posttoday

ภาพสะท้อน ‘ชนชั้น’ ใน ‘Hunger’ คนหิว เกมกระหาย

12 เมษายน 2566

ภาพยนตร์ “Hunger คนหิว เกมกระหาย” ที่กำลังโด่งดังเป็นกระแสในโลกออนไลน์ ด้วยเนื้อหา ภาพและคำพูดของตัวละครที่กล้าออกมาพูดถึงประเด็น ‘ชนชั้น’ ที่หลบซ่อน เรื้อรั้ง เป็นปัญหาสังคมไทยมานานได้อย่างเลือดซิบ!

ภาพสะท้อน ‘ชนชั้น’ ใน ‘Hunger’ คนหิว เกมกระหาย

 

*เนื้อหามีการเปิดเผยเรื่องราวของภาพยนตร์*


‘ผู้ชนะที่แท้จริงคือผู้ที่หิวโหยกว่าเสมอ’ คือประโยคยาวประโยคแรกที่ปรากฏใน ภาพยนต์ Hunger คนหิว เกมกระหาย ที่กำลังโด่งดังเป็นกระแสในโลกออนไลน์ ด้วยเนื้อหา ภาพและคำพูดของตัวละครที่กล้าออกมาพูดถึงประเด็น ‘ชนชั้น’ ที่หลบซ่อนเรื้อรั้งเป็นปัญหาสังคมไทยมานานได้อย่างเลือดซิบ!


ในอาณาจักรของห้องครัวที่มีระบบชนชั้น ‘ออย’หญิงสาวที่ต้องสานต่อร้าน ก๋วยเตี๋ยวผัดในชุมชนเล็กๆ ได้รับโอกาสที่จะพิสูจน์ตัวเองเพื่อที่เธอจะได้ ‘เป็นคน พิเศษ’ มีชื่อเสียงเช่นเดียวกับ ‘เชฟพอล’ ซึ่งตัดสินใจรับเธอเข้าทำงานเป็นลูกทีม ของเขา โดยที่ออยไม่รู้ตัวเลยว่า ‘ความพิเศษ’ ที่ไขว่คว้าทำให้เธอเข้าสู่โลกแห่ง ความกระหายหิวอันโหดร้าย

 

ภาพจาก NETFLIX

อาหารบนจาน แทนวรรณะในสังคม


เมื่อดูภาพยนตร์เรื่อง Hunger คนหิวเกมกระหายจบ มีคำเล็กๆ สองคำที่วนเวียน อยู่ในหัว หนึ่งคือคำว่า ‘อาหาร’ .. ไม่ใช่แค่เพราะเรื่องราวนี้พูดถึงเชฟ หรือการทำ อาหาร แต่เพราะเรื่องนี้ใช้อาหารเป็นสัญลักษณ์ของการแสดงออกถึงความต่าง ของชนชั้นได้อย่างเอร็ดอร่อย


ออยเติบโตมาจากชนชั้นธรรมดา มีร้านขายอาหารเล็กๆ ของตัวเอง เมนูประจำ ครอบครัวที่ฝังรากลึกสืบต่อกันมาคือ ‘ก๋วยเตี๋ยวงอแง’ ซึ่งเป็นการนำเส้นก๋วยเตี๋ยว มาผัดกับอะไรก็ได้ที่มีในตู้เย็น สูตรเด็ดอย่างที่ออยบอกไว้ในเรื่อง คือการทำด้วย ‘ความรัก’ ของอาม่าที่อยากจะให้ลูกได้กินอิ่มและหายงอแง ในทางตรงกันข้าม


เมื่อออยเดินเข้าสู่โลกของเชฟพอล มันกลับเต็มไปด้วยสีสันที่ฉูดฉาด วัตถุดิบต้อง ดีจนต้องเอามาจากแหล่งกำเนิด ของทุกอย่างประทับตราความพิเศษตั้งแต่วัตถุ ดิบวากิว A5 ไปจนถึงการนำเสนอที่บ้าคลั่ง และคนไม่ได้มาทานอาหารเพื่อแค่ให้ อิ่ม แต่เพื่อจะได้ชื่อว่าได้กินอาหารชนิดพิเศษจากเชฟพอล ซึ่งคนที่มีเงินเท่านั้นถึง จะมีสิทธิได้กิน


