posttoday

“สครมาถา เน็กซ์” กำจัดขยะ “ยอดเขาบนท้องฟ้า” ด้วยเทคโนโลยีแบบไหน?

04 พฤศจิกายน 2566

ด้วยจำนวนนักท่องเที่ยวที่มีสูงถึงกว่า 80,000 คนต่อปี “เอเวอเรสต์” คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่ได้รับความนิยมสูงสุดแห่งหนึ่งของโลก ผู้คนล้วนต้องการมาเติมเต็มความฝัน มาเพื่อพิสูจน์ขีดจํากัดของตัวเอง และยังนำพาขยะมาทิ้งทับถมไว้บนฟ้าถึงปีละ 250 ตันอีกด้วย!

“สครมาถา เน็กซ์” กำจัดขยะ “ยอดเขาบนท้องฟ้า” ด้วยเทคโนโลยีแบบไหน?

 

ในการจัดการกับปัญหาระดับโลก ในขณะที่ผู้คนเดินทางไปสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ คนส่วนใหญ่เดินตามเส้นทางเดียวกันผ่านเทือกเขาหิมาลัยของเนปาล เส้นทางนี้ทอดผ่านนำเชบาซาร์ (Namche Bazaar) ชุมชนสุดท้ายที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคนั้น บนสุดของ Namche Bazaar คือที่ตั้งของศูนย์บริการนักท่องเที่ยวของ Sagarmatha Next Center หรือ “สครมาถา เน็กซ์”  (ชาวเนปาลเรียก ภูเขาเอเวอเรสต์ว่า สครมาถา แปลว่า ยอดเขาบนท้องฟ้า) และนี่คือจุดที่ได้รับการออกแบบและนำประสบการณ์ต่างๆ มาใช้ “สื่อ” เพื่อช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ผู้เยี่ยมชมเป็นส่วนหนึ่งของโซลูชันที่นำเสนอ

 

Sagarmatha Next Centre ตั้งอยู่ที่ระดับความสูง 3,775 เมตรเหนือระดับน้ําทะเล เป็นจุดที่ต้องหยุดพัก (Must-stop) สําหรับนักเดินทางที่มาเยี่ยมเยือนเส้นทางปีนเขาเพื่อขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ ซึ่งนี่ถือเป็นโอกาสที่ดีอย่างยิ่งในการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับการทำงานและความพยายามขององค์กรให้เป็นที่รู้จักและเข้าใจในหมู่นักปีนเขาทุกคนที่ผ่านเข้ามา

 

“สครมาถา เน็กซ์” กำจัดขยะ “ยอดเขาบนท้องฟ้า” ด้วยเทคโนโลยีแบบไหน?

 

The Sagarmatha Next Film

จุดแรกสำหรับผู้มาเยือน Sagarmatha Next จะได้รับรู้ก็คือภาพยนตร์แนะนำ ภาพยนตร์เรื่องนี้ใช้เวลาสร้างนานหลายปี ช่วยให้ผู้เข้าชมได้ลงลึกเกี่ยวกับปัญหาการจัดการขยะที่ ผู้คนจำนวนมากไม่เคยได้ยินได้ฟังมาก่อน เรื่องราวของภาพยนตร์เรื่องนี้เล่าย้อนไปถึง “สมัยก่อน” ก่อนที่ยอดเขาเอเวอเรสต์จะได้รับการยอมรับว่าเป็น “ยอดเขาที่สูงที่สุดในโลก” มาจนถึงยุคปัจจุบันของการท่องเที่ยวระดับแมสและเรื่องราวของการเดินทางครั้งยิ่งใหญ่ทั้งหลาย จากนั้นจะให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับวิธีแก้ปัญหาที่เป็นไปได้สำหรับปัญหาขยะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับ “ระบบ Carry me back” (เอาฉันกลับไปด้วย)

 

