posttoday

ไทยพร้อมสู่ Medical Hub พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส

10 ธันวาคม 2563

สอท.ชี้ต้องรักษาซัพพลายเชนเครื่องมือแพทย์รองรับโรคใหม่ๆ ด้าน’เมดพาร์ค’ แนะรัฐปลดล็อคกฏระเบียบ ลดต้นทุนรพ.เอกชน หนุนไทยคว้าศูนย์กลางเครื่องมือแพทย์แข่งสิงคโปร์

นายนริศชา ต่อสุทธิ์กนก รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมผู้ผลิตเครื่องมือแพทย์และสุขภาพ  สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.)  กล่าวในงานสัมมนาออนไลน์ ผู้ประกอบการแสดงสินค้า...อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical) ในหัวข้อ Thailand Medical Hub” ศูนย์กลางใหม่เศรษฐกิจประเทศไทย ซึ่งจัดโดยกลุ่มจัดโดย กลุ่มบางกอกโพสต์ หอการค้าไทย และ สำนักงาน สำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (สสปน.) TCEB ว่า  

ไทยพร้อมสู่ Medical Hub พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส

ในช่วงการเปลี่ยนผ่านเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น ส่งผลธุรกิจบริการทางการแพทย์ ต้องหันมาปรับตัวพัฒนาและวิจัยมากขึ้น ซึ่งรวมไปถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในโรงพยาบาล  โดยเฉพาะระบบดิจิทัลมีส่วนช่วยส่งเสริมด้านสาธารณสุข ทำให้ได้รับบริการที่ดีขี้น

ทั้งนี้สถานการณ์โควิดที่เกิดขึ้นทำให้อุตสาหกรรมทางการแพทย์ได้รับความสนใจ เนื่องจากมีความต้องการอุปกรณ์ทางการแพทย์อย่างต่อเนื่อง  หลายบริษัทต้องเร่งผลิตสินค้า และพยายามที่จะสร้างซัพพลายเชนขึ้นมาเอง เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหากมีการล็อคดาวน์จะไม่สามารถนำเข้าวัตถุดิบบางตัวได้

ขณะเดียวกันยังได้เห็นนวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์ ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันของภาคเอกชน สิ่งสำคัญเครื่องมือแพทย์ของคนไทยได้รับการยอมรับหมอมากขึ้น 

อย่างไรก็ตามไทยสามารถไปพัฒนาให้เป็น Medical Hub หรือศูนย์กลางทางการแพทย์ในภูมิภาคได้  หากมีการพัฒนาองค์ความรู้  จนได้รับการยอมรับจากต่างประเทศ เพราะจะทำให้ต้นทุนสาธารณสุขของคนไทยถูกลง   ซึ่งเรื่องนี้รัฐบาลต้องสนับสนุนให้มากขึ้น โดยเฉพาะเรื่องของทางการตลาด

“โควิดเข้ามาทำให้อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทยได้รับความสนใจ จากที่ไม่เคยมีมาก่อน  ทำให้เรามองเห็นศักยภาพของภาคอุตสาหกรรมไทย อย่างชุดพีพีอี เกิดจากอุตสาหกรรมสิ่งทอ  อนาคตต้องพยายามจะสร้าง และรักษา local  supply chainเอาไว้   เพราะไม่รู้ว่าจะเกิดเชื้อโรคใหม่ขึ้นมาอีกหรือเปล่า เราจะป้องกันตัวเองได้อย่างไร  สิ่งที่บอกภาครัฐไปจะทำอย่างไรให้ทุกคนยังอยู่ต่อไป “