หนังได้ทำให้เราเห็นว่าในโลกของคนจนและคนรวยความหมายของ ‘อาหาร’ ต่าง กันอย่างสิ้นเชิง เมื่อเราดูรายงานจากงานวิจัยจะพบว่าเมื่อเปรียบเทียบสัดส่วน ของการบริโภคกลุ่มคนที่มีฐานะอยู่ในระดับล่างซึ่งมีร้อยละ 20 พวกเขาจะมี สัดส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับอาหารคิดเป็นร้อยละ 51 ของการบริโภคทั้งหมด (ปี 2019) ส่วนกลุ่มระดับบนที่มีจำนวนอยู่ร้อยละ 20 0t มีสัดส่วนค่าใช้จ่ายสำหรับ อาหารเพียงร้อยละ 29 การที่ครัวเรือนรายได้น้อยมีสัดส่วนการบริโภคสินค้า จำเป็นสูง ทำให้เห็นว่า ‘ความหิว’ ของพวกเขาเปราะบางแค่ไหน เพราะหากสูญ เสียรายได้ก็จะต้องลดการบริโภคสินค้าที่จำเป็นอย่างเช่น ‘อาหาร’ ไป


ในขณะที่คนจน ‘กินเพื่ออยู่’ และกินเพื่อจะได้มีชีวิตรอดไปในแต่ละวัน แต่คนที่อยู่ ในฐานะคนรวยจะ ‘กินเพื่อชดเชยความหิวแบบพิเศษ และอยากได้ประสบการณ์ แบบพิเศษ เพื่อยืนยันความเป็นคนพิเศษที่ไม่เหมือนกับคนอื่น’


ฉากที่สะท้อนสิ่งนี้ได้ดีที่สุดคือเรื่องราวของไข่ปลาคาเวียร์ที่เล่าจากปากของเชฟ พอล ไข่ปลาคาเวียร์เป็นสิ่งที่แพงมาก ถ้าดีๆ ก็ถึงขั้นกระปุกนิดเดียวแต่ราคา หลายหมื่น ... การกินไข่ปลาคาเวียร์จึงเท่ากับแสดงถึงฐานะชั้นเลิศของผู้ซื้อ เชฟ พอลเคยทำกระปุกไข่ปลาคาเวียร์ตกแตกตอนที่เป็นเด็กลูกแม่บ้าน เพราะอยากกิน มากจนทำให้ครอบครัวเดือดร้อน เขาเล่าติดตลกด้วยประโยคสุดท้ายว่า ‘ที่ตลก ที่สุดคืออะไรรู้มั้ย มันไม่อร่อย’

 

ภาพสะท้อน ‘ชนชั้น’ ใน ‘Hunger’ คนหิว เกมกระหาย


ผู้ชนะที่แท้จริงคือผู้ที่หิวโหยกว่าเสมอ


คำที่สองคือคำว่า ‘หิว’ หิวถูกใช้ในบริบทยุคใหม่อยู่เนืองๆ เช่น หิวอำนาจ หรือหิว เงิน เพื่อแสดงออกถึงความต้องการที่มากเป็นพิเศษ ในเรื่องนี้ทำให้เราเห็น ว่าการพยายามไต่จาก ‘คนธรรมดา’ ให้ประสบความสำเร็จจนกลายเป็น ‘คน พิเศษ’ ในสังคมไทยต้องมีความหิวมากเพียงไร และต้องแลกกับอะไรบ้างระหว่าง ทาง


‘ทำด้วยความรัก มันออกจากความจนไม่ได้หรอก จะเป็นเชฟต้องมีแรงผลักดัน มากกว่านั้น’


สำหรับชนชั้นกลาง-ล่าง พวกเขาถูกหล่อหลอมด้วยคำพูดสวยหรู ข้อความสร้าง แรงบันดาลใจต่างๆ นานาซึ่งส่วนใหญ่ก็มาจากชนชั้นบนว่า ‘หากทำด้วยความรัก ไม่ย่อท้อและมีความพยายาม ทุกอย่างก็จะสำเร็จ’ แต่ความเป็นจริงนั้นไม่ใช่เลย


