี 2587 กองทุนประกันสังคมจะถังแตก เงินกองทุนจะติดลบ ไม่เพียงพอที่จะจ่ายเงินบำนาญให้ผู้ประกันตน

ขณะเดียวกันคณะกรรมการร่วม 3 สถาบันภาคเอกชน (กกร.) เสนอให้ลดการส่งเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคม ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้างลงเหลือ 2.5% จากปกติจัดเก็บฝ่ายละ 5% จะทำให้กองทุนประกันสังคมจะต้องสูญเงินกว่า 5 หมื่นล้านบาท

ส่วนของกองทุนประโยชน์ทดแทน 4 กรณี ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ คลอดบุตร และเสียชีวิต หรือเรียกได้ว่าในปี 2556 หากลดเงินสมทบ 2.5% ในกองทุนประโยชน์ทดแทน 4 กรณีจะไม่มีเงินเข้าเลย

ผลที่ตามมา คือ สปส.ต้องนำเงินสะสมจาก 4 กรณีที่ปัจจุบันมีเงินสะสมอยู่ประมาณ 84,690 ล้านบาท ออกมาจ่ายประโยชน์ทดแทนให้แก่ผู้ประกันตนกว่า 4 หมื่นล้านบาทในปี 2556

นั่นหมายถึงว่า เงินสะสมกองทุน 4 กรณีจะต้องหดหายไปกว่าครึ่งหนึ่ง

แน่นอนว่าหากลดเงินสมทบอัตราดังกล่าวจริง เท่ากับประกันสังคมต้องสูญเงิน 2 ทาง คือ ทั้งจากยอดที่ต้องเก็บได้ในปี 2556 และเงินสะสมที่ต้องเอาออกมาจ่ายประโยชน์ทดแทนใน 4 กรณี รวมแล้วกว่า 9 หมื่นล้านบาท

นี่คือปัญหาที่บรรดาสมาชิกผู้ประกันตนทั้ง 10 ล้านคนจะต้องตระหนัก

เพราะสถานะของกองทุนประกันสังคม ปัจจุบันมีเงินกองทุนกว่า 9.4 แสนล้านบาท ประกอบด้วย กรณีสงเคราะห์บุตรและชราภาพกว่า 8 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินออมของผู้ประกันตนจำนวนกว่า 10 ล้านคน ที่ประกันสังคมสะสมไว้เตรียมจ่ายสิทธิประโยชน์กรณีชราภาพ โดยจะเริ่มจ่ายในปี 2557 มีผู้รับบำเหน็จ 122,860 คน บำนาญ 3,250 คน ต้องจ่ายเงินรวม 8,260 ล้านบาท

ปี 2567 มีผู้รับบำเหน็จ 121,860 คน บำนาญ 817,680 คน จ่ายรวม 53,020 ล้านบาท

ปี 2577 มีเงินกองทุนสูงสุด 4.59 ล้านล้านบาท มีผู้รับบำเหน็จ 69,950 คน บำนาญ 3.3 ล้านคน ต้องจ่ายเงินรวม 444,610 ล้านบาท

และในปี 2587 กองทุนจะติดลบ ในขณะที่มีคนรับบำเหน็จและบำนาญรวม 6.3 ล้านคน

ส่วนเงินกรณีเจ็บป่วย ตาย ทุพพลภาพ คลอดบุตรกว่า 5.4 หมื่นล้านบาท กรณีว่างงานกว่า6.4 หมื่นล้านบาท

เมื่อเป็นเช่นนี้จึงเริ่มมีเสียงคัดค้านมาตรการการลดการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม ไม่ใช่เพียงนักวิชาการ ตัวแทนลูกจ้าง หรือแม้แต่ผู้บริหารประกันสังคมเอง ต่างก็วิตกว่าจะกระทบเงินกองทุนชราภาพ

แต่ดูเหมือนว่ารัฐบาลไม่สนใจอะไรทั้งนั้น กลับเดินหน้าล้วงเงินกองทุนประกันสังคมเพื่อรักษาหน้าที่ประกาศนโยบายประชานิยมไปแล้ว และรักษาฐานเสียงนายทุนไว้

