posttoday

กทม.ค่าฝุ่นPMเกินมาตรฐาน พบ27พื้นที่สีส้ม 18เขตสีแดง

31 ธันวาคม 2566

ตรวจสอบคุณภาพอากาศในกรุงเทพมหานคร พบค่าฝุ่นเกินมาตรฐาน สำนักงานสิ่งแวดล้อม กทม.ระบุ27พื้นที่สีส้ม GISTDA ชี้เป้า17พื้นที่สีแดง มีผลกระทบต่อสุขภาพ

สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร รายงานสภาพอากาศในเขตกรุงเทพมหานคร ตรวจวัด PM2.5 ค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 36.1 มคก./ลบ.ม.ยังคงเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 27 พื้นที่ ขณะที่ GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) ระบุว่า จากข้อมูลดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” 
พบว่าพื้นที่กทม.มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานทุกเขต โดยมี 17 เขต ระดับสีแดงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ 

ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานครขอสรุปผลการตรวจวัด PM2.5 วันที่ 30 ธ.ค. 2566 เวลา 05.00-07.00 น. 
(3 ชั่วโมงล่าสุด) 
- ตรวจวัดได้ 25.8-48.3 มคก./ลบ.ม. 
- ค่าเฉลี่ยของกรุงเทพมหานคร 36.1 มคก./ลบ.ม.
- ค่า PM2.5 มีแนวโน้มลดลง แต่ยังคงเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ จำนวน 27 พื้นที่  

 

ทั้งนี้ ณ เวลา 07.00 น. ตรวจวัดค่าฝุ่นละออง PM2.5 ได้ในช่วง 26.3 - 47.5 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร (มคก./ลบ.ม.) โดยมีแนวโน้มลดลง เมื่อเทียบกับเมื่อวานในช่วงเวลาเดียวกัน และพบว่าเกินมาตรฐานอยู่ในระดับสีส้ม เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ (มาตรฐานไม่เกิน 37.5 มคก./ลบ.ม.) จำนวน 25 พื้นที่ คือ 

