posttoday

หอการค้าไทย มอง "RCEP" ไร้อินเดีย ยังเป็นโอกาส ธุรกิจ-แรงงานใหม่ ของอนาคตไทย

20 พฤศจิกายน 2563

"กลินท์" เชื่อเศรษฐกิจไทยยังไปไหว จากหลายโครงการรัฐกระตุ้น กำลังซื้อ-ท่องเที่ยวในประเทศเริ่มฟื้นตัว พร้อมเสนอรัฐทบทวนมาตรการห้ามรถ 6 ล้อเข้ากทม. มีผลต้นเดือน ธค. นี้

นายกลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่าแนวทางการส่งเสริม 5 อุตสาหรกรรมอนาคต (New S-Curve) หลักสำคัญคือ ต้องมุ่งสื่อสารในวงกว้างเพื่อให้ประชาขนทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องรับรู้ถึงประโยชน์ จากอุตสาหกรรมดังกล่าว ซึ่งในจังหวะนี้หลายฝ่ายหันมาให้ความสนใจค่อนข้างกว้าง และพร้อมผลักดันเพื่อให้สอดคล้องเศรษฐกิจไทยเดินหน้าได้ต่อ

ด้วยแม้ว่าจะอยู่ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 แต่ที่ผ่านมา พบว่าเศรษฐกิจไทยไม่ได้แย่มากนัก เช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ ที่ยังเติบโตจากความต้องการของตลาดในประเทศ อุตสากรรมท่องเทื่ยวในประเทศที่เริ่มฟื้นตัวในจังหวัดเมืองรอง ขณะเดียวกันก็มีหลายโครงการภาครัฐที่เข้ามากระตุ้นการบริโภค และเศรษฐกิจ ของประเทศ

ขณะที่การเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ประเทศไทยได้ลงนามร่วมกับอีกประเทศสมาขิกไปเมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา แม้ว่าอินเดีย จะยังไม่เข้าร่วมก็ตามนั้นซึ่งไม่มีผลกระทบมากนัก ด้วยมองว่าการเปิดตลาดเพื่อเจรจาการค้าเสรีเป็นเรื่องสำคัญสำหรับประเทศ โดยจากนี้ หอการค้าเตรียมเสนอไปยังรัฐบาลให้เร่งเจรจาการค้าภายใต้กรอบต่างๆ เป็นลำดับต่อไป

นอกจากนี้ ยังรวมไปถึง ข้อตกลงความเข้าใจและความคืบหน้าเพื่อหุ้นส่วนข้ามแปซิฟิก (CPTPP) ที่แม้ว่าประเทศเวียดนามจะขอยืดระยะเวลาออกไปก่อนก็ตาม แต่เห็นว่าก็ยังไม่กรอบการค้าเสรีอื่นๆ อาทิ ไทยอียู ไทยยูเค ที่มีความน่าสนใจและเป็นประโยชน์ต่อการค้าธุรกิจของไทย

ด้วยเห็นว่าหากรัฐบาลไม่เร่งหลักดันเรื่องดังกล่าว จะทำให้ประเทศไทยมีความยากลำบาก ต่อการทำการค้าการลงทุนธุรกิจใหม่ในอนาคต เช่น สิทธิประโยชน์อัตราภาษี 0% การจ้างงานที่จะขยายตัวในอนาคต เป็นต้น รวมถึงโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) ที่จะมีผลต่ออุตสาหกรรมอนาคต (New S-Curve) อย่างมาก ที่จะต้องเร่งผลักดันให้มีการลงทุนเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก

นายกลินท์ เสริมว่า จากมาตรการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ห้ามรถยนต์บรรทุกตั้งแต่ 6 ล้อขึ้นไปวิ่งเข้าพื้นที่กทม.ในช่วงเวลา 06.00-21.00 น. ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.นี้ จนถึงสิ้นเดือนก.พ.2564 เพื่อลดมลพิษ PM2.5 จากควันรถยนต์ นั้น เห็นว่าเป็นประเด็นที่ควรให้มีการหารือระหว่างผู้มีส่วนเกี่ยวข้องและต้องสื่อสารให้รอบด้าน ถึงผลกระทบทางเศรษฐกิจที่จะเกิดขึ้นตามมาเช่นกัน

"หากต้องการลดมลพิษ พีเอ็ม 2.5 จากรถบรรทุกขนาดใหญ่ที่จะเข้ามาในกรุงเทพฯ และให้เปลี่ยนเป็นรถขนาดเล็กแทนนั้น อาจยิ่งสุ่มเสี่ยงต่อการสร้างฝุ่นพีเอ็ม 2.5 มากขึ้น จากการเปลี่ยนไปใช้รถลำเลียงขนาดเล็กที่มีจำนวนมากขึ้นบนท้องถนน ซึ่งเรื่องนี้อยากฝากให้มีการทบทวนอีกครั้ง" นายกลินท์ กล่าว