งานวิจัยเปิดเผยว่าสภาพสังคมไทยนั้นเหลื่อมล้ำและมีช่องว่างเป็นอย่างมาก เพราะรายได้กว่าร้อยละ 67 ของประชากรทั้งประเทศตกอยู่ในมือของกลุ่มคน เพียงแค่ร้อยละ 20 ของประเทศนี้ หมายความว่ารายได้ของประเทศกระจุกตัวอยู่ที่ คนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น ในขณะที่บางคนยังไม่สามารถใช้เงินคุ้มเดือนได้เลย หรืออยู่ได้เพราะการกู้หนี้ยืมสิน สะท้อนจากสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของ ไทย ณ สิ้นไตรมาส 4 ปี 2562 ซึ่งอยู่ที่เกือบร้อยละ 80 สูงเป็นอันดับ 2 ในเอเชีย รองจากประเทศเกาหลีใต้


เหมือนคำพูดของออยที่บอกกับโตนคนรักของเธอว่า ‘ก็เพราะหิวไม่มากพอ’ พยายามไม่มากพอไง ในวันที่เธอสามารถเปิดร้านและมีชื่อเสียงเป็นเชฟชื่อดังได้ โดยมีนักธุรกิจใหญ่เป็นสปอนเซอร์ แต่แฟนของเธอกลับทำได้แค่เปิดร้านเล็กๆ ในซอยเล็กๆ เพราะไม่มีเงินทุน คำพูดของออยอาจจะอยู่ในความรู้สึกของชนชั้น กลาง-ล่างบางคน ที่กำลังขวนขวายเพียงเพราะคิดว่า หากพยายามมากพอ และ ทะเยอทะยานมากกว่านี้ เราก็จะสามารถเป็นคนพิเศษอย่างที่ต้องการ

จากคำพูดของออยสุดท้ายโตนจึงทำให้ออยเห็นว่า ความหิวของเขามากพอที่จะ ทำลายครูของเขาด้วยการแบล็คเมล์ เพื่อที่เขาจะได้พิเศษอย่างที่ต้องการ เขา สามารถทำได้ทุกอย่าง และนั่นคือจุดที่ทำให้ออยรู้ว่าเธอเสียคนที่รักไปตลอดกาล

 

ภาพจาก NETFLIX   เมื่อออยถูกสอนให้ต้องมีแรงผลักดันในการทำอาหารมากกว่าความรัก


หนังเรื่องนี้ยังชี้ให้เห็นว่าการพยายามเป็นคนพิเศษนั้นต้องแลกกับสิ่งใดบ้าง ซึ่ง ในความเป็นจริงมันอาจไม่ได้เป็นเช่นนั้นเสมอไป คนรวยส่วนใหญ่ก็ยังคงมีความ สุข มีเพื่อนคบ มีคนรักมากมาย และครอบครัวที่มีความสุข .. ในขณะที่อีกฝั่งหนึ่ง ของสังคม ความกดดันได้กดลงไปบนบ่าของชนชั้นล่างอย่างหนักหน่วง พวกเขา หลงเพ้อฝันว่าหากแค่พยายามมากขึ้นก็คงจะมีวันที่เป็นของพวกเขาบ้าง แต่แท้ที่ จริงแล้วความพยายามเหล่านั้นต้องอยู่บนฐานรากของโครงสร้างเศรษฐกิจที่ช่วย สนับสนุนด้วย ในเมื่อสังคมไม่เอื้อให้คนจนมีชีวิตที่ดีขึ้น การศึกษาที่ดีกระจุกอยู่ที่ คนรวย สาธารณสุขที่ดีไม่ทั่วถึง เบี้ยคนชราที่ยังคงน้อยนิดจนเราต้องทำงาน อย่างหนักเพราะไม่รู้ว่าแก่ไปแล้วจะเอาอะไรกิน ภาษีที่เก็บคนทำงานหาเช้ากินค่ำ แต่ลดภาษีบางอย่างที่ไม่เอื้อต่อการกระจายสินทรัพย์ในประเทศ ด้วยเหตุผลที่ว่า คนรวยคือต้นทางของเศรษฐกิจที่ดีที่ไปสู่ฐานราก .. ทั้งหมดคือกับดักและเกมที่คน ชนชั้นล่างจะออกจากสิ่งนี้ได้จริงหรือ