1.เขตปทุมวัน หน้าห้างสามย่านมิตรทาวน์ : มีค่าเท่ากับ 47.5 มคก./ลบ.ม.
2.เขตบางกอกน้อย บริเวณหน้าสถานีตำรวจรถไฟบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 46.8 มคก./ลบ.ม.
3.เขตหนองแขม สามแยกข้างป้อมตำรวจ ถนนมาเจริญ เพชรเกษม 81 : มีค่าเท่ากับ 46.5 มคก./ลบ.ม.
4.เขตคลองสาน บริเวณหน้าห้องสมุดใต้สะพานสมเด็จพระเจ้าตากสิน : มีค่าเท่ากับ 45.8 มคก./ลบ.ม.
5.เขตธนบุรี ริมป้ายรถเมล์บริเวณแยกมไหศวรรย์ : มีค่าเท่ากับ 45.4 มคก./ลบ.ม.
6.เขตวังทองหลาง ด้านหน้าปั๊มน้ำมัน เอสโซ่ ซ.ลาดพร้าว 95 : มีค่าเท่ากับ 44.8 มคก./ลบ.ม.
7.เขตสัมพันธวงศ์ บริเวณหน้าหัวมุม ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติ (วงเวียนโอเดียน) : มีค่าเท่ากับ 44.6 มคก./ลบ.ม.
8.เขตบางพลัด ภายในสำนักงานเขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 43.8 มคก./ลบ.ม.
9.เขตบางบอน ใกล้ตลาดบางบอน : มีค่าเท่ากับ 43.6 มคก./ลบ.ม.
10.เขตภาษีเจริญ หน้ามหาวิทยาลัยสยาม(ประมาณซอยเพชรเกษม 36) ทางเข้ามหาวิทยาลัย : มีค่าเท่ากับ 43.4 มคก./ลบ.ม.
11.เขตบางเขน ภายในสำนักงานเขตบางเขน : มีค่าเท่ากับ 42.6 มคก./ลบ.ม.
12.เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ด้านหน้าสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ : มีค่าเท่ากับ 42.5 มคก./ลบ.ม.
13.เขตสาทร สี่แยกหน้าสำนักงานเขตสาทร ซอย ถนนเซนต์หลุยส์ : มีค่าเท่ากับ 41.3 มคก./ลบ.ม.
14.เขตทวีวัฒนา ทางเข้าสนามหลวง 2 : มีค่าเท่ากับ 40.9 มคก./ลบ.ม.
15.เขตบางรัก ข้างป้อมตำรวจหน้าลานบางรักเลิฟลี่ พลาซ่า : มีค่าเท่ากับ 40.3 มคก./ลบ.ม.
16.เขตคลองสามวา ภายในสำนักงานเขตคลองสามวา : มีค่าเท่ากับ 40.1 มคก./ลบ.ม.
17.เขตดินแดง ริมถนนวิภาวดีรังสิต : มีค่าเท่ากับ 40.1 มคก./ลบ.ม.
18.สวนหลวงพระราม 8 เขตบางพลัด : มีค่าเท่ากับ 39.5 มคก./ลบ.ม.
19.สวนธนบุรีรมย์ เขตทุ่งครุ : มีค่าเท่ากับ 39.1 มคก./ลบ.ม.
20.เขตยานนาวา ใกล้ธนาคารกรุงศรีอยุธยา สำนักงานใหญ่ : มีค่าเท่ากับ 38.6 มคก./ลบ.ม.
21.เขตบางกอกใหญ่ บริเวณสี่แยกท่าพระ แขวงวัดท่าพระ : มีค่าเท่ากับ 38.4 มคก./ลบ.ม.
22.เขตราษฎร์บูรณะ ภายในสำนักงานเขตราษฎร์บูรณะ : มีค่าเท่ากับ 38.2 มคก./ลบ.ม.
23.เขตบางซื่อ ภายในสำนักงานเขตบางซื่อ : มีค่าเท่ากับ 37.7 มคก./ลบ.ม.
24.เขตลาดกระบัง ด้านหน้าโรงพยาบาลลาดกระบังข้างป้อมตำรวจ : มีค่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม.
25.สวนเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา เขตบางกอกน้อย : มีค่าเท่ากับ 37.6 มคก./ลบ.ม.
 
คุณภาพอากาศระดับสีส้ม: เริ่มมีผลกระทบต่อสุขภาพ

ประชาชนทั่วไป : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
จำกัดระยะเวลาในการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก
ควรสังเกตอาการผิดปกติ เช่น ไอ หายใจลำบาก ระคายเคืองตา

ประชาชนกลุ่มเสี่ยง : ใช้อุปกรณ์ป้องกันตนเอง เช่น หน้ากากป้องกัน PM2.5 ทุกครั้งที่ออกนอกอาคาร
เลี่ยงการทำกิจกรรมหรือการออกกำลังกายกลางแจ้งที่ใช้แรงมาก ให้ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ หากมีอาการผิดปกติให้รีบไปพบแพทย์
    
1. ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง(คาดการณ์แนวโน้มสภาพอากาศที่ส่งผลกระทบต่อฝุ่นPM2.5 โดยสภาพทางอุตุนิยมวิทยา)
         
ในช่วงวันที่ 31 ธ.ค. - 6 ม.ค. 66 การระบายอากาศ ไม่ดีถึงอ่อน ประกอบกับเกิด สภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้การระบายฝุ่นละอองเป็นไปได้อย่างจำกัด และเกิดการสะสม และคาดการณ์วันนี้ มีหมอกบางในตอนเช้าและมีเมฆบางส่วน
     
2. จากการตรวจสอบข้อมูลจุดความร้อน (hotspot) ผ่านดาวเทียม จากหน่วยงาน NASA วันนี้ไม่พบจุดความร้อนที่ดาวเทียมตรวจพบค่าความร้อนสูงผิดปกติจากค่าความร้อนบนผิวโลกบริเวณพื้นที่กรุงเทพมหานคร
     