ภาพยนตร์เรื่องนี้พากย์เสียงโดย Conrad Anker นักปีนเขาชื่อดัง เผยแพร่สู่สายตาผู้ชมทั่วโลกเช่นกันในวันที่ 29 พฤษภาคม 2023 ซึ่งเป็นวันครบรอบการขึ้นสู่ยอดเขาเอเวอเรสต์ครั้งแรกโดยเซอร์ เอ็ดมันด์ ฮิลลารี และเทนซิง นอร์เกย์ และสามารถรับชมได้บนช่อง YouTube ของ Sagarmatha Next ด้วย

 

สอดคล้องกับการเร่งการเปลี่ยนผ่านไปสู่ เศรษฐกิจหมุนเวียน(Circular Economy) บริษัทเทคโนโลยีอย่าง เดลล์เทคโนโลยีส์ ได้ให้การสนับสนุน Sagarmatha Next Centre องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรซึ่งดำเนินการโดยนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมท้องถิ่น บนเส้นทางเบสแคมป์บนเทือกเขาเอเวอเรสต์ ทำหน้าที่ในการให้ความรู้แก่นักท่องเที่ยวเกี่ยวกับปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมที่กําลังเพิ่มมากขึ้น และพยายามมองหาวิธีในการลดผลกระทบที่เกิดจากขยะ

 

สําหรับโครงการนี้ เดลล์ เทคโนโลยีส์ได้ทํางานร่วมกับ มาร์ติน เอ็ดสตรอม นักสํารวจของเนชันแนล จีโอกราฟิค(National Geographic) ในการสร้างภาพยนต์ที่เป็นวิดีโอสั้นเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลกระทบด้านลบของขยะที่มีต่อพื้นที่แห่งนี้ ส่วนในขั้นตอนต่อไปคือการส่งมอบเทคโนโลยีล้ำสมัยให้กับ Sagarmatha Next Centre ทั้งเพื่อโชว์เคสวิดีโอ และเพื่อให้โอกาสเสริมเพิ่มเติมในการยกระดับประสบการณ์ผ่านเทคโนโลยีเสมือนจริง (Virtual Reality) ผ่านหน้าจอวิดีโอ โปรเจคเตอร์แบบอินเทอแอคทีฟที่สามารถตอบโต้ (Interact) ได้

 

“สครมาถา เน็กซ์” กำจัดขยะ “ยอดเขาบนท้องฟ้า” ด้วยเทคโนโลยีแบบไหน?

 

สัมผัสประสบการณ์การเดินทางบนยอดเขาเอเวอเรสต์ด้วย VR

และนี่คือข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อแสดงให้เห็นว่า Sagarmatha Next Centre ใช้เทคโนโลยีอย่างไรบ้างในการสร้างความตระหนักรู้

 

• นิทรรศการดิจิทัล – นักเดินทางที่มาเยี่ยมเยือนสามารถสำรวจและได้รับประสบการณ์ผ่านเทคโนโลยีดิจิทัลในพื้นที่ทุกตารางนิ้วของการอำนวยความสะดวกภายในศูนย์ก่อนที่จะออกเดินทางต่อไป

• แผนที่ภายในพื้นที่และเส้นทางทั่วไป – นักเดินทางสามารถมองเห็น 17 เส้นทางการปีนเขาที่แตกต่างกันที่จะนำไปสู่เบสแคมป์ของยอดเขาเอเวอร์เรสต์ รวมถึงเส้นทางสู่จุดหมายปลายทางอื่นๆ ภายในหุบเขา 4 แห่งภายในพื้นที่แวดล้อม

• การให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะแบบฝังกลบ (Landsfills) – นักเดินทางจะได้เรียนรู้เกี่ยวกับพื้นที่มากกว่า 80 แห่งที่เป็นพื้นที่ในการจัดการขยะแบบฝังกลบบนเอเวอร์เรสต์ รวมถึงวิธีการที่สามารถทำได้ในการลดปัญหาขยะที่ถูกทิ้งให้ลดน้อยลง

 