รัฐบาลหลงลืมไปว่า ในระยะที่ผ่านมากองทุนประกันสังคมได้กระโดดไปช่วยเหลือลูกจ้างนายจ้างในหลายลักษณะ และที่ผ่านมาปรากฏว่ามีนายจ้างไม่น้อยที่ยังมีปัญหาค้างชำระการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม แถมยังอมเงินที่หักจากลูกจ้างจ่ายค่าประกันสังคมไว้

ถ้าไม่เชื่อลองไปตรวจสอบดูได้ว่า ปัจจุบันมียอดนายจ้างค้างเงินประกันสังคมรวมประมาณ 4,000 ล้านบาท ทำให้ประกันสังคมต้องมีค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานเร่งรัดหนี้สิน โดยที่ผ่านมาได้จ้างพนักงานติดตามหนี้ร่วม 179 คน เสียค่าใช้จ่ายไป 22 ล้านบาท และต้องขยายระยะเวลาการจ้างออกไปอีก 1 ปี เพราะเรียกเก็บเงินได้แค่ 1,290 ล้านบาท

พนัส ไทยล้วน ประธานสภาองค์การลูกจ้างแรงงานแห่งประเทศไทย ในฐานะกรรมการฝ่ายตัวแทนลูกจ้าง คณะกรรมการประกันสังคม กล่าวว่า บอร์ดประกันสังคมยังไม่มีการประชุมหารือตามข้อเสนอการลดการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมเพื่อลดภาระได้รับผลกระทบจากนโยบายขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท เนื่องจากต้องมีรายละเอียดที่จะระบุได้ชัดว่า การลดอัตราการจ่ายเงินสมทบประกันสังคม เอสเอ็มอีได้ประโยชน์อย่างไร

อีกทั้งการจะประกาศลดอัตราการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมจะระบุลดเงินสมทบเฉพาะเอสเอ็มอีไม่ได้ ซึ่งผู้ประกอบการทุกประเภททั้งรายเล็กรายใหญ่รวมถึงผู้ประกอบการที่มีการจ่ายเงินค่าจ้างขั้นต่ำเกิน 300 บาท ก็ได้ผลประโยชน์ด้วย เพราะอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกัน

ปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนใหญ่ที่มีการจ่ายอัตราการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำสูงกว่า 300 บาท มีมากกว่าผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ที่มีผู้ประกันตนอยู่ประมาณ 5 แสนคน แต่ต้องมาลดเงินสมทบให้ผู้ประกันตน 9 ล้านกว่าคนจะได้ไม่คุ้มเสีย

หากเอสเอ็มอีมีลูกจ้าง 50 คน ลดการจ่ายเงินสมทบเดือนละ 100 บาท เดือนหนึ่งก็ลดค่าใช้จ่ายได้แค่ 5,000 บาท ช่วง 1 ปี ก็ลดค่าใช้จ่ายได้เพียง 6 หมื่นบาทเท่านั้น

แต่ภาพรวมการลดการจ่ายเงินสมทบทั้งหมดจะทำให้กระทบกับเงินกองทุนประกันสังคมจะลดลงมากที่จะนำไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนมาจ่ายคืนให้ผู้ประกันตนในยามชราภาพ

พนัส กล่าวว่า การลดอัตราการจ่ายเงินสมทบประกันสังคมช่วยเหลือเอสเอ็มอี หรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท ไม่ได้มาก เพราะต้นทุนส่วนใหญ่ของเอสเอ็มอีอยู่ที่ราคาสินค้าวัตถุดิบ การผลิต ซึ่งรัฐเองก็ไม่สามารถควบคุมราคาได้ รวมทั้งมีต้นทุนการเงินที่สูง คืออัตราดอกเบี้ยเงินกู้

