posttoday

เส้นทางวัยรุ่นเงินล้าน อาชีพมาแรงยุคนิวนอมัล “นักวางแผนการเงิน”

12 มีนาคม 2564

“ถ้าใครมี passion ในเรื่องเงิน ผมแนะนำให้ทำอาชีพนี้” ดร.รพีสร เฟื่องเกษม ภาควิชาการเงิน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ให้คำตอบต่อคำถามที่ว่า คนแบบไหนที่เหมาะสมจะเป็นนักวางแผนการเงิน?

“ผมเองก็มี passion กับเงิน สมัยที่เรียนปริญญาโทและได้ลองวางแผนการลงทุนในตลาดเงินที่ออสเตรเลียแล้วมันสำเร็จ ผมก็มุ่งอาชีพมาในสายงานการเงินการลงทุนทันที” เสียงจากตัวจริงในแวดวงการเงินไทย ดร.รพีสร อดีตวาณิชธนากรฝีมือฉกาจจากสถาบันการเงินชั้นนำของไทย ปัจจุบันผันตัวมารับบทบาทในสายงานวิชาการเต็มตัวในฐานะอาจารย์ประจำหลักสูตรวิชาการวางแผนการเงินและการลงทุน คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ

ดร.รพีสร กล่าวว่า “นักวางแผนการเงิน” น่าจะถูกจัดให้เป็นอาชีพมาแรงในยุคนิวนอมัล ยิ่งในภาวะที่ทุกคนกำลังเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจและการเงินอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ยิ่งต้องการคนให้คำปรึกษาและคำแนะนำว่าควรจะทำอย่างไรกับเงินรายได้และเงินเก็บออมที่มีอยู่ หรือหากแม้จะผ่านพ้นวิกฤตนี้ไปได้ ผู้คนก็ยังคงแสวงหาหนทางสร้างเงินให้เพิ่มพูนขึ้น ปัจจุบันมีสินทรัพย์ที่เป็นเครื่องมือทางการเงินมากมายหลากหลายรูปแบบ คนที่มีความรู้เรื่องการเงิน รู้วิธีการวางแผนการเงินจึงจะสามารถสร้างความมั่งคั่งได้ไม่ว่าโลกการเงินจะเปลี่ยนแปลงไปในแบบไหนก็ตามอาชีพนักวางแผนการเงินจึงตอบโจทย์ได้ตรงที่สุด

ทิศทางตลาดการเงินไทยในตอนนี้มีความต้องการสูงมากสำหรับอาชีพนักวางแผนการเงิน และผู้ที่สามารถประกอบอาชีพนี้ได้จะต้องมีใบอนุญาตวิชาชีพ CFP(Certified Financial Planning) ปัจจุบันมีคนที่มีใบอนุญาตวิชาชีพ CFP อยู่เพียง 349 คนเท่านั้นเมื่อตลาดธุรกิจมีความต้องการ สถาบันการศึกษาควรต้องพัฒนาบัณฑิตให้ตอบโจทย์ 

เส้นทางวัยรุ่นเงินล้าน อาชีพมาแรงยุคนิวนอมัล “นักวางแผนการเงิน”

มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เป็นที่แรกและแห่งเดียวที่คณะบริหารธุรกิจ ซึ่งมีความเข้มแข็งในหลักสูตรวิชาการเงิน (Finance)ได้พัฒนาหลักสูตรวิชาใหม่เพิ่มเติมคือ หลักสูตรการวางแผนการเงินและการลงทุน (Financial and Investment Planning) สามารถผลิตบัณฑิตรองรับความต้องการของตลาดโดยตรง เพราะเป็นหลักสูตรเดียวในประเทศไทยที่ได้รับการรับรองจากสมาคมนักวางแผนการเงินไทย โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพได้นำเนื้อหา 6 โมดูลของ CFP มาพัฒนาร่วมในหลักสูตร จึงเป็นมหาวิทยาลัยเดียวที่ได้รับยกเว้นการอบรม 6 โมดูล เพราะถูกบรรจุอยู่ในรายวิชาที่นักศึกษาเรียนอยู่แล้ว เรียนจบสามารถสอบใบอนุญาตวิชาชีพ CFP ได้ทันทีโดยไม่ต้องอบรมเพิ่มช่วยให้ผู้เรียนประหยัดทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการอบรมไปได้อย่างมาก (การได้มาซึ่ง CFP คนทั่วไปต้องจ่ายค่าอบรม 10,000 บาท / 1 โมดูล  (ทั้งหมด 6 โมดูล) และต้องผ่านการอบรมโมดูลละ 24 ชั่วโมงจึงจะมีสิทธิ์สอบ)

