posttoday

ความไม่มั่นคงทางอาหารเพิ่มขึ้นในภูมิภาคอาเซียนจาก เอลนีโญ

22 ตุลาคม 2566

ข้อมูลขององค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) ชี้ราคาข้าวทั่วโลกในเดือนสิงหาคมสูงกว่าปีก่อนหน้าถึง 31% และสูงที่สุดในรอบ 15 ปี ซึ่งทำให้รัฐบาลที่อ่อนไหวต่อเงินเฟ้อในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต้องเร่งหาทางออก

ตามการคาดการณ์ล่าสุดขององค์การสหประชาชาติ สภาพอากาศเอลนีโญจะคงอยู่อย่างน้อยจนถึงครึ่งแรกของปี 2567 โดยมีฝนตกผิดปกติทั่วหลายพื้นที่ทั่วโลก ทั้งในเอเซียและละตินอเมริกา ทำให้เกิดความกังวลต่อภาคเกษตรกรรม

รายงานจากองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) อุณหภูมิผิวน้ำทะเลแปซิฟิกเพิ่มสูงขึ้นในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา “ด้วยภาวะโลกร้อนที่ร้อนขึ้น” ความผันผวนของสภาพอากาศที่เกิดขึ้น ทำให้ผู้นำเข้าข้าวสุทธิ เช่น อินโดนีเซียและฟิลิปปินส์ที่มีประชากรจำนวนมาก และผู้ส่งออกสุทธิเช่นไทย กำลังต่อสู้กับราคาข้าวที่เพิ่มขึ้น โดยได้รับแรงหนุนจากสภาพอากาศ 

เนื่องจากประเทศต่างๆ ต้องเผชิญกับผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลงเนื่องจากผลกระทบเอลนีโญเฉียบพลันในปีนี้ ซึ่งทำให้เกิดอุณหภูมิที่ร้อนกว่าค่าเฉลี่ยทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และทำให้ปริมาณน้ำฝนโดยรวมลดลง ส่งผลกระทบต่อเนื่องให้ผลผลิตทางการเกษตรลดลง โดยเฉพาะข้าวซึ่งต้องอาศัยน้ำฝน มีความเสี่ยงเป็นพิเศษ 

โดยผลจากคลื่นความร้อนที่เกิดจากปรากฏการณ์เอลนีโญ และการขาดแคลนอาหาร ในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 ทำให้อินเดียได้ประกาศควบคุมการส่งออกข้าว อินเดียเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ที่สุดในโลก โดยคิดเป็น 40% ของอุปทานทั่วโลก การส่งออกของอินเดียคิดเป็น 11% ของปริมาณข้าวทั่วโลก

ด้านประเทศลุ่มแม่น้ำโขงตอนล่าง กัมพูชา และเวียดนาม ปริมาณน้ำฝนที่ลดลงเนื่องจากปรากฏการณ์เอลนีโญรุนแรงขึ้น ระดับน้ำในแม่น้ำลดลงจนต่ำเป็นประวัติการณ์  ซึ่งทำให้ผลผลิตข้าวที่ลดลงในประเทศผู้ส่งออกสุทธิ เช่น ไทยและเวียดนาม ส่งผลให้ราคาข้าวสูงขึ้นรวมถึงมีการกักตุนเพิ่มขึ้น

ประเทศผู้นำเข้าข้าวสุทธิจะได้รับผลกระทบมากที่สุด ได้แก่ อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และมาเลเซีย

โดยระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนสิงหาคม อินโดนีเซียนำเข้าข้าว 1.6 ล้านตัน ซึ่งมากกว่าสามเท่าของ 429,000 ล้านตันในปี 2565 ขณะนี้ราคาข้าวสูงขึ้น 16% เมื่อเทียบเป็นรายปี การเพิ่มขึ้นดังกล่าวทำให้ในเดือนกันยายน ประธานาธิบดี โจโก วิโดโด สั่งปล่อยสต็อกจาก BULOG ซึ่งเป็นแหล่งสำรองข้าวเชิงยุทธศาสตร์ เพื่อพยายามควบคุมอัตราเงินเฟ้อ  

