posttoday

ไฟเขียวเปิดเสรีก๊าซฯเฟส2 จับกฟผ.ร่วมทุนปตท.คลังแอลเอ็นจี

01 เมษายน 2564

บอร์ดกพช. อนุมัติแผนส่งเสริมกิจการก๊าซฯ เฟส 2 เปิดทางผู้นำเข้ารายใหม่ จัดระเบียบโครงสร้างพื้นฐานรองรับนำเข้าก๊าซฯดึงกฟผ.ร่วมทุนปตท.คลังแอลเอ็นจีหนองแฟบ

นายกุลิศ สมบัติศิริ  ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะกรรมการ นโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่มี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ว่า ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 แบ่งออก 2 กลุ่ม คือ 1. กลุ่มที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) หรือRegulated Market  ประกอบด้วย ผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติจาก Old Supply และ Shipper ที่จัดหาก๊าซธรรมชาติเหว(แอลเอ็นจี) หรือ LNG เพื่อนำมาใช้กับภาคไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบ  ซึ่งมอบหมายให้ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) บริหารจัดการ Old Supply ที่มาจากแหล่งในประเทศ (รวมพื้นที่พัฒนาร่วม ไทย-มาเลเซีย : JDA) แหล่งจากเมียนมา และ แอลเอ็นจี ที่นำเข้าสัญญาเดิม 5.2 ล้านตัน/ปี 

รวมทั้งกำหนดให้ก๊าซในอ่าวไทยต้องนำมาใช้ในโรงแยกก๊าซก่อน และให้ ปตท. เปิดประมูล LNG Spot Flexible ราคาถูกกว่า Pool Gas ภายใต้กำกับ ของ กกพ. ทั้งด้านปริมาณและเงื่อนไข

สำหรับ Shipper รายใหม่ จัดหาแอลเอ็นจีให้กับโรงไฟฟ้าที่ขายเข้าระบบ โดยจัดหาแอลเอ็นจีที่เป็น New Supply นอกเหนือจาก Old Supply ภายใต้การกำกับของ กกพ. ตามเงื่อนไขที่ กบง./กพช.กำหน สัญญาระยะยาว และ ให้กบง. พิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการดำเนินการสัญญา Spot ให้ไม่เกินราคาตลาด JKM adjust by freight cost หรือส่วนต่างค่าขนส่งจากประเทศผู้ค้าต้นทาง ส่งมอบที่ประเทศญี่ปุ่นกับที่ประเทศไทย  และให้ NCC สั่งเดินเครื่องโรงไฟฟ้าตาม heat rate และส่งผ่านราคาเชื้อเพลิงเข้าค่าไฟฟ้าทั้งหมด

2.กลุ่มที่แอลเอ็นจี เพื่อใช้กับโรงไฟฟ้าที่ไม่ได้ขายไฟฟ้าเข้าระบบ ภาคอุตสาหกรรมและกิจการของตนเอง (Partially Regulated Market)    ซึ่ง Shipper รายใหม่ สามารถจัดหาแอลเอ็นจี ให้กับโรงไฟฟ้าตนเองหรือใช้ในภาคอุตสาหกรรม โดยจัดหา

ไฟเขียวเปิดเสรีก๊าซฯเฟส2 จับกฟผ.ร่วมทุนปตท.คลังแอลเอ็นจี

แอลเอ็นจีที่เป็น New Supply นอกเหนือจาก Old Supply

นอกจากนี้การส่งเสริมการแข่งขันในกิจการก๊าซธรรมชาติ ระยะที่ 2 กำหนดให้ LNG Terminal และท่อส่งก๊าซฯ เปิดให้บุคคลที่ 3 เข้ามาใช้และเชื่อมต่อได้ และกำหนดให้ ปตท. แยกธุรกิจท่อเป็น TSO เป็นนิติบุคคล ให้แล้วเสร็จภายใน 15 เดือน เมื่อได้ข้อยุติเรื่องการแบ่งแยกทรัพย์สินของปตท. แล้ว รวมถึงให้ ปตท. ทำหน้าที่ในการควบคุมคุณภาพก๊าซธรรมชาติและแยกก๊าซธรรมชาติ และมอบหมายให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (ชธ.) และ ปตท. กำหนดปริมาณการนำเข้าแอลเอ็นจี และให้ กกพ. บริหารความสามารถของ LNG Terminal และทบทวนความเหมาะสมของ TPA Regime และ TPA Code

นายกุลิศ  กล่าวว่า ที่ประชุมเห็นชอบการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานก๊าซฯตามแผนพีดีดี 2018 เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าในเขตนครหลวง ที่จะเป็นโรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้นจาก 2600 เมกะวัตต์ เพิ่มเป็น 5,420 เมกะวัตต์ โดยให้กฟผ.ปรับรูปแบบการลงทุนจากโครงการ FSRU ในพื้นที่อ่าวไทยตอนบน (F-1) เป็นร่วมลงทุนกับ ปตท. สัดส่วน 50 : 50 ในโครงการ LNG Receiving Terminal (แห่งที่ 2) ต.หนองแฟบ จ. ระยอง ขนาด 7.5 ล้านตันต่อปี

ขณะเดียวกันเห็นชอบให้ ปตท.เป็นผู้ดำเนินการโครงการระบบท่อส่งก๊าซฯบนบกจากบางปะกงไปโรงไฟฟ้าพระนครใต้เพื่อรองรับโรงไฟฟ้าตามแผนพีดีพี2018 และยกเลิกสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯบนระบบท่อส่งราชบุรี-วังน้อย และโครงการสถานีเพิ่มความดันก๊าซฯกลางทาง บนระบบท่อส่ง บนบกเส้นที่ 5   

3. รับทราบการส่งออกเที่ยวเรือ LNG (Reloading) สำหรับสัญญาระยะยาวของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) โดยมอบหมายให้ กกพ. ดำเนินการนำรายได้จากการส่งออก LNG (Reloading) ส่งภาครัฐประมาณ 580 ล้านบาทไปลดราคาค่าก๊าซธรรมชาติ และเห็นชอบหลักเกณฑ์การส่งออกเที่ยวเรือสำหรับสัญญาระยะยาวของ ปตท. ซึ่งมี หลักเกณฑ์ด้านปริมาณ ให้ ปตท. สามารถดำเนินการส่งออก LNG ได้ โดยต้องไม่กระทบต่อความต้องการใช้ก๊าซฯ ของประเทศ