posttoday

เรื่องของ (โรค) หัวใจ

13 กุมภาพันธ์ 2561

เรื่องของ (โรค) หัวใจ...เรียนรู้ไว้ไม่เสียหลาย เพราะหลีกเลี่ยงได้

 

ใกล้วันวาเลนไทน์เข้ามาทุกที สำหรับเรื่องของ (โรค) หัวใจ...เรียนรู้ไว้ไม่เสียหลาย เพราะหลีกเลี่ยงได้ ถ้าสามารถควบคุมความเสี่ยงของเหตุปัจจัย แต่ถ้าหลบไม่ได้หรือเลี่ยงไม่พ้น ก็ลองมาเรียนรู้อัพเดทแนวทางการรักษาใหม่ๆ ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ เพื่อป้องกันตัวเอง ประเมินตัวเอง และเลือกแนวทางที่ดีที่สุดสำหรับ “หัวใจ” ของตัวคุณเอง

 

ประเภทของโรคหัวใจ

1.หลอดเลือดหัวใจ เมื่อหัวใจไม่ได้รับโลหิตที่มีออกซิเจนอย่างพอเพียง ก็จะทำให้เกิดอาการเจ็บปวดที่เรียกว่าหัวใจขาดเลือด (Angina) มีสาเหตุจากการกระตุกในหลอดเลือดหัวใจ เตือนว่าหัวใจต้องการออกซิเจนมากขึ้น มีอาการเจ็บ ปวด รู้สึกไม่สบาย แน่นท้อง เป็นตะคริว ชา หายใจลำบาก จุกเสียด แน่นหน้าอก

2.กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หัวใจวายเกิดขึ้นจากมีการอุดตันที่หลอดเลือดหัวใจ ขัดขวางการไหลของโลหิตไม่ให้เป็นไปอย่างสะดวก หัวใจในส่วนที่ไม่ได้รับออกซิเจนอาจถูกทำลายถาวรและกลายเป็นเยื่อพังผืด

3.ภาวะหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure - CHF) เกิดขึ้นเมื่อหัวใจไม่สามารถสูบฉีดโลหิตให้ไหลเวียนไปทั่วทุกส่วนของร่างกายได้อย่างพอเพียง มีอาการหายใจเข้าลำบาก น้ำหนักตัวเพิ่มอย่างรวดเร็ว มือ เท้า หรือท้องบวม เหนื่อยมาก ไอแห้ง นอนหลับยาก

4.หัวใจเต้นผิดจังหวะ (Arrhythmias) คือการถูกรบกวนซึ่งมีผลให้จังหวะการเต้นของหัวใจเปลี่ยนไป สามารถรักษาได้ด้วยการใช้ยารับประทาน และอาจต้องผ่าตัดในบางกรณี รวมทั้งต้องใช้อุปกรณ์ไฟฟ้าช่วย(pacemaker)

 

ปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจ

ปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 2 ประเภท ส่วนหนึ่งก็คือนิสัยหรือบุคลิกเฉพาะบุคคล ที่อาจเป็นตัวเพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจได้

1.ปัจจัยเสี่ยงที่ไม่สามารถควบคุมได้ เช่น พันธุกรรม รูปแบบการใช้ชีวิต อายุที่มากขึ้น เพศชายพบโรคหลอดเลือดหัวใจมากกว่าเพศหญิง

2.ปัจจัยเสี่ยงที่ควบคุมได้ ได้แก่ การสูบบุหรี่ การควบคุมความดันโลหิต การควบคุมคอเลสเตอรอล การควบคุมภาวะโรคเบาหวาน รวมทั้งไลฟ์สไตล์แบบนั่งอยู่กับที่ (Sedentary lifestyle) 

โปรแกรมออกกำลังหลังเกิดอาการหัวใจวาย จะช่วยให้อาการดีขึ้นและป้องกันปัญหาโรคหัวใจที่อาจเกิดขึ้นภายหลัง โปรแกรมฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจของศูนย์ฟื้นฟูสมรรถภาพ-บำรุงราษฎร์ ออกแบบการฟื้นฟูที่ช่วยผู้ป่วยให้เริ่มออกกำลังอย่างปลอดภัยและเหมาะสม

 

แนวทางการรักษา

1.การรักษาโดยการใช้ยา

2.มัณฑนากรหลอดเลือดหัวใจโดยลูกโป่งถ่างขยายและการใส่ขดลวดถ่างขยายหลอดเลือดหัวใจ (Coronary Angioplasty and Stent Placement) ใช้วิธีเดียวกับการวินิจฉัยด้วยการสวนหัวใจ สอดสายยางเข้าทางเส้นเลือดที่ขาหนีบหรือที่แขน และสอดไปตามเส้นเลือดสู่หัวใจ ตรงปลายสายยางจะมีลูกโป่งขนาดเล็กอยู่ เมื่อสายยางจะทะลุผ่านหลอดเลือดที่อุดตัน ก็จะถูกทำให้ขยายตัวเพื่อขยายหลอดเลือดและเปิดทางให้กับการไหลของโลหิต

3.การผ่าตัดเปิดหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีการไหลเวียนของเลือดเปลี่ยนไปอันเนื่องมาจากโรคหลอดเลือดหัวใจตีบ โรคลิ้นหัวใจ หรือปัญหาโรคหัวใจอื่นๆ

4.การตัดต่อหลอดเลือดเลี้ยงหัวใจ (Coronary artery surgery) เป็นการผ่าตัดเพื่อใช้เส้นเลือดดำจากร่างกายมาต่อโดยข้ามผ่านเส้นเลือดแดงหลักที่มีการอุดตัน การผ่าตัดบายพาสนี้จะช่วยเพิ่มการไหลเวียนเลือดสู่กล้ามเนื้อหัวใจ ช่วยให้หัวใจทำหน้าที่ดีขึ้น

5.การผ่าตัดเปลี่ยนและซ่อมแซมลิ้นหัวใจ (Heart valve surgery) ลิ้นหัวใจที่ถูกทำลายอาจซ่อมแซมได้ แต่โอกาสที่ต้องเปลี่ยนลิ้นหัวใจมีมากกว่า โดยอาจเป็นลิ้นหัวใจเทียม ที่ทำจากวัสดุหรือทำจากเนื้อเยื่อคนหรือสัตว์ก็ได้

6.การผ่าตัดปิดรูรั่วผนังหัวใจด้านบน (Atrial septum defect) รูรั่วที่ผนังหัวใจด้านบน (ASD) คือภาวะที่มีช่องเปิดที่ผนังหัวใจด้านบน การผ่าตัดปิดรูรั่วก็เพื่อให้โลหิตได้ไหลเวียนผ่านห้องหัวใจต่างๆ ได้ตามเส้นทางที่ควรจะเป็นศูนย์หัวใจ โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ ให้บริการ 24 ชั่วโมง ทุ่มเทดูแลผู้ป่วยโรคหัวใจอย่างครอบคลุม ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนการฟื้นฟูสมรรถภาพหัวใจ โดยทีมแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจโดยเฉพาะ พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย

ศูนย์หัวใจ : อาคารบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล คลินิก ชั้น 14 สอบถามข้อมูล โทร 02 011 5999 นัดหมายแพทย์ 02 011 2222