posttoday

ศึกษาให้ดีเรื่องภาษี อี-คอมเมิร์ซ

12 กันยายน 2561

ผู้ที่ขายของออนไลน์ หรือธุรกิจอี-คอมเมิร์ซใดๆ ก็ตาม “จำเป็นต้องเสียภาษี”

โดย..ศุภยศ ศิริจำรูญวิทย์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท คลิกเน็กซ์ จำกัด

การซื้อของออนไลน์ที่เติบโต สิ่งหนึ่งที่เอสเอ็มอีมักจะมองข้ามไปก็คือ “การจ่ายภาษี” ข้อกฎหมายระบุไว้ชัดเจนว่า ผู้ประกอบการรายใดในไทยที่มีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการ ให้แก่ผู้ซื้อที่อยู่ ณ ที่ใดๆ ก็ตาม มีหน้าที่ต้องเสียภาษีให้กับรัฐ

  1. ธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ “ต้องเสียภาษี” อันดับแรกเราต้องสร้างความเข้าใจให้ตรงกันก่อนว่า ผู้ที่ขายของออนไลน์ หรือธุรกิจอี-คอมเมิร์ซใดๆ ก็ตาม “จำเป็นต้องเสียภาษี” ไม่ว่าจะเป็นการขายสินค้าในลักษณะอาชีพเสริม (มีเงินเดือนอยู่แล้ว)
  2. แล้วต้องเสียภาษีประเภทไหน การเสียภาษีจากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ ต้องดูว่าผู้ประกอบการมีรูปแบบธุรกิจ และรายได้อย่างไร โดยอันดับแรกมาดูเรื่องรูปแบบธุรกิจกันก่อน ซึ่งแบ่งออกเป็น บุคคลธรรมดา และนิติบุคคล

ในส่วนของบุคคลธรรมดา คือ การที่ผู้ขายไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล โดยรายได้จากการขายสินค้านี้ถือเป็นเงินได้จากการขายสินค้าและบริการ (เงินได้ประเภทที่ 8) ซึ่งจะคิดอัตราภาษีได้สองแบบ เพื่อหาว่าเราต้องจ่ายภาษีจาก
เงินได้ประเภทใด

  • กรณีแรก มีรายได้จากการขายสินค้า หรือบริการเป็นรายได้หลัก (ไม่ได้เป็นพนักงานประจำ) ต้องคิดแบบเงินได้สุทธิ (ภ.ง.ด.91) นั่นก็คือ รายได้-ค่าใช้จ่าย-ค่าลดหย่อน
  • กรณีที่สอง ถ้าหากเรามีงานประจำ รับเงินเดือนประจำอยู่แล้ว และยังมีรายได้จากการขายสินค้าเกิน 1.2 แสนบาท (ต่อปีภาษี) ต้องคิดภาษี 2 แบบ คือ แบบแรกตาม ภ.ง.ด.91 โดยยื่นเป็นรายได้จากเงินเดือน

ส่วนเงินได้จากการขายสินค้าให้คิดตามแบบเงินได้พึงประเมิน (ภ.ง.ด.94) โดยให้นำเงินได้ (จากการขายสินค้า) ทั้งหมดคูณ 0.005 ถ้าตัวเลขภาษีออกมาไม่เกิน 5,000 บาท ได้รับการยกเว้นภาษี แต่ถ้าเกิน 5,000 บาท ให้มาเทียบกับวิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ (ภ.ง.ด.91) อีกครั้งหนึ่งว่า การคำนวณจากฐานรายได้แบบไหนต้องจ่ายภาษีสูงกว่ากัน ให้เลือกอันที่จ่ายสูงกว่า