posttoday

"ทรู" หนุนสร้าง อีโค ซิสเต็ม รับอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทย ในอนาคต

17 ธันวาคม 2563

ทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมเดินสู่อุตสาหกรรมหุ่นยนต์ สร้างระบบนิเวศน์ ด้านเทคโนโลยี-ทักษะเยาวชน รับอนาคตเศรษฐกิจใหม่ ประเทศไทย

นายธวัชชัย ฤกษ์สำราญ รองผู้อำนวยการธุรกิจโมบายล์ และคณะกรรมการยุทธศาสตร์ 5G บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ทรู กล่าวในงานเสวนา หัวข้อ “หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม” กลไกขับเคลื่อนอนาคตใหม่เศรษฐกิจไทย ในงานสัมมนาออนไลน์ “5 New S-Curve Season 2” EP.3 หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics) จัดโดย กลุ่มบางกอกโพสต์ หอการค้าไทย และ สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) TCEB เพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับผู้ประกอบการในการนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์มาใช้ในภาคหุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม

ทั้งนี้ ทรูฯ ในฐานะผู้ให้บริการสื่อโทรคมนาคม เห็นว่าการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานโทรมคมนาคม โดยเฉพาะการให้บริการเทคโนโลยี 5จี จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยหลักต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ ของไทย ที่จะเอื้อต่อการสร้างอีโค ซิสเต็ม ระบบนิเวศน์การทำงานในภาพรวม โดยเฉพาะในด้าน คลาวด์ ปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) บิ๊ก ดาต้า ในอุตสาหกรรมหุ่นยนต์

ขณะที่ "ทรู ดิจิทัล" กรุ๊ป เป็นผู้ดำเนินการเรื่องดังกล่าว ด้านการพัฒนาโซลูชัน เพื่อตอบโจทย์โจทย์งานด้านหุ่นยนต์ ที่มองว่า ตลาดหุ่นยนต์ในอนาคตจะเป็นเรื่อง End Point หรืออุปกรณ์ปลายทางเช่นเดียวกับ โทรศัพท์เคลื่อนที่

"นอกจากในภาคอุตสาหรกรมแล้ว หุ่นยนต์ยังสามารถนำมาใช้งานในภาคบริการต่างๆ เช่น เกษตร และจะเริ่มเห็นมากขึ้นในหลายๆภาคส่วน จากการนำหุ่รยนต์ทำหน้าที่เก็บข้อมูล รวมถึงธุรกิจภาคบริการ ที่ เข้าสู่ สมาร์ท ลีฟวิ่ง สมาร์ทโฮม สมาร์ท รูม หรือการที่ประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมสูงวัย ก็อาจจะได้เห็นหุ่นยนต์ เข้าไปอยู่ใกล้ตัวมากขึ้น" นายธวัชชัย กล่าว

ขณะเดียวกัน ทรูฯ ได้ต่อยอดการพัฒนาด้าน อีโค ซิสเต็ม งานหุ่นยนต์ ตลอดช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา แม้ว่าปัจุบันไทยจะเริ่มมีความพร้อมด้านเทคโนโลยีแล้วก็ตาม แต่ในอนาคตเห็นว่ายังขาดแคลนบุคลากร โดยบริษัท ได้ร่วมทำงานกับพันธมิตรด้านต่างๆ เช่น ไชน่า โมบายล์ หรือ งานระบบหุ่นยนต์ในต่างประเทศ เพื่อพัฒนาให้งานหุ่รยนต์ในแต่ละภาคอุตสาหกรรมมีความฉลาด และ โลคัลไลซ์ โดยเฉพาะ

นอกจากนี้ ในช่วงกลางปี 2563 หน่วยงาน หุ่นยนต์ (โรบอติกส์) ของทรู ยังได้ทำงานร่วมกับ 20 มหาวิทยาลัย เพื่อวิจัยความต้องการหุ่นยนต์แต่ละประเภท เพื่อนำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ มาใช้่งานด้านค้าปลีก(รีเทล) พร้อมฝึกอบรมการเขียนโปรแกรมการพัฒนาหุ่นยนต์ ในกับกลุ่มนักศึกษา ได้มีทักษะด้านดังกล่าว ด้วย พร้อมขยายต่อไปยังในกลุ่มระดับมัธยมศึกษา และระดับอาชีวะ เพื่อพัฒนาบุคลากรประเทศ ต่อไป

นายธวัชชัย กล่าวว่าทิศทางการพัฒนาหุ่นยนต์ของไทย สามารถต่อยอดไปสู่ภาคการให้บริการได้ ขณะที่อุปสรรคหลัก เห็นว่ายังเป็นเรื่องการรวบรวมองค์ความรู้เพื่อนำมาบริหารจัดการได้อย่างเป็นระบบ พร้อมสร้างให้เกิดการเรียนรู้ (Machine Learning) อย่างต่อเนื่อง จากความสามารถของคนไทยด้านไอที ที่ประเทศไทย มีอนาคตในภาคอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ไทย ที่สามารถเดินหน้าไปได้ก่อน