posttoday

UN เตือน 'การบริโภคมากเกินไป’ ส่งผลต่อทรัพยากรน้ำบนโลก

23 มีนาคม 2566

องค์การสหประชาชาติใช้วาระการประชุมครั้งแรกกล่าวถึงความมั่นคงด้านทรัพยากรน้ำในรอบเกือบครึ่งศตวรรษ เพื่อกระตุ้นให้รัฐบาลต่างๆ จัดการทรัพยากรที่ใช้ร่วมกันของมนุษยชาติให้ดียิ่งขึ้น

 

UN ระบุว่าประชากร 1 ใน 4 ของโลกไม่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มที่ปลอดภัยได้ ขณะที่อีกครึ่งหนึ่งขาดสุขอนามัยขั้นพื้นฐาน อีกทั้ง 3 ใน 4 ของภัยพิบัติครั้งล่าสุดยังมีความเกี่ยวข้องกับน้ำ

การรับรองการเข้าถึงน้ำดื่มสะอาดและสุขอนามัยถือเป็นส่วนหนึ่งของรายการสิ่งที่ต้องทำ 17 ประการที่องค์การสหประชาชาติกำหนดไว้สำหรับการพัฒนาอย่างยั่งยืน ควบคู่ไปกับการยุติความหิวโหยและความยากจน การบรรลุความเท่าเทียมทางเพศ และการดำเนินการเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

กำหนดการประชุมกินระยะเวลา 3 วัน โดยเริ่มขึ้นในวันพุธ ณ นครนิวยอร์กอย่างไรก็ตามการประชุมในครั้งนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างข้อตกลงที่มีผลผูกมัดอันเกิดจากการประชุมสภาพภูมิอากาศในปารีสในปี 2015 หรือพิธีสารมอนทรีออลในปี 2022

แต่การประชุมครั้งนี้ เป้าหมายคือเป็นวาระที่พูดถึงปัญหาเรื่องทรัพยากรน้ำและแนวทางปฏิบัติหลังจากนี้ โดยข้อตกลงจะเป็นไปโดยสมัครใจและสร้าง "แรงผลักดันทางการเมือง"

ทางด้าน สหรัฐอเมริกากล่าวว่าจะลงทุน 49,000 ล้านดอลลาร์ในด้านทรัพยากรน้ำและการสุขาภิบาลระดับที่อยู่อาศัยและระดับโลก

เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ Linda Thomas-Greenfield กล่าวว่า เงินจำนวนนี้จะช่วยสร้างงาน ป้องกันความขัดแย้ง ปกป้องสุขภาพของประชาชน ลดความเสี่ยงจากความอดอยากและความหิวโหย และช่วยให้เราสามารถตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและภัยพิบัติทางธรรมชาติได้ อย่างไรก็ตาม เธอไม่ได้ระบุลำดับเวลาสำหรับการลงทุนหรือรายละเอียดว่าสถานที่แต่ละแห่งต้องใช้เงินทุนมากน้อยเพียงใด

แผนปฏิบัติการหลายร้อยฉบับถูกส่งไปยัง UN ก่อนที่การประชุมจะเริ่มต้นขึ้น แต่กลุ่มวิจัยของสถาบันทรัพยากรโลก (the World Resources Institute) กล่าวว่า  คำมั่นสัญญาบางอย่างสามารถสร้างแรงบันดาลใจได้จริง แต่สิ่งที่เหนือกว่านั้นคือยังพลาดวัตถุประสงค์หลักไป รวมถึงยังขาดเงินทุนหรือเป้าหมายการปฏิบัติงาน

WRI แบ่งโครงการออกเป็น 2 โครงการ โดยโครงการหนึ่งจะต้องใช้จ่ายราว 21.2 ล้านดอลลาร์จนถึงปี  2029 ไปกับการเกษตรกรรมที่เท่าทันภูมิอากาศ เพื่อแก้ไขปัญหาโลกร้อนที่เกิดจากภาคเกษตรกรรมแบบเบ็ดเสร็จ รวมถึงฟื้นฟูพื้นที่ชุ่มน้ำบริเวณลุ่มแม่น้ำไนเจอร์ที่แปรสภาพกลายเป็นทะเลทราย ขณะที่อีกโครงการมาจากจากบริษัท 1,729 แห่งที่เล็งลงทุนด้านทรัพยากรน้ำซึ่งมีมูลค่ากว่า 436 พันล้านดอลลาร์