posttoday

เอกชนหนุนรัฐขับเคลื่อนอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพ ดันฮับภูมิภาค

26 มีนาคม 2564

ไทยพร้อมผู้นำเชื้อเพลิงชีวภาพ-เคมีชีวภาพ เร่งต่อยอดสร้างมูลค่าเพิ่มให้สินค้าเกษตร ตั้งรับเทรนด์ลดใช้น้ำมันในอนาคต

นางอรวดี โพธิสาโร รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยในงานสัมมนาออนไลน์ ผู้ประกอบการแสดงสินค้า...อุตสาหกรรม เชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ในหัวข้อเสวนา เรื่อง “พลังงานแห่งอนาคต พลังแห่งเศรษฐกิจยั่งยืน ประเทศไทย” ว่าไทยมีความพร้อมในการผลักดันอุตสาหกรรมเชื้อ เพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพให้มีการเติบโต เนื่องจากมีศักยภาพตลอดซัพพลายเชน เริ่มตั้งแต่ วัตถุดิบ มีพื้นที่เพาะปลูกพืชพลังงาน อ้อยและมันสำปะหลัง มีโรงงาน ผลิตเอทานอล และบี100 ที่เป็นอุตสาหกรรมกลางน้ำ และมีตลาดเชื้อเพลิงชีวภาพ ซึ่งปัจจุบันเป็นผู้ผลิตเอทานอลอันดับ 3 ของโลก ขณะเดียวกันยังมีความพร้อมด้าน โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการสนับสนุนด้านนโยบายจากภาครัฐเพื่อกระตุ้นความต้องการใช้ให้มีการขยายตัวเพิ่มขึ้น

ทั้งนี้สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญคือ แม้ไทยมีความพร้อมทุกๆด้าน แต่จะต้องมีการบริหารจัดการในเรื่องปริมาณความต้องการใช้เชื้อเพลิงชีวภาพทั้งเอทานอลและไบโอดีเซล (บี100)ให้มากขึ้นกว่านี้ โดยเฉพาะมาตรการส่งเสริมการใช้ต้องดำเนินการควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากกำลังการผลิตยังเกินความต้องการอยู่มาก ขณะที่ไม่สามารถส่ง ออกในส่วนที่เกินออกไปได้ อย่างกรณีของเอทานอล

อย่างไรก็ตามขีดความสามารถของประเทศไทย ในด้านอุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพหากเทียบในประเทศเพื่อนบ้านแล้วมีความใกล้เคียงกันในเรื่องพื้นที่ เพาะปลูก แต่เสียเปรียบในเรื่องผลผลิตต่อไร่ เพราะไทยปลูกโดยเกษตรกรรายย่อยกระจัดกระจายแต่ละพื้นที่ และห่างไกลจากโรงกลั่นน้ำมันทำให้มีปัญหาในเรื่องการ ขนส่ง ขณะที่ประเทศอื่นมีพื้นที่เพาะปลูกขนาดใหญ่มากกว่า

ทั้งนี้หากมองทิศทางของเชื้อเพลิงชีวภาพในภาคขนส่งจะเติบโตได้ในระยะสั้นจากการสนับสนุนของภาครัฐ แต่ในระยะยาวเมื่อแนวโน้มของรถยนต์ไฟฟ้า(EV )หรือ อีวี เข้ามามีบทบาทจะส่งผลให้ความต้องการใช้น้ำมันและเชื้อเพลิงชีวภาพลดลงได้ มีการคาดการณ์ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าปริมาณความต้องการใช้น้ำมันจะถึงจุดสูงสุด ซึ่งจะทำให้การใช้เชื้อเพลิงชีวภาพลดลงตามไปด้วย หลังจากนั้นการใช้น้ำมันจะเริ่มลดลง หรือหายไปเกือบครึ่ง เว้นแต่ราคาน้ำมันจะมีราคาที่ต่ำมาก ดังนั้นจะต้องเตรี ยมความพร้อมกับเทรนด์ของอีวีที่จะเข้ามาด้วย

"ขณะนี้การผลิตบี100 และเอทานอลมากกว่าความต้องการอยู่แล้ว หากจะส่งออกก็ต้องคำนึงการแข่งขันในตลาดด้วย ดังนั้นทุกฝ่ายจะต้องมาบูรณาการร่วมกันว่าจะ บริหารจัดการกันอย่างไร โดยเฉพาะการต่อยอดเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของเชื้อเพลิงชีวภาพและผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ มีโอกาสไปได้ไกล มากว่า 10 เท่า ซึ่งรัฐต้องเข้ามา ร่วมสนับสนุนต่อเนื่อง และเห็นด้วยกับการผลักดันนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน"

