posttoday

กระทรวงพลังงาน หนุนพลังงานชีวภาพ-เคมีชีวภาพ ดันภาคเกษตรโตคู่เศรษฐกิจไทยยั่งยืน

27 มีนาคม 2564

กระทรวงพลังงาน เดินหน้าเศรษฐกิจประเทศไทยโตยั่งยื่นผ่านอุตฯพลังงานเชื้อเพลิงชีวภาพ-เคมีชีวภาพ ต้องโตยั่งยืนคู่ภาคการเกษตร รับความต้องการพลังงานชีวภาพโลกในอีก10ปีหน้าแตะ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน

นายสมภพ พัฒนอริยางกูล ผู้ช่วยปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าว บรรยายหัวข้อ “BIOFUELS AND BIOCHEMICALS พลังงานขับเคลื่อน เศรษฐกิจใหม่ไทย” ในงานสัมมนาออนไลน์ 5NEW SCURVE Season2, 5 อุตสาหกรรมอนาคต EP.5 : อุตสาหกรรมเชื้่อเพลิงชีวภาพและเคมี ชีวภาพ หัวข้อ "หลังงานแห่งอนาคต พลังแห่งเศรษฐกิจยั่งยืน ประเทศ ไทย" จัดโดย กลุ่มบางกอกโพสต์ หอการค้าไทย และ สำนักงานส่งเสริม (TCEB)

ทั้งนี้ อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ ถือเป็นสอง อุตสาหกรรมที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ด้วยต่อยอดไปยังภาคการเกษตร และยังมีส่วนร่วมสนับสนุนทั้งด้านพลังงานสะอาดและความมั่นคงทาง พลังงานของประเทศ ไปพร้อมกัน

โดยในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่านมา หลังจากประเทศไทยเริ่มนำพลังงานเชื้อ เพลิงชีวภาพมาใช้ ส่งผลให้ลดการนำเข้าและการใช้พลังงานปิโตรเลียม ทำให้ต้นทุนในภาพรวมของห่วงโซ่อุปทานลดลงตามมา เป็นปัจจัยหลัก ที่ทำให้กระทรวงพลังงาน มุ่งนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมดังกล่าว อย่างต่อเนื่อง

ขณะที่ ทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมฯ ดังกล่าว ยังสอดคล้องกับแนว โน้มโลก จากความต้องการลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในแต่ ละประเทศ และลดการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) เพื่อไปยังเป้าหมายการปล่อยของเสียให้เป็นศูนย์ (Waste Zero)

จากแนวโน้มดังกล่าว กระทรวงพลังงานเห็นความสำคัญ พร้อมหารือ ร่วมกับกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อหาแนวทาง การกำกับดูแลในภาพรวม อาทิ การปล่อยก๊าซเรือนกระจก การบรรเทา การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ เพื่อไปสู่เวทีระดับสากล โดย สหราชอาณาจักร และ ฮังการี เตรียมจัดขึ้นช่วงปลายปีนี้

โดยข้อสรุปเบื้องต้น ที่ต้องเร่งดำเนินการ ภายใต้ยุทธศาสตร์การปรับ สัดส่วนการใช้พลังงาน ทั้งด้านไฟฟ้า และ การขนส่ง โดยให้มีการวาง แผนใช้พลังงานทดแทนมากขึ้น โดยมีพลังงานชีวภาพเป็นเชื้อเพลิงเพื่อ เป็นเครื่องมือสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สอดคล้อง กับการใช้วัสดุอุปกรณ์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

"การใช้งานไฟฟ้า จะต้องมีการพัฒนาเทคโนโลยีที่มีราคาต่ำลง ไปจน ถึงการการบริหารจัดการ จัดเก็บปริมาณพลังงานไฟฟ้า หรือ มีการนำ บิ๊กดาตา เข้ามาวิเคราะห์ประกอบการตัดสินใจด้านต่างๆ เพื่อสร้างการ เปลี่ยนแปลงพลังงานทุกด้าน โดยมุ่งที่ความสะอาดมากขึ้น ซึ่งทั้งหมด จะต่อยอดมาจากภาคการเกษตรของประเทศ" นายสมภพ กล่าว

ขณะที่ สำนักงานนโยบายและแผน ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) ได้ประเมินถึงการใช้พลังงานนานาประเทศ พบว่ามีการใช้ พลังงานลดลง ส่วนหนึ่งจากการเข้ามาทดแทนของพลังงานเชื้อเพลอง ชีวภาพ และคาดการณ์ว่า ในอีก10 ปีข้างหน้า หรือในปี 2030 จะมีการ ใช้พลังงานชีวภาพเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 1.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน สะท้อนถึงใน อนาคตเป็นอย่างดีว่า โลกจะหันมาพัฒนาพลังงานสะอาดมากขึ้น

ทั้งนี้สอดคล้องกับแผงานเทคโนโลยีชีวภาพของกระทรวงพลังงาน ในอีก 10ปีข้างหน้าเช่นกัน โดยวางเป้าหมายให้ใการใช้พลังงานไบโอดีเซล อยู่ที่ 8 ล้านลิตรต่อวัน และ พลังงานเอทานอล 2.5ล้านลิตรต่อวัน ควบคู่ ไปกับการใช้พลังงานปิโตรเลียม เพื่อทำให้ต้นทุนลดลงตามมา และลด การนำเข้า ในที่สุด

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานยังเข้ามากำกับดูแลนโยบายด้าน ผลิตภัณฑ์เคมีชีวภาพ ในระยะยาว เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งถือเป็น Backbone หลักที่ต่อยอดไปยังอุตสาหกรรมอื่นๆที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะจุดเด่น คือการต่อยอดภาคการผลิตในอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศ ได้อย่างชัดเจน และยังเป็นหนึ่งอุตสาหกรรมหลักเป้าหมาย ในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (อีอีซี) ที่ขณะนี้รัฐบาลได้รับเรื่องไปดูแลเพื่อพัฒนาต่อไปยังพื้นที่ดังกล่าว