posttoday

ธปท.เปิดเว็บไซต์ 'หมอหนี้เพื่อประชาชน' ช่วยลูกหนี้อแก้ปัญหาถูกจุด

02 กันยายน 2564

ธปท.เปิดเว็บไซต์ 'หมอหนี้เพื่อประชาชน' ช่วยลูกหนี้อแก้ปัญหาถูกจุด เน้นกลุ่มรายย่อย-เอสเอ็มอี ส่งหมอหนี้เข้าประกบ

นางธัญญนิตย์ นิยมการ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 2 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท. ) เปิดเผยว่า ธปท. กระทรวงการคลัง บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสมาคมธนาคารไทย ได้ร่วมกันจัดตั้ง "โครงการหมอหนี้เพื่อประชาชน" อย่างเป็นทางการ เพื่อเป็นช่องทางให้คำแนะนำ ความรู้ และข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการแก้ไขปัญหาหนี้อย่างครบวงจร ตั้งแต่วันที่ 30 ส.ค.2564 เป็นต้นไป

โดยโครงการหมอหนี้ฯ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความรู้ ความเข้าใจ และข้อแนะนำเกี่ยวกับการแก้ไขหนี้อย่างครบวงจรทั้งในส่วนของลูกหนี้รายย่อย และ ลูกหนี้ธุรกิจเอสเอ็มอี โดยลูกหนี้จะได้รู้วิธีการแก้ไขปัญหาหนี้ การเตรียมตัวก่อนพบพบเจ้าหนี้ ได้รับคำแนะนำ และมาตรการช่วยเหลือต่าง ๆ จากภาครัฐ ที่ดำเนินการในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งได้สำรวจธุรกิจตัวเอง เพื่อปรับแผนธุรกิจได้ดีขึ้น

ทั้งนี้ ลูกหนี้ที่จะร่วมโครงการแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มลูกหนี้รายย่อย สามารถเรียนรู้อก้ไขปัญหาหนี้ด้วยตนเอง ผ่านเว็บไซต์ เพื่อหาข้อมูลแก้ไขปัญหาหนี้ ประเมินสุขภาพทางการเงิน โดยจะมีเจ้าหน้าที่ช่วยตอบคำถามต่าง ๆ ผ่านทางเว็บไซต์ และ กลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอีที่ต้องการความช่วยเหลือเชิงลึก ให้ลงทะเบียนผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะขอข้อมูลรายละเอียดธุรกิจ การเงิน และภาระหนี้ เมื่อลงทะเบียนสำเร็จก็จะได้รับการิดต่อให้ไปพบหมอหนี้ภายใน 5-7 วัน

"ลูกหนี้ที่เป็นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีสามารถติดต่อขอคำแนะนำเชิงลึกเพิ่มเติมจากทีมหมอหนี้ที่เป็นผู้เชี่ยวชาญจากศูนย์ที่ปรึกษาทางการเงิน SMEs บสย. (บสย. FA Center) สมาคมสถาบันการเงินของรัฐ และสมาคมธนาคารไทย โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย"

นางธัญญนิตย์ กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด-19 กระทบกับภาคธุรกิจ การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ยั่งยืนต้องกลับมาสู่การปรับโครงสร้างหนี้ ดูแลในส่วนของรายได้ ซึ่งคาดว่าการจ้างงานและรายได้ จะยังไม่กลับมาในปี 2565 โครงการหมอหนี้ฯ จะช่วยปิดช่องว่าง ความไม่เข้าใจปัญหาหนี้สิน และมาตรการของรัฐ ธปท. ในช่วงที่ผ่านมาได้

ที่ผ่านมาตั้งแต่ต้นปีได้นำร่องการ จนถึงเดือนก.ค. มีลูกหนี้เอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการกว่า 940 ราย ส่วนใหญ่อยู่ในกลุ่มธุรกิจ การค้า อาหาร การบริการ ขนส่ง โรงแรม และการผลิต โดยส่วนใหญ่ เข้าใจปัญหาหนี้และมาตรการช่วยเหลือ และคาดว่าเมื่อเปิดโครงการอย่างเป็นทางการ จะมีผู้สนใจ ในกลุ่มทีาเข้ามาหาข้อมูลผ่านเว็บไซต์ มากกกว่าหลักหมื่นคนต่อเดือน ส่วนกลุ่มธุรกิจที่จะเข้าหารือกับหมอหนี้ ครดว่าจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า จากช่วงนำร่องที่มียอด 200 รายต่อเดือน