posttoday

เปิดผลตรวจ 'ชานมไข่มุก' 25 ยี่ห้อ พบน้ำตาลไม่เกินมาตรฐานเพียง 2 ยี่ห้อ

12 กรกฎาคม 2562

สาวกชานมไข่มุกส่องปริมาณน้ำตาลก่อนบริโภค หลังศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดผลตรวจ 'ชานมไข่มุก'  25 ยี่ห้อ พบเพียง 2 รายน้ำตาลไม่เกินมาตรฐานกำหนดปลอดภัยต่อสุขภาพ แนะผู้ประกอบการลดปริมาณน้ำตาล หวั่นทำให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคเรื้อ

สาวกชานมไข่มุกส่องปริมาณน้ำตาลก่อนบริโภค หลังศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) เปิดผลตรวจ 'ชานมไข่มุก'  25 ยี่ห้อ พบเพียง 2 รายน้ำตาลไม่เกินมาตรฐานกำหนดปลอดภัยต่อสุขภาพ แนะผู้ประกอบการลดปริมาณน้ำตาล หวั่นทำให้ผู้บริโภคเจ็บป่วยด้วยกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ

เปิดผลตรวจ 'ชานมไข่มุก' 25 ยี่ห้อ พบน้ำตาลไม่เกินมาตรฐานเพียง 2 ยี่ห้อ


ศูนย์ทดสอบฉลาดซื้อมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค (มพบ.) โดยโครงการเฝ้าระวังสินค้าและบริการเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพได้สุ่มเก็บตัวอย่าง 'ชานมไข่มุก' ในเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ทั้งหมดจำนวน 25 ยี่ห้อ พบว่าชานมไข่มุกเพียง 2 ยี่ห้อเท่านั้นที่น้ำตาลไม่เกินตามองค์การอนามัยโลก แนะนำบริโภคต่อวันไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา หรือ 24 กรัม

น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า “ในชานมไข่มุกนั้นมีสารกันบูด จึงขอให้ผู้ประกอบการระบุในฉลากให้ถูกต้อง ตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาด้วย และ อย. ควรเร่งผลักดันให้เกิดฉลากสัญญาณไฟจราจร เพื่อทำให้เกิดการปรับปรุงคุณภาพอาหารให้เป็นมิตรกับผู้บริโภคเพิ่มขึ้น และหวังว่าการให้ข้อมูลเรื่องชานมไข่มุกจะมีประโยชน์กับการตัดสินใจของผู้บริโภค”

เปิดผลตรวจ 'ชานมไข่มุก' 25 ยี่ห้อ พบน้ำตาลไม่เกินมาตรฐานเพียง 2 ยี่ห้อ

เปิดผลตรวจ 'ชานมไข่มุก' 25 ยี่ห้อ พบน้ำตาลไม่เกินมาตรฐานเพียง 2 ยี่ห้อ

ขณะที่ชาไข่มุกทุกยี่ห้อใส่สารกันบูด แต่ไม่มียี่ห้อไหนที่ให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภคแม้ไม่เกินมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ซึ่งส่วนผลการทดสอบสารกันบูดประเภทกรดเบนโซอิก (Benzoic Acid) และกรดซอร์บิก (Sorbic Acid)  น้อยที่สุดอยู่ที่ 58.39 มิลลิกรัม/กิโลกรัม ส่วนมากที่สุดอยู่ที่ 551.09 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

“แม้สารกันบูดไม่ได้เกินมาตรฐาน แต่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพ หากได้รับในปริมาณมาก ผู้ประกอบการจะต้องค้นหาแหล่งที่มาของสารกันบูดให้ได้ว่า ปริมาณสารกันบูดที่มีมากเกิดจากอะไร ส่วนปริมาณน้ำตาลที่สูงมาก เสี่ยงต่อผลกระทบด้านสุขภาพ ข้อมูลเหล่านี้ไม่มียี่ห้อใดให้ข้อมูลแก่ผู้บริโภค จึงเป็นเรื่องที่น่าห่วง อยากให้ผู้ประกอบการปรับลดขนาดปริมาณต่อแก้วลง เพราะขนาดของแก้วสัมพันธ์กับปริมาณน้ำตาลที่เติมลงไป บางยี่ห้อมีราคาสูงมาก เมื่อซื้อชานมไข่มุกอาจบริโภคจนหมดแก้วเพราะเสียดาย และขอให้ผู้ประกอบการระบุฉลากให้ถูกต้องตามประกาศของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ในการใส่วัตถุเจือปนอาหาร หากไม่ระบุอาจเข้าข่ายผิดกฎหมาย รวมถึงเร่งผลักดันให้เกิดฉลากสัญญาณไฟจราจร เพื่อทำให้ผู้ประกอบการปรับปรุงคุณภาพอาหารให้เป็นมิตรต่อผู้บริโภค” น.ส.สารี กล่าว

ขณะที่ด้าน ทันตแพทย์หญิงมัณฑนา ฉวรรณกุล รองผู้จัดการโครงการฯ เครือข่ายเด็กไทยไม่กินหวาน เผยผลทดสอบชานมไข่มุก ยี่ห้อที่มีน้ำตาลน้อยสุด คือ 16 กรัม (4 ช้อนชา) และมากสุด คือ 74 กรัม (18.5 ช้อนชา) ซึ่งเกินกว่าปริมาณที่ควรได้รับถึง 3 เท่า และแม้เครื่องดื่มจะมีน้ำตาลน้อยกว่า 24 กรัม แต่ก็พบว่า ในหนึ่งแก้วมีปริมาณน้ำตาลต่อวันไปแล้ว 2 ใน 3 ซึ่งคาดได้ว่า ปริมาณการบริโภคจะเกินข้อแนะนำ

“เครื่องดื่มเหล่านี้เป็นเครื่องดื่มที่ควรงดการดื่ม เพราะเป็นแหล่งอุดมน้ำตาล ซึ่งปริมาณน้ำตาลที่สูงหากได้รับในคราวเดียว จะรบกวนระบบการ Metabolite ซึ่งจะทำให้เกิดเป็นกลุ่มโรคเรื้อรังไม่ติดต่อ ซึ่งมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิต (NCDs) ได้”  

 

ขอบคุณภาพจากเฟซบุ๊ก : นิตยสารฉลาดซื้อ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค