posttoday

ฟิลิปปินส์เอาจริง เตรียมตัดสิทธิภาษีศุลกากรสินค้าไทย 37 รายการ

24 มกราคม 2564

ฟิลิปปินส์เอาจริง เคืองไทยเรื่องภาษีบุหรี่ เตรียมตัดสิทธิภาษีศุลกากรสินค้าไทย 37 รายการ

คณะกรรมการพิกัดอัตราภาษีศุลกากรของฟิลิปปินส์ (Tariff Commission: TC) กำหนดให้มีทำประชาพิจารณ์กลุ่มสินค้าทั้งสิ้น 37 รายการภาษี ได้แก่ ข้าว ข้าวโพด รถยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เคมีภัณฑ์และปูนซีเมนต์ที่นำเข้าจากประเทศไทย ซึ่งอาจจะต้องถูกระงับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร เพื่อตอบโต้การที่ไทยปฏิเสธการสำแดงราคาบุหรี่นำเข้าจากฟิลิปปินส์

ในหนังสือแจ้งกำหนดการประชาพิจารณ์ คณะกรรมการภาษีศุลกากรของฟิลิปปินส์ระบุว่าจะจัดทำประชาพิจารณ์ผ่านการประชุมทางวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ในวันที่ 27 มกราคม เวลา 10.00 น. เพื่อเสนอรายชื่อผลิตภัณฑ์ที่จะถูกระงับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการที่ประเทศไทยปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำตัดสินขององค์การการค้าโลก (WTO) ในการแก้ไขปัญหาการจัดเก็บภาษีบุหรี่ที่นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ (DS371 มาตรการศุลกากรและภาษีของประเทศไทยที่มีต่อบุหรี่จากฟิลิปปินส์)

ตามหนังสือแจ้งดังกล่าว ผลิตภัณฑ์ที่จัดอยู่ในการประชาพิจารณ์เป็นไปตามระบบพิกัดศุลกากร AHTN 2017 ซึ่งจะครอบคลุมถึงผลิตภัณฑ์ประเภท 8701.92.10, 87.03, 87.04, 8708.99.21, 8708.99.99 และ 8714.10 โดยรวมถึงสินค้า ประเภทรถแทรกเตอร์การเกษตร รถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบมาเพื่อการขนส่งบุคคลโดยเฉพาะ (นอกเหนือจากสินค้าที่ขึ้นต้นด้วย 87.02) ยานยนต์สำหรับขนส่งสินค้า ถังเชื้อเพลิงและชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมอื่น ๆ ของยานยนต์ ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมของรถจักรยานยนต์ (รวมถึงรถจักรยานยนต์ชนิดเบา)

ประเทศไทยเป็นแหล่งนำเข้ารถยนต์อันดับหนึ่งของฟิลิปปินส์ ตั้งแต่ปี 2557-2561 ฟิลิปปินส์นำเข้ารถจากไทย 428,000 คัน ภายใต้รหัส HS 8703 และ 8704 หรือประเภทภาษีสำหรับรถยนต์ที่ใช้ในการขนส่งบุคคลและสินค้า ซึ่งประเทศในอาเซียนได้รับอนุญาตให้นำเข้ารถยนต์ที่ผลิตในภูมิภาคได้โดยปลอดภาษี

สินค้าเกษตรบางชนิดเช่นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ (ข้าวโพด); ข้าวขัดสีกึ่งสำเร็จหรือข้าวขัดสีสำเร็จ น้ำมันถั่วเหลืองและชิ้นส่วน เครื่องปรุงและเครื่องปรุงรส และครีมเทียมที่ไม่ใช่นมยังถูกระบุด้วยว่าอาจเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องสูญเสียสิทธิประโยชน์ทางศุลกากร สินค้าเหล่านี้อยู่ภายใต้พิกัดภาษี 1005.90.90; 1006.30.99, 1507.90.90, 2103.90.29, และ 2106.90.30 ซึ่งการนำเข้าข้าวจากไทยของฟิลิปปินส์มีมูลค่าสูงสุดเป็นอันดับที่สามของการนำเข้าทั้งหมดจากประเทศไทย