แด่การเป็น ‘คนพิเศษ’


ออย ‘อยากเป็นคนพิเศษ' เพียงเพราะเธอคิดว่าชื่อเสียงที่ได้จากการเป็นคนพิเศษ จะพาชีวิตที่ดีกว่ามาให้เธอ โตนยอมทำหลายอย่างที่โสมมเพราะอยากเป็นคน พิเศษ หรือแม้แต่เชฟพอลที่ต้องการแก้แค้นความจนของตัวเอง ด้วยการถีบตัวให้ มีชื่อเสียงเพื่อให้คนรวยที่เคยเหยียบย่ำเขาต้องมาก้มหัวให้ แต่สุดท้ายเขากลับ ตกบ่วงของการเป็นคนพิเศษเสียเอง เพราะเมื่อได้เป็นแล้ว การลงมาจากการเป็น คนพิเศษนั้นยากกว่าเดิม เขาได้กลายเป็นหนึ่งในกลุ่มคนพิเศษ ที่เขาเคยรังเกียจ
ไปแล้ว

 

ภาพจาก NETFLIX ออยมาสมัครร่วมทีมเชฟพอลด้วยความรู้สึกที่ว่า อยากพิเศษกว่าคนทั่วไป

‘เป็นไง ได้เป็นคนพิเศษสมใจแล้ว สนุกมั้ย’ ฉากสุดท้ายเมื่อออยได้รู้ซึ้งถึงความเป็นคนพิเศษ แต่เธอกลับไม่ดีใจกับมันเลย ด้วยซ้ำ เพราะเส้นทางที่เธอได้มันมา แหวกให้เห็นความโลภของมนุษย์ และความ ไม่ยุติธรรมในสังคม ออยเดินกลับมาจากปาร์ตี้ของไฮโซที่กินเหลือทิ้งเหลือขว้าง และเดินผ่านกลุ่มคนธรรมดาที่ไม่มีแม้แต่บ้านอยู่และข้าวให้กิน ... ความพิเศษนั้น จะดีแค่ไหนกัน หากเรายังคงกระหายหิวบนความอดอยากของคนอื่นโดยลืมไปว่า ‘อาหารที่หรูหราที่สุด ก็มาจากวัตถุดิบของชนชั้นแรงงานเสมอ’


เราเคยได้ยินคำพูดทำนองว่า เราต่างมีแสงสว่างในตัวเอง หรือเพราะทุกคนคือคน พิเศษในตัวเอง เพื่อให้ทุกคนตระหนักถึงคุณค่าการเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกัน คำถามคือมันยังใช้ได้หรือกับสังคมไทยที่ขึ้นอยู่กับอำนาจของเงินและปากท้อง แบบนี้ แล้วเมื่อไหร่ที่คุณค่าความเป็นคนจะไม่ได้ขึ้นอยู่กับสิ่งเหล่านี้


เมื่อดูภาพยนตร์จบ แม้จะรู้สึกว่าถ้าในความเป็นจริงออยคงไม่ตัดสินใจแบบนี้ หลายคนบอกว่ามันจบแบบโลกสวยเกินไป แต่อย่างน้อยภาพยนตร์เรื่อง Hunger คนหิว เกมกระหาย ก็พยายามเตือนสติกับคนดูอยู่เนืองๆ ว่าไม่ว่าจะอยู่ในชนชั้น ไหน สุดท้ายทุกคนก็เป็นแค่เพียงคนธรรมดาคนหนึ่ง เกิดและดับเท่าเทียมกัน ไม่มี หรอก ‘คนพิเศษ’ ที่แท้จริง

 

ที่มา:
https://www.facebook.com/NetflixTH/ https://www.bot.or.th/Thai/ResearchAndPublications/articles/Pages/ Article_11Nov2021.aspx
https://www.pier.or.th/abridged/2020/17/