3. แจ้งเตือนรวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนตรวจสอบข้อมูลคุณภาพอากาศก่อนออกจากบ้าน ผ่านทาง
     
- แอปพลิเคชัน AirBKK
     
- www.airbkk.com
     
- www.pr-bangkok.com
     
- FB: สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร
     
- FB: กองจัดการคุณภาพอากาศและเสียง สำนักสิ่งแวดล้อม
     
- FB: กรุงเทพมหานคร
    
 - LINE ALERT
     
- LINE OA @airbangkok
    
ทั้งนี้ กรณีประชาชนพบเห็นแหล่งกำเนิดมลพิษสามารถแจ้งเบาะแส ผ่านทาง Traffy Fondue

รายงานข้อมูลโดย: ทีมโฆษกศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร

แหล่งข้อมูล: ศูนย์ข้อมูลคุณภาพอากาศกรุงเทพมหานคร กรมอุตุนิยมวิทยา และสํานักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ

ที่มา สำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร

ขณะที่กระทรวง อว. โดย GISTDA ร่วมกับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ, กรมควบคุมมลพิษ, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เกาะติดสถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ด้วยข้อมูลจากดาวเทียมผ่านแอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” (เวลา 08.00 น. ของวันที่ 31 ธันวาคม 2566) พบ กทม. มีค่าฝุ่นเกินมาตรฐานทุกเขต โดยมี 17 เขต ระดับสีแดงที่มีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน อาทิ ดอนเมือง หลักสี่ บางกอกใหญ่ ธนบุรี คลองสาน บางกอกน้อย สัมพันธวงศ์ พระนคร ภาษีเจริญ สายไหม เป็นต้น ส่วนอีก 33 เขตอยู่ในระดับสีส้มที่เริ่มจะมีผลต่อสุขภาพ

ในขณะที่ภาพรวมประเทศ พบค่าฝุ่น PM2.5 เกินมาตรฐานในระดับสีแดง 3 จังหวัด คือ อ่างทอง นนทบุรี และสมุทรสาคร

แอปพลิเคชั่น “เช็คฝุ่น” ยังคาดการณ์ปริมาณฝุ่น PM2.5 ในอีก 3 ชั่วโมงข้างหน้า พบว่าหลายพื้นที่ยังมีค่าคุณภาพอากาศระดับที่เริ่มจะมีผลต่อสุขภาพไปจนถึงมีผลกระทบต่อสุขภาพประชาชน (สีส้ม-สีแดง) ทั้งนี้ ข้อมูลบนแอปพลิเคชัน “เช็คฝุ่น” มีการใช้เทคโนโลยีดาวเทียมร่วมกับ AI (Artificial intelligence) ในการวิเคราะห์ค่าฝุ่น PM 2.5 แบบรายชั่วโมงในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ร่วมกับการใช้ข้อมูลการตรวจวัด PM 2.5 จากกรมควบคุมมลพิษ, ข้อมูลสภาพอากาศ จากกรมอุตุนิยมวิทยา รวมถึงข้อมูลของแหล่งกำเนิดฝุ่น เช่น จุดความร้อน และข้อมูลที่เกี่ยวข้องอีกจำนวนมาก มานำเสนอให้ในรูปแบบข้อมูลตัวเลขและค่าสีในระดับต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าใจสถานการณ์ได้ง่ายยิ่งขึ้น

ประชาชนควรสวมหน้ากากตลอดเวลาเมื่ออยู่ในที่โล่งแจ้ง เพื่อป้องกันผลกระทบที่อาจตามมาโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ทั้งนี้ ท่านสามารถติดตามข้อมูล PM2.5 แบบรายชั่วโมงเพิ่มเติมผ่านแอปพลิเคชัน "เช็คฝุ่น"

ที่มา GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)