posttoday

ผู้นำอิสราเอลยอมถอย ชะลอกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

28 มีนาคม 2566

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ได้เลื่อนการตัดสินใจเกี่ยวกับแผนการยกเครื่องกระบวนการยุติธรรมที่มีการต่อต้านอย่างรุนแรงทั่วประเทศ ท่ามกลางความวิตกว่าวิกฤตระดับชาติที่เลวร้ายที่สุดของอิสราเอลในรอบหลายปีอาจบานปลายไปสู่ความรุนแรง

“จากเจตจำนงที่จะป้องกันความแตกแยกในประเทศ ผมได้ตัดสินใจเลื่อนการพิจารณาในวาระที่สองและสามออกไปก่อน เพื่อบรรลุฉันทามติในวงกว้าง” เนทันยาฮูกล่าวในคำปราศรัยทางโทรทัศน์ โดยเรียกความเคลื่อนไหวนี้ว่า “เป็นโอกาสที่จะหลีกเลี่ยงสงครามกลางเมือง” 

ผู้นำอิสราเอลยอมถอย ชะลอกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

แผนของรัฐบาลที่จะให้รัฐสภามีอำนาจเหนือคำตัดสินของศาลฎีกาและควบคุมการแต่งตั้งตุลาการ ก่อให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของอิสราเอล โดยฝ่ายต่อต้านมองว่าการเคลื่อนไหวดังกล่าวเป็นภัยคุกคามต่อประชาธิปไตย

ยังไม่ชัดเจนว่าการเลื่อนร่างกฎหมายไปยังสมัยประชุมรัฐสภาใหม่ในเดือนหน้าจะทำให้สามารถคลี่คลายวิกฤตได้หรือไม่ ในขณะที่นักการเมืองอิสราเอลบางส่วนยินดีกับการตัดสินใจครั้งนี้ แต่พันธมิตรของเนทันยาฮูบางคนมองว่าเป็นความผิดพลาด และผู้นำการประท้วงกล่าวว่าพวกเขาจะเดินขบวนต่อไปจนกว่ากฎหมายจะถูกยกเลิกทั้งหมด

ผู้นำอิสราเอลยอมถอย ชะลอกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

Shikma Bressler หนึ่งในแกนนำการประท้วงกล่าวว่าเนทันยาฮูพยายามทำให้การชุมนุมอ่อนแอลง “ตอนนี้ไม่ใช่เวลาที่จะลดความกดดัน แต่เราจะยกระดับต่อไป”

ผู้ประท้วงนับแสนคนรวมตัวชุมนุมปิดเส้นทางถนนสายหลักในเทลอาวีฟ และเมืองต่างๆประเทศอิสราเอล เพื่อคัดค้านความพยายามในการปฏิรูประบบยุติธรรมของนายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู ซึ่งยืดเยื้อมากว่า 3 เดือน และการชุมนุมได้ขยายตัวมากขึ้นเรื่อยๆ

ผู้นำอิสราเอลยอมถอย ชะลอกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

เป็นวิกฤตที่เกิดขึ้นท่ามกลางความเลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์การเมืองภายในประเทศของอิสราเอล

หลังนายกรัฐมนตรีฝ่ายขวาจัดพยายาม

ผลักดันร่างกฎหมาย ที่จะส่งผลให้อำนาจของศาลลดลง โดยเป็นการจำกัดอำนาจฝ่ายตุลาการ และเปิดทางให้รัฐบาลสามารถแก้ไขคำตัดสินของศาลได้

ผู้นำอิสราเอลยอมถอย ชะลอกฎหมายปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม

การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมในลักษณะดังกล่าว ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าจะเกิดการแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมและเอื้อประโยชน์ในทางการเมือง เนื่องจากผู้นำอิสราเอลกำลังเผชิญการดำเนินคดีเกี่ยวกับการทุจริตหลายข้อหา แม้เขาจะปฏิเสธว่าเป็นเกมการเมือง

การชุมนุมต่อต้านกฎหมายฉบับนี้ เริ่มขยายตัวมากขึ้นจากผู้ชุมนุมหลักพันคน กลายเป็นนับแสนคน หลังจากผู้นำอิสราเอลสั่งปลด "โยอาฟ กัลแลนท์" ออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีกลาโหม หลังจากเมื่อวันที่ 25 มี.ค.ที่ผ่านมา กัลแลนท์เปิดการแถลงข่าวแสดงท่าทีคัดค้านการผลักดันกฎหมายปฏิรูประบบยุติธรรมฉบับนี้ เนื่องจากเกรงว่าจะกระทบความมั่นคงของประเทศ

การปลดกัลแลนท์ ทำให้เกิดข้อกล่าวหาว่ารัฐบาลกำลังแลกผลประโยชน์ของชาติเพื่อตนเอง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่กองทัพกำลังเสริมกำลังในเขตเวสต์แบงก์หลังความรุนแรงเพิ่มขึ้น หลังมือปืนและพลเรือนชาวปาเลสไตน์มากกว่า 250 คน และชาวอิสราเอลมากกว่า 40 คนถูกสังหารในปีที่ผ่านมา