posttoday

การกระจุกตัวของสินเชื่อ.. บทเรียนที่ เจ็บ แต่ไม่เคยจำ

16 ตุลาคม 2558

โดย ธีระ ภู่ตระกูล CFP® นายก สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

โดย ธีระ ภู่ตระกูล CFP®  นายก สมาคมนักวางแผนการเงินไทย

ในทุกวันนี้ คนไทยที่ร่ำรวยชอบช้อปปิ้งต่างประเทศ และจุดหมายปลายทางที่เป็นที่นิยมมากที่สุด คือ อังกฤษ เราลองมาตั้งสมมุติฐานว่า หากคุณมีเงิน 5 หมื่นล้านบาท (หรือประมาณ 1 พันล้านปอนด์) ที่คุณสามารถใช้กับอะไรก็ได้ตามความต้องการของคุณ คุณจะเลือกซื้ออะไร เพื่อเป็นการประกาศให้คนอื่นทราบ คุณอาจจะซื้อสนามกีฬา Wembley ซึ่งสนามกีฬาใหม่จะมีราคาเพียง 750 ล้านปอนด์เท่านั้น หรือคุณอาจจะซื้อตัว Wayne Rooney ได้ถึง 30 คน ที่ผ่านมา เชื่อกันว่า แมนยู (Manchester United) จ่ายเงินมูลค่า 30 ล้านปอนด์ให้กับ Wayne Rooney อีกทางเลือก คือ คุณสามารถซื้อบ้านที่แพงที่สุดในอังกฤษ ตั้งอยู่ที่ Rutland Gate ตรงข้ามกับ Hyde Park ซึ่งบ้านหลังนี้ เคยเป็นของราชวงศ์ซาอุมาก่อน โดยมีราคาอยู่ที่ 280 ล้านปอนด์ และคุณยังมีเงินเหลือเพื่อนำไปฝากธนาคารอีกเล็กน้อย แต่สำหรับคนที่สามารถรับความเสี่ยงได้มากกว่านี้ และมีความกล้าหาญพอ คุณก็อาจจะเลือกซื้อโรงถลุงเหล็กในเมือง Newcastle ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทไทยแห่งหนึ่ง ที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ได้ทำลงไป โดยใช้เงินจำนวน 5 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นเงินกู้เกือบจะทั้งหมด

ผมไม่ทราบเลยว่า เจ้าของบริษัทดังกล่าว เสพหรือสูบอะไรอยู่ตอนนั้นหรือไม่ เพราะผมมั่นใจว่า พวกเขาต้องมีเหตุผลที่ตัดสินใจแบบดังกล่าว เหมือนคำพูดที่ว่า คนรวยมักจะแตกต่างจากคุณกับผม แต่จากการที่ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ตกลงอย่างรวดเร็วและรุนแรง ประกอบกับการที่เศรษฐกิจของจีนชะลอตัวอย่างมาก ในช่วงต้นปีที่ผ่านมา ทำให้มีการถอนการลงทุนจากภาคเหมืองแร่ และทำให้เกิดความกลัวในกลุ่มของนักลงทุนถึงความสามารถที่บริษัทเหล่านี้จะสามารถ จ่ายคืนหนี้ได้ และก็เป็นจริงอย่างที่พูด เมื่อฝนเริ่มตกมักจะตกหนัก ผลคือ ธนาคารสัญชาติไทยสามแห่งกำลังประสบปัญหาร้ายแรงจากการที่ยื่นเครดิตให้กับบริษัทที่ถึงกล่าวข้างต้น