ไทยพร้อมสู่ Medical Hub พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส

ด้านน.พ.พงษ์พัฒน์ ปธานวนิช  รองประธานบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีพีพี เฮลท์แคร์  อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โรงพยาบาล เมดพาร์ค  กล่าวว่า ปัจจุบันเทคโนโลยีทางการแพทย์เปลี่ยนไปมาก มีการนำเอไอเข้ามาช่วยวินิจฉัยโรคต่างๆ   ห้องแล็ปสามารถอ่านผลได้เร็วขึ้น  ทำให้การทำงานของแพทย์และพยาบาลมีประสิทธิภาพ แต่ยังมีต้นทุนสูง ดังนั้นควรให้ความสำคัญในเรื่องของการบริหารจัดการที่ดี  ขณะที่การรักษาคนไข้ผ่านออนไลน์ต้องมีเน็ตเวิร์คที่ดี ควบคู่กันไปด้วย

ปัจจุบันการรักษาพยาบาลของคนไทย  เทียบอัตราของหมอ 4-5 คน ต่อคนไข้ 10,000 คน หรือเฉลี่ย หมอ1 คนต่อคนไข้ 3,000คน   สะท้อนให้เห็นว่าโอกาสในการได้รับการรักษาพยาบาลยังไม่เพียงพอ  การเข้าถึงบริการทางการแพทย์ยังจำกัด  ดังนั้นถ้ามีเทคโนโลยีเข้ามาจะช่วยได้มาก

อย่างไรก็ดีในช่วงการแพร่โควิด-19 โรงพยาบาลเอกชนหลายแห่งเริ่มนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้มากขึ้น โดยเฉพาะการรักษาคนไข้ที่อยู่ต่างประเทศ  สามารถรักษาผ่านระบบออนไลน์  ซึ่งยังจำกัดเฉพาะโรคที่ไม่ร้ายแรง

“เมื่อไทยเจอกับดีสทรัพชั่น ทำให้แนวโน้มเครื่องมือแพทย์รุ่นใหม่ที่เข้ามาจะมีเอไอมากขึ้น การเก็บข้อมูลใหญ่มีจำนวนเยอะ  อย่างการอ่านฟิล์มเอ็กซเรย์ สามารถประเมินอาการคนไข้ป่วยาว่าเป็นอะไร   เช่น ลมรั่วช่องปอด เมื่อรู้แบบนี้การรักษาจะเร็วขึ้น นอกจากนี้ยังมีหุ่นยนต์ผ่าตัด หุ่นยนต์สวนเส้นเลือด จะช่วยลดงานของหมอลงได้มาก”

นพ.พงพัฒน์  กล่าวว่า การผลักดันให้ไทยเป็น Medical Hub  มีโอกาสเป็นไปได้  หากพิจารณาจากศักยภาพของหมอ ที่มีประสบการณ์ สามารถรักษาโรคยากๆได้ดีเทียบเท่าในสหรัฐและยุโรป

ขณะเดียวกันเมื่อเทียบกับสิงคโปร์ไทยสามารถเป็นศูนย์กลางเครื่องมือแพทย์ได้เพราะมีตลาดใหญ่กว่า เพราะสิงคโปร์มีประชากร 4-5 ล้านคน มี รพ.15แห่ง  แต่ไทยมีประชากร 70 ล้านคน มีรพ. 1,000แห่ง

อย่างไรก็ตามต้องการให้ภาครัฐทบทวนการบังคับใช้กฏหมายที่เกี่ยวข้องกับโรงพยาบาลระหว่างของรัฐกับเอกชนที่ยังเป็นกฏหมายคนละฉบับทำให้เกิดความเลื่อมล้ำในการพัฒนาการให้บริการ  เช่นการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ของภาครัฐจะได้ราคาถูกกว่าเอกชน 3 เท่า ทำให้ผู้จำหน่ายเครื่องแพทย์ไปเพิ่มราคากับโรงพยาบาลเอกชน

นอกจากนี้อยากให้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ให้สิทธิประโยชน์กับการลงทุนโรงพยาบาลเอกชนบ้าง  จะข่วยสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางทางการแพทย์ได้