เส้นทางวัยรุ่นเงินล้าน อาชีพมาแรงยุคนิวนอมัล “นักวางแผนการเงิน”

แล้วเรียนมัธยมปลายสายไหนเป็นการเฉพาะเจาะจงหรือไม่จึงจะมุ่งสู่อาชีพนักวางแผนการเงินได้? ดร.รพีสร บอกว่า เรียนสายไหนไม่สำคัญเท่าการมี passion มีความหลงใหลในเรื่องเงินและความมั่งคั่ง เพราะหลักสูตรนี้จะบ่มเพาะทักษะสำคัญของผู้ที่จะทำอาชีพนี้ให้ทั้งหมด วิธีเรียนสไตล์มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คือจัดเต็มองค์ความรู้อย่างแน่นทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ นักศึกษาต้องเรียนรู้หัวใจสำคัญในการวางแผนการเงินให้ตัวเองประสบความสำเร็จก่อน ต้องเรียนรู้การวิเคราะห์ตลาดการเงินการลงทุน การเข้าใจอย่างลึกซึ้งในการใช้เครื่องมือทางการเงินทุกรูปแบบ  เท่าทันการเปลี่ยนแปลงพลวัตโลกการเงินและเศรษฐกิจ และที่ถือเป็นทักษะเด่นที่สุดของนักวางแผนการเงินคือ ทักษะด้านการสื่อสาร จากนั้นจึงเริ่มลงมือสร้างเงินให้งอกเงยเพิ่มความมั่งคั่งให้ตัวเอง นักศึกษาจะได้ใช้เครื่องมือทุกชนิดมาใช้ในการวางแผน ได้ลงสนามการเงินการลงทุนจริง ได้ลงทุนตามแผนจริง และได้ฝึกการทำงานจริงกับสถาบันการเงินชั้นนำที่ล้วนเป็นพันธมิตรด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยกรุงเทพ  ทั้งหมดนี้อยู่ภายใต้การโค้ชของคณาจารย์ประจำหลักสูตรและอาจารย์พิเศษที่ล้วนมีประสบการณ์สูงและประสบความสำเร็จด้านการวางแผนการเงินมาแล้วทุกคน  

เส้นทางวัยรุ่นเงินล้าน อาชีพมาแรงยุคนิวนอมัล “นักวางแผนการเงิน”

“นักวางแผนการเงินต้องเล่าเรื่องเก่ง รู้วิธีการสื่อสารที่เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายสามารถให้คำแนะนำและวางแผนการเงินได้เช่น การวางแผนประกัน/แผนเกษียณ การวางแผนภาษี/แผนมรดก และการลงทุนทางการเงิน สามารถบริหารเงินลงทุนให้ประโยชน์สูงสุดตามเป้าหมายของบุคคล เช่น หุ้น กองทุนรวม พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้นกู้ ตราสารอนุพันธ์ เป็นต้น และสามารถจัดสรรเงินทุนให้ได้ผลตอบแทนสูงในความเสี่ยงที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคลได้” ดร.รพีสร กล่าว ส่วนใครที่อยากเรียนรู้เรื่องเงิน แบบครอบคลุมมากกว่าการวางแผนการเงินและการลงทุน ก็มาเรียนในสาขาการเงินได้

ค้นหาเส้นทางที่ชอบตอบสนอง passion ในตัวเองกับคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ มีหลักสูตรการบริหารธุรกิจที่ทันสมัยให้เลือกเรียนถึง 8 สาขาวิชา ได้แก่ สาขาการเงิน สาขาการวางแผนการเงินและการลงทุน สาขาการตลาด สาขาการตลาดดิจิทัล สาขาการจัดการ สาขาการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทาน สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ สาขาการจัดการธุรกิจระหว่างประเทศ (มุ่งเน้นธุรกิจจีน) ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติมหลักสูตรปริญญาตรีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ ได้ที่นี่ https://www.bu.ac.th/th/business 

เส้นทางวัยรุ่นเงินล้าน อาชีพมาแรงยุคนิวนอมัล “นักวางแผนการเงิน”

เส้นทางวัยรุ่นเงินล้าน อาชีพมาแรงยุคนิวนอมัล “นักวางแผนการเงิน”