ในฟิลิปปินส์ ประมาณการว่าการผลิตข้าวจะลดลง 1.8% ในปี 2566 ส่งผลให้ราคาข้าวแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในเดือนกันยายน ประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส จูเนียร์ของฟิลิปปินส์ ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีกระทรวงเกษตรพร้อมกัน ได้กำหนดเพดานราคาข้าวสูงสุดไว้ที่ 45 เปโซ ( 0.79 ดอลลาร์สหรัฐฯ) ต่อกิโลกรัม  

ฟิลิปปินส์นำเข้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ 3.9 ล้านเมตริกตันในปี 2565-23 ในเดือนกันยายน มาร์กอส ได้ลงนามในข้อตกลงจัดซื้อระยะเวลา 5 ปีกับเวียดนาม ซึ่งจัดหาสินค้านำเข้าของฟิลิปปินส์ถึง 90% ในปี 2565

แม้แต่ผู้ส่งออกสุทธิยังมองเห็นความไม่มั่นคงในตลาดข้าวของตน

ในฐานะผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสองของโลก โดยคิดเป็น 15% ของการส่งออก ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากราคาข้าวที่พุ่งสูงขึ้น การประกาศควบคุมอินเดียส่งผลให้ราคาข้าวไทยพุ่งขึ้น 20% ข้าวไทยขึ้นสูงสุดที่ 650 ดอลลาร์ต่อตันในเดือนสิงหาคม สูงกว่าปีก่อนหน้าเกือบ 50%

อย่างไรก็ตาม ไทยได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์เอลนีโญ ทำให้ปริมาณน้ำฝนลดลง 18% กระทรวงเกษตรและสหกรณ์คาดการณ์ว่าการผลิตข้าวจะลดลง 3-6% ในปี 2566-2567 ลดลงเหลือ 25.8 ล้านตัน  โดยปกติประเทศไทยจะส่งออกข้าวครึ่งหนึ่งของปริมาณที่ผลิตได้ แต่เนื่องจากราคาที่พุ่งสูงขึ้น การกักตุนในประเทศจึงมีเพิ่มขึ้น ในปีนี้ไทยคาดว่าจะส่งออกได้ไม่เกิน 9 ล้านตัน

ส่วนเวียดนาม ซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่อันดับสามของโลก ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 14 ของการส่งออกทั่วโลก คาดว่าจะเก็บเกี่ยวได้ 43 ล้านตันในปี 2566

ในปี 2565 เวียดนามส่งออกข้าว 7.1 ตัน สูงสุดในรอบสิบปี ในปีนี้เป้าหมายคือการส่งออก 7.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10 จากปี 2565 จนถึงขณะนี้ เวียดนามได้รับประโยชน์จากราคาที่สูงขึ้น โดยมูลค่าการส่งออกเพิ่มขึ้น 30-35% แต่ในขณะที่สิ่งต่างๆ กำลังดีในตอนนี้ ปริมาณฝนที่ลดลง และระดับน้ำทะเลที่สูงขึ้น ล้วนส่งผลกระทบต่อผลผลิตข้าวของสามเหลี่ยมปากแม่น้ำโขง ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 90 ของการส่งออกของเวียดนาม  

ปีนี้น่าจะเป็นปีที่ร้อนที่สุดในโลก และในขณะที่ไม่น่าจะเกิดปรากฏการณ์เอลนิโญแบบถาวร แต่โอกาสที่ภาวะโลกร้อนจะสูงกว่า 1.5°C ซึ่งเป็นเป้าหมายที่ตกลงกันในระดับสากลในการป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ  ในอีกห้าปีข้างหน้าก็ยิ่งเป็นไปได้มากขึ้น

ทั้งนี้ เกษตรกรรมคิดเป็นเปอร์เซ็นต์ของ GDP   13-14% ในเวียดนามและฟิลิปปินส์ และ 6-7% ในไทยและมาเลเซีย

รัฐบาลทั่วทั้งภูมิภาคจึงต้องกำหนดมาตรการหลายอย่างเพื่อรักษาเสถียรภาพราคาข้าว แต่เมื่อพิจารณาจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง จึงไม่ชัดเจนว่าจะสามารถจ่ายเงินอุดหนุนเหล่านี้ได้อย่างไม่มีกำหนดหรือไม่