นอกจากนี้ยังรวมพิกัดภาษี 6809.19.90, 7207.11.100, 7408.11.10, 8415.82, 8418.10.19, 8433.51.00, 8473.30.90, 8479.90, 8482.10.00, 8482.80.00, 8501.10, 8542.39.00, 8542.90.00; และ 8544.49.21 ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุม ได้แก่ แผ่นบอร์ด แผ่นชีท แผง กระเบื้องและสิ่งของที่คล้ายกันของผลิตภัณฑ์ฉาบ หรือวัสดุที่มีส่วนประกอบของวัสดุฉาบ ไม่ได้ตกแต่ง ผลิตภัณฑ์กึ่งสำเร็จรูปของเหล็กหรือเหล็กกล้าที่ไม่ใช่โลหะผสม ลวดทองแดงบริสุทธิ์ เครื่องปรับอากาศที่มียูนิตทำความเย็น ช่องแช่แข็งพร้อมตู้เย็น เครื่องเกี่ยวและนวดข้าว ชิ้นส่วนและอุปกรณ์เสริมที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานเดี่ยวหรือใช้เฉพาะกับเครื่องจักรของสินค้าที่ขึ้นต้นด้วย 8471 ชิ้นส่วนของเครื่องจักร และอุปกรณ์เชิงกลที่มีหน้าที่เฉพาะตัว ชิ้นส่วนเครื่องจักรและอุปกรณ์เครื่องจักรกลลูกปืนหรือลูกกลิ้ง มอเตอร์ไฟฟ้า วงจรผสานรวมอิเล็กทรอนิกส์ และลวดหุ้มฉนวนสำหรับใช้ในการผลิตชุดสายไฟรถยนต์

นอกจากนี้ในรายการสินค้าที่อาจเสียสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรยังรวมถึงปูนซีเมนต์ขาว น้ำมันหล่อลื่น ผงชูรส เครื่องยา ครีมและโลชั่นบำรุงผิวหน้าหรือผิว สิ่งของสำหรับใช้กับเส้นผม ฟันปลอม โพลีเอทิลีน เพลต ชีท ฟิล์ม ฟอยล์และแถบพลาสติกของอนุพันธ์ทางเคมีของยางธรรมชาติ ระบบให้อาหารเสริมสำหรับทารก สินค้าพลาสติก ยางนิวเมติกใหม่จากยาง ปลอกยางและที่หุ้มแบบยางสำหรับชุดสายไฟรถยนต์ สินค้าเหล่านี้อยู่ภายใต้พิกัดภาษี 2523.21.00, 2710.19.43, 2922.42.20, 3004.90.99, 3304.99.30, 3305.10.90, 3306.10.90, 3901.20.00, 3921.90.30, 3924.90.30, 4011.10.00, 4011.20.10 และ 4016.99.54

ทั้งนี้ ในหนังสือแจ้งกำหนดการ ยังได้ระบุให้ผู้ที่สนใจส่งเอกสารแสดงจุดยืนมาที่เว็บไซต์ของคณะกรรมการได้

ในเดือนกุมภาพันธ์ปีที่แล้ว ฟิลิปปินส์ได้ขอส่งคำร้องไปยังองค์การการค้าโลก (WTO) เพื่อขออำนาจในการตอบโต้ต่อประเทศไทยเพื่อเป็นการบังคับให้รัฐบาลไทยแก้ไขการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมด้านภาษีบุหรี่ที่นำเข้าจากประเทศฟิลิปปินส์ให้เป็นไปตามคำตัดสินครั้งแรกขององค์การการค้าโลกในปี 2554 ที่ให้ฟิลิปปินส์เป็นฝ่ายชนะ และยังชนะการอุทธรณ์ของไทยในเวลาต่อมาอีกด้วย โดยฟิลิปปินส์ขออนุญาตองค์การการค้าโลกเพื่อระงับสิทธิประโยชน์ทางศุลกากรแก่ประเทศไทยซึ่งครอบคลุมการค้ามูลค่า 594 ล้านดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเทคนิคบางประการเกี่ยวกับองค์ประกอบขององค์กรอุทธรณ์ขององค์การการค้าโลก ซึ่งส่งผลให้มีการระงับการประชุมของคณะกรรมการระงับข้อพิพาท

“เราจะรอให้ WTO มอบอำนาจนั้นให้กับเรา” นายรามอน เอ็ม. โลเปซ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมฟิลิปปินส์ (DTI) กล่าวก่อนหน้านี้ ส่วนจะรอนานแค่ไหนนั้นเป็นเรื่องที่โลเปซตอบไม่ได้ ฟิลิปปินส์ต้องใช้เวลานานกว่าทศวรรษในการที่จะเริ่มดำเนินการตอบโต้จากกรณีที่ไทยปฏิเสธที่จะปฏิบัติตามคำตัดสินภาษีบุหรี่ขององค์การการค้าโลก ในคดี WTO DS 371

ข้อพิพาทเรื่องภาษีบุหรี่เริ่มต้นในปี 2551 คดีนี้ยืดเยื้อมาเป็นเวลา 12 ปีเนื่องมาจากกลยุทธ์ในการชะลอคดีของประเทศไทย ซึ่งส่งผลกระทบต่อการส่งออกบุหรี่ของฟิลิปปินส์และอุตสาหกรรมยาสูบในท้องถิ่น