ดังนั้น หากรัฐบาลสนับสนุนแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ จะทำให้เอสเอ็มอีลดต้นทุนได้มากกว่าลดค่าจ่ายเงินสมทบประกันสังคม การลดเงินสมทบประกันสังคมนายจ้าง และส่วนใหญ่ต้นทุนเพิ่มผู้ประกอบการจะผลักดันปรับราคาเพิ่มให้ผู้บริโภค ในที่สุดลูกจ้างก็ไม่ได้ประโยชน์ นายทุนรายใหญ่เท่านั้นได้ประโยชน์

ขณะที่ ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย (คสรท.) ก็ได้ยื่นหนังสือถึง เผดิมชัย สะสมทรัพย์ รมว.แรงงาน เพื่อขอคัดค้านการลดเงินสมทบประกันสังคม เพราะเห็นว่าการลดเงินสมทบจะส่งผลต่อเงินกองทุนประโยชน์ทดแทน 4 กรณี โดยเฉพาะกองทุนชราภาพ หากมีการลดเงินสมทบ จะทำให้เงินไม่พอจ่ายให้แก่ผู้ประกันตนที่จะเกษียณอายุในอนาคตได้

ชาลี เสนอว่า หากคณะกรรมการประกันสังคมอนุมัติตามข้อเสนอของภาคเอกชน รัฐบาลต้องมีมาตรการรองรับเพื่อไม่ให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของกองทุนในระยะยาว โดยการเพิ่มอัตราเงินสมทบของฝ่ายรัฐบาลจากปัจจุบันอยู่ที่ 2.75% เพิ่มเป็น 4% ในปี 2556 และปี 2557

เมื่อรัฐบาลพยายามที่จะดึงเงินประกันสังคมออกไปช่วยบรรเทาความเดือดร้อนให้เอกชนที่เดือดร้อนจากนโยบายรัฐบาล ดังนั้นรัฐบาลก็ควรที่จะจ่ายเงินสมทบเพิ่มขึ้นด้วย เพื่อให้ผู้ประกันตน 10 ล้านคน จะต้องเสียประโยชน์ด้วย

เพราะการลดเงินสมทบประกันสังคมเพียง 1% จะทำให้ลูกจ้างลดภาระค่าใช้จ่ายเงินเพียงเดือนละ 150 บาท หรือค่าอาหารเพียง 3 มื้อ แต่เมื่อรวมผู้ประกันตนทั้งหมด 10 ล้านคน นั่นหมายความว่าเงินในกองทุนประกันสังคมหดหายไป 6 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมส่วนของนายจ้างที่หายไปด้วย 3 หมื่นล้านบาท ก็จะทำให้กองทุนประกันสังคมมีเงินลงทุน และผลตอบแทนน้อยลง

นี่คือปัญหาที่ท้าทายการทำงานของรัฐบาล และท้าทายพลังของสมาชิกที่จ่ายเงินสมทบทุกคน

แน่นอนว่า ในทางการเมืองนั้นการลดการจัดเก็บเงินสมทบประกันสังคม เป็นมาตรการหนึ่งที่เอาใจนายทุนได้ดีที่สุด

โดยเมื่อปี 2555 รัฐบาลก็ให้กองทุนประกันสังคมลดการจัดเก็บเงินสมทบเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ประสบปัญหาน้ำท่วมในปี 2554 เป็นระยะเวลา 1 ปี (1 ม.ค.-31 ธ.ค. 2555) โดยแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ ครึ่งปีแรก(1 ม.ค.-30 มิ.ย. 2555) ลดการจ่ายเงินสมทบจากฝ่ายลูกจ้างและนายจ้างที่จ่ายฝ่ายละ 5% เหลือ 3% และในครึ่งปีหลัง (1 ก.ค.-31 ธ.ค. 2555) ลดจาก 5% เหลือ 4%