ด้วยพลังของพีซี OptiPlex Micro Form Factor มอนิเตอร์ Dell 55 4K Interactive Touch ที่มาพร้อมเทคโนโลยีInGlassTM Touch 20 จุดและเทคโนโลยี Palm Rejection ช่วยให้นักเดินทางสามารถมีปฏิสัมพันธ์ หรือ interact กับมอนิเตอร์พร้อมกันหลายๆ คนได้อย่างต่อเนื่อง ตัวมอนิเตอร์มากับเทคโนโลยี In-Plane Switching (IPS) ที่ให้สีคมชัดเที่ยงตรงสมจริง พร้อมมุมมองในมุมกว้าง (Wide Angle) ซึ่งเหมาะสมอย่างที่สุดสำหรับการเรียนรู้เป็นหมู่คณะแม้กระทั่งอยู่ในช่วงเวลาระหว่างวันที่แสงแดดแผดจ้าในพื้นที่ที่ระดับความสูงขนาดนี้ 

 

สำหรับผู้มาเยือนอีกหลายต่อหลายคนที่เดินทางขึ้นสู่เอเวอร์เรสต์ เบสแคมป์ และอาจไม่สามารถปีนขึ้นสู่ซัมมิทที่สูงถึง 8,850 เมตรได้ ที่นี่ยังให้ประสบการณ์ผ่าน VR ที่เอ็ดสตรอมสร้างขึ้นเพื่อนำพายอดสูงสุดของเอเวอร์เรสต์มาอยู่ต่อหน้าด้วยการใช้พลังและการสร้างสรรค์บน Dell Precision โมบายเวิร์กสเตชั่นจากเดลล์

 

การให้การสนับสนุนของเดลล์ เทคโนโลยีส์ ไม่ได้จำกัดเพียงแค่การให้เทคโนโลยีเท่านั้น หากแต่ยังรวมไปถึงบริจาคให้กับแนวคิดริเริ่มของโครงการ Carry Me Backของ Sagarmatha Next อีกด้วย

 

“สครมาถา เน็กซ์” กำจัดขยะ “ยอดเขาบนท้องฟ้า” ด้วยเทคโนโลยีแบบไหน?

 

เมื่อผู้มาเยี่ยมชมออกจากศูนย์ไปแล้ว พวกเขาต่างได้รับกำลังใจในการกระตุ้นให้พวกเขานำเอาสิ่งที่เรียนรู้ติดตัวไปและกลายเป็นส่วนหนึ่งของการแก้ไขปัญหา

โครงการ Carry Me Back ที่ริเริ่มขึ้นให้โอกาสเหล่านักเดินทางที่มาเยี่ยมเยือนในการช่วยกำจัดขยะ ด้วยการเก็บพวกมันลงถังขยะที่มีอยู่ก่อนที่จะถูกลำเลียงเพื่อไปรีไซเคิลต่อที่กาฐมาณฑุ 

 

ด้วยแนวคิดริเริ่มนี้ องค์กรประสบความสำเร็จในการกำจัดขยะถึงกว่า 5,000 ถุง หรือคิดเป็นจำนวนขยะถึง 5,000 กิโลกรัมออกจากเอเวอเรสต์นับตั้งแต่วันที่โครงการเริ่มต้นขึ้นในเดือนเมษายนของปี 2022 ซึ่งขยะโดยส่วนใหญ่จะถูกนำไปรีไซเคิลต่อไป

 

ด้วยความมุ่งมั่นอันแรงกล้าทั้งในด้านความยั่งยืนและการให้การเรียนรู้ การสนับสนุนของเดลล์ เทคโนโลยีส์ที่มีต่อSagarmatha Next แสดงให้เห็นถึงศักยภาพอันไร้ขีดจำกัดของความยั่งยืน (Sustainability) การศึกษาเรียนรู้(Education) และเทคโนโลยี ในการที่จะพัฒนาและยกระดับเราไปสู่เป้าหมายและแนวคิดริเริ่มเพื่อการดำเนินงานในรูปแบบใหม่ๆ

 

“สครมาถา เน็กซ์” กำจัดขยะ “ยอดเขาบนท้องฟ้า” ด้วยเทคโนโลยีแบบไหน?