สิ่งที่หลายคนไม่แปลกใจไม่ใช่ว่า ธนาคารเหล่านี้ประสบปัญหาแต่ไม่เข้าใจกับการตัดสินใจที่จะกระจุกตัวของความเสี่ยงเครดิต มูลค่า 5 หมื่นล้านบาท ให้ผู้ขอกู้เพียงรายเดียว มูลค่าการกันสำรองหนี้สูญโดยธนาคารแห่งประเทศไทยกับธนาคารทั้งสามแห่งเกือบเท่า กับทุนจดทะเบียนชำระแล้วทั้งหมด ธนาคารเล็กๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว เพียง 8 พันล้านบาท แต่ธนาคารอีกสองแห่ง ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่ามาก แต่เงินกันสำรองหนี้สูญเกือบเท่ากับร้อยละ 70 ของ ทุนจดทะเบียนชำระแล้ว
ประสบการณ์ที่ผ่านมา บ่งชี้ว่า การกระจุกตัวของความเสี่ยงเครดิต เป็นเหตุหลักในการทำให้ธนาคารหลายแห่งล้มไป ธนาคารส่วนมากมีนโยบายเพื่อค้นพบหรือระบุ และจำกัดการกระจุกตัวของความเสี่ยงดังกล่าวโดยใช้ อัตราส่วนการกระจุกตัว (Concentration Ratio) ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงสัดส่วนของบัญชีปล่อยกู้กับมูลค่าเงินปล่อยกู้ธนาคาร กล่าวคือ หากธนาคารแห่งหนึ่งปล่อยกู้ 10 ราย โดยบัญชีเงินกู้แต่ละรายมีมูลค่า 10 ล้านบาท อัตราส่วนการกระจุกตัวจะอยู่ที่ 0.10 แต่หากบัญชีเงินกู้ 9 บัญชี มีมูลค่าบัญชีละ 1 ล้านบาท และบัญชีสุดท้าย มีมูลค่า 50 ล้านบาท ความเสี่ยงการกระจุกตัวจะสูงขึ้นมาก นอกจากนี้ การปล่อยกู้ให้กับภาคส่วนเศรษฐกิจหนึ่งมากเป็นพิเศษ จะทำให้อัตราส่วนสูงขึ้น กว่าการปล่อยกู้โดยกระจายให้กับภาคส่วนเศรษฐกิจหลายอย่าง เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในกรณีเศรษฐกิจตกต่ำ หรือหนี้เสียในอุตสาหกรรมใดอุตสาหกรรมหนึ่ง

เรื่องอัตราการกระจุกตัว(Concentration Ratio) น่าจะเป็นเครื่องไม้เครื่องมือ ของการบริหารความเสี่ยงของธนาคารส่วนใหญ่ แต่เป็นสิ่งที่น่าเสียใจที่ธนาคารบางแห่งไม่ได้นำบทเรียนของความผิดพลาดในอดีตมา ศึกษา ความกดดันที่จะต้องมีงานหรือธุรกิจใหม่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้นมักจะนำไปสู่การปล่อยกู้แ บบไม่รอบคอบ และผลสุดท้าย จะทำให้เกิดความหายนะ ซึ่งตรงนี้ เป็นจุดที่มาตรฐานเครดิตที่ถูกต้อง และวัฒนธรรมของเครดิตที่ดี จะมีบทบาทมากที่สุด วัฒนธรรมเครดิตหมายความว่า ความรู้สึกหรือมุมมองของธนาคารกับทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการบริหารความเสี่ยงของเครดิต มาตรฐานเครดิตจะเปลี่ยนวัฒนธรรมให้เป็นการกระทำ

ปกติ ผมชอบเล่าเรื่องตลกเกี่ยวกับนายธนาคาร แต่บรรณาธิการของผมขอให้ผมระงับการกระทำเช่นนั้น เนื่องจากนายธนาคารไม่คิดว่าเป็นเรื่องตลก และคนปกติทั่วไป ก็ไม่คิดว่าเป็นเรื่องตลกเช่นกัน เพราะฉะนั้น ที่ผมสามารถพูดได้คือ นายธนาคารจะไม่มีวันตาย พวกเขาเพียงแต่ไม่จ่ายดอกเบี้ย

ผู้อ่านสามารถส่งคำถามเกี่ยวกับการเงินส่วนบุคคลให้ผมได้ที่ [email protected]