posttoday

บขส.ดีเดย์ 18 พ.ค.นี้เปิดเดินรถเฟสแรก สายเหนือ-อีสาน-ภาคตะวันออก 16 เส้นทาง

16 พฤษภาคม 2563

บขส.คุมเข้มมาตรฐานความปลอดภัย ทุกขั้นตอน เก้าอี้โดยสารนั่งห่างกัน 1 เมตร พร้อมเปิดให้บริการเดินรถเส้นทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก เริ่ม 18 พ.ค. นี้ ขณะที่ภาคใต้ รอ 1 มิ.ย. นำร่อง 3 เส้นทาง

รายงานข่าวจากบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.)  เปิดเผยว่า บขส. เตรียมเปิดเดินรถในเส้นทางภาคเหนือ จำนวน 7 เส้นทาง เส้นทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และเส้นทางภาคตะวันออก จำนวน 9 เส้นทาง ตั้งแต่วันที่ 18 พ.ค. เป็นต้นไป เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่มีความจำเป็นต้องเดินทาง หลังจากที่หยุดให้บริการชั่วคราวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19

สำหรับเที่ยวเดินรถของภาคเหนือ มีจำนวน 7 เส้นทางมีรายละเอียดดังนี้

1.กรุงเทพฯ – เชียงใหม่ ม.4 (ข) 

2. กรุงเทพฯ – เชียงราย ม.4 (ข)  

3.กรุงเทพฯ – อุตรดิตถ์ ม.4 (ข)

4.กรุงเทพฯ – สารจิตร ม.1 (ข)

5.กรุงเทพฯ – แม่สอด ม.1 (ข)

6.กรุงเทพฯ – หล่มเก่า ม.4 (ข)

7.กรุงเทพฯ – คลองลาน ม.1 (ข)

ขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคตะวันออก จำนวน 9 เส้นทาง ดังนี้

1.กรุงเทพฯ – หนองบัวลำภู ม.1 (ข)

2.กรุงเทพฯ – สกลนคร ม.1 (ข)

3.กรุงเทพฯ – เชียงคาน ม.1 (ข)เ

4.กรุงเทพฯ – สุรินทร์ ม.1 (ข)

5.กรุงเทพฯ – บุรีรัมย์ ม.1 (ข)

6.กรุงเทพฯ – กันทรลักษ์ ม.1 (ข)

7.กรุงเทพฯ – ศรีสะเกษ ม.1 (ข)

8.กรุงเทพฯ – รัตนบุรี ม.1 (ข)

9.กรุงเทพฯ – จันทบุรี ม.1 (ข)

สำหรับเส้นทางเดินรถภาคใต้ บขส. เตรียมเปิดให้บริการเดินรถ จำนวน 3 เส้นทาง ตั้งแต่วันที่ 1  มิ.ย. ดังนี้  กรุงเทพฯ – เกาะสมุย ม.1 (ก)   กรุงเทพฯ – ภูเก็ต ม.4 (ข) กรุงเทพฯ – ตรัง ม.4 (ข)

บขส.ดีเดย์ 18 พ.ค.นี้เปิดเดินรถเฟสแรก สายเหนือ-อีสาน-ภาคตะวันออก 16 เส้นทาง

ทั้งนี้ บขส. ได้ดำเนินการตามมาตรการป้องกันความเสี่ยงจากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัส COVID-19 สำหรับพนักงานประจำรถ พนักงานจำหน่ายตั๋ว และพนักงานชานชาลา โดยผู้ปฏิบัติงานต้องดูแลสุขภาพและรักษาความสะอาดอย่างเคร่งครัด ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายก่อนปฏิบัติงาน และสวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาในขณะปฏิบัติงาน สำหรับรถโดยสารและสิ่งอำนวยความสะดวกได้จัดที่นั่งภายในรถโดยสาร เว้นระยะนั่งอย่างน้อย 1 เมตร ตามนโยบายเว้นระยะห่างทางสังคม (Social Distancing) ทำความสะอาดรถโดยสาร ห้องน้ำ และจุดที่สัมผัสบ่อยครั้งทั้งก่อนและหลังให้บริการ เปิดระบายอากาศภายในรถ และนำรถโดยสารจอดตากแดด หลังให้บริการทุกวันอย่างน้อยวันละ 1 - 2 ชั่วโมง ตรวจวัดอุณหภูมิร่างกายของผู้โดยสาร

หากพบผู้ที่มีอุณหภูมิร่างกายสูงเกินกว่า 37.5 องศาเซลเซียส ห้ามเดินทางโดยเด็ดขาด จัดพื้นที่นั่งคอยภายในสถานีขนส่งผู้โดยสารและทำความสะอาดสม่ำเสมอ  ส่วนผู้โดยสารที่เดินทางข้ามพื้นที่จังหวัด ต้องกรอกข้อมูลคำถามสุขภาพ ตามแบบ ต.8-คค ที่ระบุต้นทางและปลายทางเพื่อประโยชน์ต่อการควบคุมโรคติดต่อ