posttoday

นักวิทย์สหรัฐฯ ประสบความสําเร็จในการทดลองพลังนิวเคลียร์ฟิวชันอีกครั้ง

07 สิงหาคม 2566

นักวิทยาศาสตร์ของรัฐบาลสหรัฐฯ ประสบความสําเร็จ ได้รับพลังงานสุทธิในการทดลองปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเป็นครั้งที่สองนับตั้งแต่เดือนธันวาคมปีที่แล้ว Financial Times รายงานเมื่อวันอาทิตย์

นักวิจัยจากห้องปฏิบัติการแห่งชาติ Lawrence Livermore ของรัฐบาลกลางในแคลิฟอร์เนียได้มีความก้าวหน้าอีกครั้งในการทดลองเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ซึ่งสามารถผลิตพลังงานออกมาสูงกว่าในเดือนธันวาคม หนังสือพิมพ์ Financial Times ระบุโดยอ้างถึงผู้ที่เกี่ยวข้อง

ห้องปฏิบัติการเดียวกันนี้ เคยประสบความสำเร็จในการเพิ่มพลังงานสุทธิในการทดลองฟิวชันโดยใช้เลเซอร์เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2022 นักวิทยาศาสตร์เล็งเลเซอร์ไปที่เป้าหมายของเชื้อเพลิงเพื่อหลอมรวมอะตอมของแสงสองอะตอมให้เป็นอะตอมที่มีความหนาแน่นมากขึ้น แล้วปลดปล่อยพลังงานออกมา

ห้องปฏิบัติการยืนยันกับ FT ว่าได้รับพลังงานเพิ่มขึ้นอีกครั้งที่โรงงานเลเซอร์ และเสริมว่าการวิเคราะห์ผลลัพธ์กำลังดำเนินการอยู่

ห้องทดลองแห่งชาติ Lawrence Livermore  และกระทรวงพลังงานสหรัฐยังไม่ยืนยันหรือมีแถลงการณ์กรณีการทดลองครั้งล่าสุดนี้แต่อย่างใด

สำหรับ ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันตรงข้ามกับนิวเคลียร์ฟิชชัน ซึ่งเป็นการแยกอะตอมหนักออกจากกัน โดยฟิชชันเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ตามสถานีพลังงานไฟฟ้าพลังนิวเคลียร์ในปัจจุบัน แต่กระบวนการฟิชชันก่อให้เกิดกากกัมมันตรังสี ซึ่งเป็นอันตรายและต้องกักเก็บอย่างระมัดระวัง

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน สร้างพลังงานได้มากกว่าฟิชชัน และไม่เกิดกากกัมมันตรังสี และไม่ทำให้เกิดก๊าซเรือนกระจก จึงไม่มีผลทำให้สภาพภูมิอากาศเปลี่ยนแปลง 

แต่ปัญหาคือการรักษาพลังงานที่เกิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชัน ซึ่งต้องใช้อุณหภูมิและแรงกดมหาศาล ดังนั้นจนถึงปัจจุบัน จึงยังไม่มีครั้งใดที่ผลิตพลังงานออกมาเพียงพอจะนำมาใช้งานได้ 

ก่อนหน้านี้ เตาปฏิกรณ์แบบโทคาแมค (Tokamak) หรือ “ดวงอาทิตย์ประดิษฐ์” รุ่นทดลองตัวแรกของไทย เปิดทำงานอย่างเป็นทางการภายใต้ความร่วมมือกับจีน เมื่อวันอังคาร (25 ก.ค.) ที่ผ่านมา

เตาปฏิกรณ์ฯ ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างสถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งชาติจีน (ASIPP) และสถาบันเทคโนโลยีนิวเคลียร์แห่งชาติของไทย ถูกขนส่งถึงไทยเมื่อเดือนมกราคม และเริ่มต้นทดลองเดินเครื่องเมื่อเดือนพฤษภาคม

โดยโครงการนี้เป็นการสร้างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชันเหมือนดวงอาทิตย์ โดยใช้ดิวเทอเรียม (deuterium) ซึ่งเป็นธาตุไฮโดรเจนชนิดหนักและมีอยู่มากมายในทะเลมาผลิตพลังงานสะอาดที่มีเสถียรภาพ โดยคาดว่าพลังงานที่ผลิตจากดิวเทอเรียมในน้ำทะเล 1 ลิตร ผ่านปฏิกิริยาฟิวชัน จะเทียบเท่ากับน้ำมันเบนซิน 300 ลิตร

โดยเมื่อเดือนพฤษภาคม 2021 คณะนักวิทยาศาสตร์จีนสร้างสถิติโลกครั้ง ในการปล่อยประจุพลาสมา ณ อุณหภูมิ 120 ล้านองศาเซลเซียส เป็นเวลา 101 วินาที ระหว่างการทดลองที่สถาบันฟิสิกส์พลาสมา สังกัดสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์จีน (ASIPP) ในนครเหอเป่ย ซึ่งถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในด้านการวิจัยพลังงานฟิวชัน