posttoday

เปิดสถิติมุมองทั่วโลกต่อ 'สมรสเท่าเทียม' ไทยสนับสนุนที่ร้อยละ 60

31 ธันวาคม 2566

Pew Research Center เปิดสถิติมุมมองของทั่วโลกที่มีต่อ 'สมรสเท่าเทียม' พบปัจจัยทางด้านเชื้อชาติ อายุ เพศ และศาสนา มีผลต่อการสนับสนุนของประชากรโลกที่ต่างออกไป เผยสวีเดนมีการสนับสนุนมากที่สุดในโลกที่ร้อยละ 92 ไนจีเรียต่ำที่สุดที่ร้อยละ 2 ในขณะที่ไทยอยู่ที่ร้อยละ 60

Pew Research Center ใช้เวลาสำรวจกว่า 2 ปีใน 32 ประเทศทั่วโลก พบว่าประเทศที่มีทัศนคิสนับสนุน 'สมรสเท่าเทียม' มากที่สุดคือประเทศสวีเดนอยู่ที่ร้อยละ 92 ในขณะที่ประเทศไนจีเรียต่ำสุดที่ร้อยละ 2 ในขณะที่ประเทศสหรัฐอเมริกาซึ่งผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้วมีการสนับสนุนที่ร้อยละ 63

ในขณะเดียวกันทางฝั่งของเอเชียพบว่า ประเทศที่มีทัศนคติสนับสนุนการสมรสเท่าเทียมมากที่สุดคือประเทศญี่ปุ่นที่ร้อยละ 68 รองลงมาคือ เวียดนาม ไทย ฮ่องกง กัมพูชา อินเดีย ไต้หวัน ซึ่งแม้ไต้หวันจะผ่านกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้วแต่ก็มีทัศนคติสนับสนุนอยู่ที่ร้อยละ 45 เท่านั้น ในขณะที่ประเทศสิงคโปร์ เกาหลีใต้ ศรีลังกา มาเลเซีย มีทัศนคติที่ดีต่อการสมรสเท่าเทียมน้อยกว่าการต่อต้าน และต่ำสุดที่ประเทศอินโดนิเซียซึ่งมีผู้สนับสนุนอยู่ที่ร้อยละ 5 เท่านั้น

 

ผลการสำรวจจาก Pew Research Center

 

ในขณะเดียวกันทัศนคติต่อ 'สมรสเท่าเทียม' ยังแตกต่างออกไปตามภูมิศาสตร์ของโลก เมื่อดูจากกฎหมายการสมรสเท่าเทียมที่เกิดขึ้น โดย โซนทวีปยุโรป เป็นทวีปที่ยืนหยัดเพื่อการสมรสเท่าเทียมมากที่สุด โดยมี 6 ประเทศที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมรองรับ ได้แก่ สวีเดน เนเธอร์แลนด์ สเปน ฝรั่งเศส เยอรมัน และอังกฤษ ซึ่งใน 6 ประเทศนี้มีทัศนคติต่อสมรสเท่าเทียมไปในทางที่ดีคือมากกว่าร้อยละ 70 ในขณะที่ประเทศอิตาลีแม้จะยังไม่มีกฎหมายรองรับแต่ประชาชนต่างมีทัศคติต่อสมรสเท่าเทียมเป็นไปในทางบวกเช่นกัน 

ในขณะที่ประเทศในทวีปอเมริกามีประเทศที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียมแล้ว 5 ประเทศ  ทวีปแอฟริกา 1 ประเทศคือประเทศแอฟริกาใต้ แต่กลับมีทัศนคติต่อต้านการสมรสเท่าเทียมมากกว่า เช่นเดียวกับประเทศไต้หวัน ซึ่งเป็นหนึ่งในสองประเทศร่วมกับออสเตรเลียที่มีกฎหมายสมรสเท่าเทียม ในขณะที่ออสเตรเลียประชาชนมีทัศคติที่ดีถึงร้อยละ 75 

สำหรับประเด็นของอายุประชากร พบว่า ประชากรที่มีอายุน้อยกว่า 35 มีมีแนวโน้มที่จะมีความชื่นชอบเกี่ยวกับประเด็นสมรสเท่าเทียมมากกว่าผู้ที่มีอายุมากกว่า ซึ่งนี่ทำให้ผลการสำรวจของประเทศไต้หวัน ออกมาค่อนข้างจะเป็นในแนวต่อต้าน แม้ว่าประชากรที่อายุต่ำว่า 35 ปีของไต้หวันถึง 3ใน4 ชื่นชอบการสมรสเท่าเทียม แต่ประชากรที่มีอายุมากกว่าถึง 3ใน 4 เช่นกัน กลับไม่ชอบในประเด็นดังกล่าว

ในขณะที่ประเด็นเรื่องเพศ ก็มีผลต่อการสำรวจ โดยพบว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มจะมีทัศนคติที่ดีต่อเรื่องสมรสเท่าเทียมมากกว่าผู้ชาย นอกจากนี้เมื่อศึกษาโดยแบ่งตามการศึกษาและรายได้ยังพบว่า ผู้ที่มีการศึกษาสูงและรายได้ดีมักจะสนับสนุนการสมรสมเท่าเทียมมากกว่า

ในขณะที่ประเด็นเรื่องของศาสนา พบว่า ผู้ที่ให้ความสำคัญกับการนับถือศาสนามากๆ ในบางประเทศส่งผลต่อทัศนคติในเรื่องของการสมรสเท่าเทียม อย่างเช่นประเทศไนจีเรีย และอินโดนิเซีย

 

เปิดสถิติมุมองทั่วโลกต่อ \'สมรสเท่าเทียม\' ไทยสนับสนุนที่ร้อยละ 60