นายกิตติพงศ์ ลิ่มสุวรรณโรจน์ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปฏิบัติหน้าที่ที่บริษัท บีบีจีไอ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ภาพรวมปริมาณการใช้น้ำมันของโลกจะถึงจุดสูงสุดในปี 2029-2030 หลังจากนั้นจะเริ่มทยอยลดลง ดังนั้นบริษัทด้านพลังงานทุกแห่งจะต้องมีการบริหารจัดการให้ดี แต่ถ้ามองในประเทศไทยแล้ว การใช้บี100 และเอทานอลยังมีโอกาสเติบโตได้ เมื่อพิจารณาจากการใช้บี100 มีอัตราการเติบโตเฉลี่ยปีละ 4% ส่วนเอทานอลปีละ 8% สิ่งสำคัญต้องขึ้นอยู่กับนโยบายของภาครัฐว่าต้องการส่งเสริมการใช้อย่างไร เมื่อกำลังการผลิตยังสูงกว่าความต้องการใช้

ทั้งนี้การที่รัฐประกาศนโยบายเศรษฐกิจหมุนเวียน ถือว่ามาถูกทางแล้ว ซึ่งบางจากได้ปรับตัวกับเรื่องนี้มานานแล้ว โดยมีเป้าหมายเพิ่มสัดส่วนของธุรกิจสีเขียวกับฟอสซิล ในอัตรา 50 ต่อ 50 ในอนาคต ซึ่งธุรกิจเชื้อเพลิงชีวภาพ จะต้องสร้างมูลค่าเพิ่มของนำสินค้ามาสร้างเทคโนโลยีใหม่ๆ

ปัจจุบันไทยมีผู้ผลิตเอทานอลและบี100 ในอันดับต้นๆ ของโลก โดยไทยส่งออกมันฯอันดับ1 และส่งออกอ้อยอันดับ2 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเรามีวัตถุดิบที่เหลือเพื่อการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพ ดังนั้นจึงมีโอกาสที่จะสร้างมูลค่าหรือต่อยอดสินค้า และผลักดันให้ไทยเป็นฮับด้านเชื้อเพลิงชีวภาพได้ เพียงแต่รัฐกับเอกชนต้องมีประสานงานเชื่อมโยงกัน ช่วยทำให้สินค้านี้มีศักยภาพมากขึ้น "ที่ผ่านมากลุ่มบางจากทำเรื่องเชื้อเพลิงชีวภาพมาโดยตลอด ขณะที่ภาครัฐก็ให้การสนับสนุน ผมเชื่อว่าถ้าเอสอ็มอีเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยสร้างมูลค่าเพิ่ม ก็เป็นทางเลือกทีดี เราสามารถเป็นเบอร์1ด้านนี้ได้แน่นอน "

นายสรรชาย นุ่มบุญนำ รองกรรมการผู้จัดการ อินฟอร์มา มาร์เก็ตส์ (ประเทศไทย) กล่าวว่า มองเห็นโอกาสในการจัดงานแสดงสินค้าด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ เพราะ อุตสาหกรรมนี้เติบโตต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากรัฐบาลมีนโยบายสนับสนุนพลังงานทดแทน ทำให้เป็นที่น่าสนใจของผู้ประกอบการดังนั้นพยายามนำเสนอนโยบาย ภาครัฐด้านพลังงานทดแทนเพื่อจูงใจให้ผู้ประกอบการทั่วโลกด้านชีวภาพเข้ามาจัดงานแสดงสินค้าที่ไทย เพื่อสร้างเน็ตเวิร์ตสร้างโอกาสเพิ่มขีดความสามารถในการแข่ง ขัน

ทั้งนี้ที่ผ่านมารายได้ของบริษัทมาจากต่างประเทศ ในทุกอุตสาหกรรมที่มีการจัดงาน แต่เมื่อเกิดการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทำให้ต้องปรับตัวและนำดิจิตอลเทคโนโลยี แพลตฟอร์มเข้ามาใช้ในงานแสดงสินค้า ข้อดีคือทำให้เราได้เจอฐานข้อมูลใหม่ ผุู้ซื้อใหม่ๆ โดยหลังจากนี้ไปการจัดงานแสดงสินค้าจะเป็นรูปแบบเสมือนจริง (Virtual Conference) และแบบผสมผสาน (Hybrid Conference) ขณะเดียวกันจะต้องพัฒนาทักษะของการนำเทคโนโลยีมาใช้ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการตลาดกับลูกค้าให้ มากขึ้น อย่างไรก็ตามมั่นใจว่าไทยสามารถเป็นฮับในการด้านเชื้อเพลิงชีวภาพไทย ได้ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมในเรื่องนี้ต่อเนื่อง