ทั้งสองกรณีนั้นทำให้กองทุนประกันสังคมสูญเงิน 3 หมื่นกว่าล้านบาท

ล่าสุด ในการประชุมคณะกรรมการประกันสังคม (บอร์ด สปส.) เมื่อวันที่ 27 พ.ย.ที่ผ่านมา ที่ประชุมเห็นชอบขยายเวลาการใช้มาตรการช่วยเหลือธุรกิจที่ได้รับผลกระทบจากการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาททั่วประเทศใน 2 มาตรการ ไปอีก 1 ปี โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-31 ธ.ค. 2556 คือ 1.ขยายเวลาการลดเงินสมทบประกันสังคมทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง จากปัจจุบันเก็บเงินสมทบฝ่ายละ 5% ลดลงเหลือจัดเก็บฝ่ายละ 4% ส่วนเงินสมทบในส่วนของรัฐบาลยังส่งในอัตราเดิม คือ 2.75% โดยการลดเงินสมทบนี้จะดำเนินการตลอดทั้งปี

ผลที่ตามมาคือ ทำให้เงินสมทบใน 4 กรณี ‌ได้แก่ เจ็บป่วย ทุพพลภาพ ตาย และคลอดบุตร ‌ลดลง หายไป 4 หมื่นล้านบาท จากเดิมที่จะจัดเก็บได้ปีละ 6 หมื่นล้านบาท จะเหลือเพียง 2 ‌หมื่นล้านบาท

ขณะที่ สปส.มีภาระค่าใช้จ่ายการรับเหมาจ่าย‌ค่ารักษาพยาบาลให้โรงพยาบาลปีละ 3 หมื่นล้าน‌บาท และยังไม่รวมค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลฉุกเฉิน

แม้ว่า สมเกียรติ ฉายะศรีวงศ์ ปลัดกระทรวงแรง‌งาน ในฐานะประธานบอร์ด สปส. จะออกมายืนยัน‌ว่า การที่ยอดเงินสมทบลดลงไม่ได้ส่งผลกระทบต่อ‌การใช้สิทธิประโยชน์ทั้ง 4 กรณี เนื่องจากปัจจุบัน‌ประกันสังคมมีเงินสำรองสามารถนำมาใช้จ่ายใน‌สิทธิประโยชน์ 4 กรณี วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท

แต่อย่าลืมว่าแต่ละปีโรงพยาบาลที่อยู่ใน‌เครือข่ายประกันสังคมเรียกร้องขึ้นค่าเหมาจ่ายค่า‌รักษาพยาบาลทุกๆ ปี ตามต้นทุนค่ารักษาพยาบาล‌และค่ายาที่แพงขึ้นปีละ 10%

หากรัฐบาลยังเดินหน้าสูบเงินออกจากกองทุน‌อย่างนี้ ภาวะกองทุนประกันสังคมต้องเผชิญความ‌เสี่ยงถังแตกและล้มละลายมากขึ้น

การลดแรงกดดันการขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 300 บาท ‌ด้วยการลดการจัดเก็บเงินสมทบประกันสังคมของ‌รัฐบาล เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า ดึงเงิน‌กองทุนประกันสังคมของสมาชิก 10 ล้านคนใน‌อนาคตมาใช้

ขณะที่รัฐบาลเองยังค้างเงินจ่ายประกันสังคม‌และนายจ้างค้างเงินประกันสังคม ดังนั้นการออก‌มาตรการอย่าเห็นแก่ได้เฉพาะกลุ่มที่เรียกร้องเสียง‌ดัง แต่ต้องคำนึงถึงด้วยว่าจะไปกระทบต่อสิทธิ‌ประโยชน์ของผู้ประกันตนคนส่วนใหญ่หรือไม่ด้วย

อนาคตของผู้ประกันตน 10 ล้านคน ฝากไว้ที่บอร์ด สปส. ที่ประกอบด้วย 3 ฝ่าย นายจ้าง ลูก‌จ้าง และรัฐบาล ถ้าปล่อยให้รัฐบาลจับมือกับนาย‌ทุนมาล้วงเอาเงินจากกองทุนประกันสังคมไปได้อยู่‌เรื่อยไปก็ตัวใครตัวมัน

เตรียมตัวเจ๊งกันได้เลย