ขณะที่นายกำธร กาญจนวดี  กรรมการผู้จัดการ บริษัท  สุพรีม โพรดักส์  จำกัด กล่าวว่า  Smart Medical มีโอกาสสูงที่เกิดขึ้นได้แม้จะมีเรื่องโควิดเข้ามา   ทำให้มีการนำเทคนิคโนฮาวใหม่ๆมาใช้ มีการนำระบบเทเลเมดิซีน เข้ามาใช้ในโรงพยาบาลเอกชน และหากภาครัฐนำมาใช้ได้จะช่วยยกระดับการรักษาคนไข้ได้ดีขึ้น เพราะปัจจุบันไทยมีโรงพยาบาลรัฐ 1,000 แห่ง  ยังมี โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล(รพ.สต.)  และอสม.มากว่า 1 ล้านคน  หากสามารถประสานเรื่องของข้อมูลคนไข้ มีระบบเน็ตเวิร์คที่ดี  คนไข้ไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลใหญ่อย่างเดียว แต่สามารถรักษาโรงพยาบาลใกล้ๆได้ผ่านระบบเทเลเมดิซีน

ไทยพร้อมสู่ Medical Hub พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส

ทั้งนี้ช่วงโควิดอุปกรณ์เครื่องมือแพทย์ และระบบการบริหารจัดการที่ใช้เทคโนโลยี เป็นที่ต้องการของตลาดมาก ด้านภาครัฐมีการจัดซื้อระบบ เทเลเมดิซีน และ รถพยาบาล  แต่ก็มีอุปสรรคเพราะมีราคาสูงซึ่งตามกฏเกณฑ์ของโรงพยาบาลรัฐกำหนดให้เป็นการเช่าหรือจ้างเหมาปีต่อปี แต่ในทางปฏิบัติการเขียนระบบโปรแกรมต่างๆใช้เวลา 2-3 ปี  ไม่คุ้มกับการเช่าแค่ 1 ปี  อยากให้ภาครัฐพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย

นอกจากนี้การเตรียมในเรื่องโครงสร้างพื้นฐาน ระบบ5 จี ก็มีความสำคัญในการวางระบบดิจิทัล ทั้งหุ่นยนต์   การจัดทำดาต้าคนไข้    ถ้าสามารถร่วมกับโพรไวเดอร์เพิ่มกำลังส่ง 5 จีให้มากขึ้นจะช่วยได้มาก

ไทยพร้อมสู่ Medical Hub พลิกวิกฤตโควิดเป็นโอกาส

น.ส.นุชฎา  ภารดีวิสิทธิ์  ผู้อำนวยการ  บริษัท  เอ็กซโปซิส  จำกัด  กล่าวว่า  ในระยะหลังผู้ประกอบการไทยมีการพัฒนาสินค้าทางการแพทย์ต่อเนื่อง  ดังนั้นจึงไม่ยากที่ไทยจะเป็น Medical Hub  และภาครัฐควรเข้ามาสนับสนุนในเรื่องการตลาดให้มากกว่านี้ เพราะเป็นเรื่องสำคัญ

สำหรับทิศทางการจัดงานเอ็กซิบิชั่นในอนาคต หลังจากผ่านโควิดไปแล้ว จะเน้นในรูปแบบของไฮบริด มีการใช้ออนไลน์มากขึ้นโดยนำะบบเอไอ เทคโนโลยีเข้ามาใช้งาน อย่างงานแสดงสินค้านานชาติเครื่องมือแพทย์ เมดิก้า ล่าสุดเมื่อเดือนพ.ย.ที่เยอรมันเป็นรูปแบบออนไลน์ ก็ได้รับการตอบรับดี มีผู้ประกอบการมาออกบูธ 1,500 ราย จาก 63 ประเทศ มีการซื้อขายสินค้า 45,000 ราย จาก  170 ประเทศ  เป็นการตอกย้ำว่า งานเอ็กซิบิชั่นแบบออนไลน์ตอบโจทย์