posttoday

นักเคลื่อนไหวฉลองวันคุ้มครองโลก ขณะนักวิทยาศาสตร์เตือนสภาพอากาศสุดขั้ว

22 เมษายน 2566

อาสาสมัครในหลายสิบประเทศจัดกิจกรรมปลูกต้นไม้ เก็บขยะ และเรียกร้องให้รัฐบาลดำเนินการมากขึ้นเพื่อต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อเฉลิมฉลองวันคุ้มครองโลก หลังนักวิทยาศาสตร์เตือนว่าปีนี้จะมีสภาพอากาศที่รุนแรงและอุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์

การเฉลิมฉลองวันสิ่งแวดล้อมประจำปีครั้งที่ 54 ซึ่งจัดขึ้นอย่างเป็นทางการในวันเสาร์ได้รวมกิจกรรมการอนุรักษ์และทำความสะอาดทั่วโลกเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์โดยมีกำหนดจะเริ่มขึ้นในกรุงโรมและบอสตันในวันศุกร์

 

ผู้คนหลายพันคนคาดว่าจะรวมตัวกันในลอนดอนในวันศุกร์เพื่อเริ่มกิจกรรมสี่วันที่เรียกว่า "บิ๊กวัน" ซึ่งจัดโดยกลุ่มนักเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านการสูญพันธุ์ การชุมนุมจะจัดขึ้นในวอชิงตันเพื่อเรียกร้องให้ประธานาธิบดีโจ ไบเดนให้คำมั่นที่จะยุติการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล

 

ในวันเสาร์ อาสาสมัครจะเริ่มการรณรงค์ทำความสะอาดครั้งใหญ่ที่ทะเลสาบดาลในศรีนิการ์ของอินเดีย และเคปคอรัลที่ถูกพายุเฮอริเคนถล่มในฟลอริดา

 

เมื่อวันพฤหัสบดี ไบเดนให้คำมั่นว่าจะเพิ่มเงินทุนของสหรัฐฯ เพื่อช่วยประเทศกำลังพัฒนาต่อสู้กับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและควบคุมการตัดไม้ทำลายป่าในป่าฝนอเมซอนของบราซิล ระหว่างการประชุมกับผู้นำจากประเทศเศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลกหรือกลุ่ม G7

 

เลขาธิการสหประชาชาติ อันโตนิโอ กูเตอร์เรส บอกกับประเทศต่างๆ ที่เข้าร่วมการประชุม Major Economies Forum ของไบเดนว่า "การดำเนินการด้านสภาพอากาศแบบก้าวกระโดด" จำเป็นต้องจำกัดอุณหภูมิไม่ให้สูงขึ้นมากกว่า 1.5 องศาเซลเซียส เขาเตือนในข้อความวันคุ้มครองโลกที่แถลงว่า "เราดูเหมือนอยู่ในนรกแห่งการทำลายล้าง"

นักเคลื่อนไหวฉลองวันคุ้มครองโลก ขณะนักวิทยาศาสตร์เตือนสภาพอากาศสุดขั้ว

วันคุ้มครองโลกในปีนี้เกิดขึ้นหลังจากหลายสัปดาห์ของสภาพอากาศเลวร้าย อุณหภูมิสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่45.4 องศาเซลเซียส (113.7 ฟาเรนไฮต์) ในประเทศไทย และคลื่นความร้อนที่ลงทัณฑ์อีกครั้งในอินเดีย ซึ่งมีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 13 คนจากโรคลมแดดในพิธีเมื่อสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา

 

นักวิทยาศาสตร์เตือนในสัปดาห์นี้ว่าคลื่นความร้อนระอุกำลังสร้าง "ภาระหนักอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน" ต่อการเกษตร เศรษฐกิจ และสาธารณสุขของอินเดีย ทั้งยังบั่นทอนความพยายามระยะยาวของหลายประเทศในการลดความยากจน ความไม่เท่าเทียม และความเจ็บป่วย

 

นักวิทยาศาสตร์ด้านสภาพอากาศกล่าวเมื่อวันพฤหัสบดีว่า อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกอาจพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ในปีนี้หรือในปี 2567 ซึ่งได้แรงหนุนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการกลับมาของปรากฏการณ์สภาพอากาศ "เอล นีโญ" ที่คาดการณ์ไว้