posttoday

"พาณิชย์" แจงมาตรการช่วยเกษตรกร-ประชาชนสู้โควิด

11 พฤษภาคม 2563

ปลัดพาณิชย์ เผยมาตรการเยียวยา ผลกระทบโควิด-19 พักหนี้เกษตร กฟผ.อุ้มราคาปาล์มรับซื้อ 3 หมื่นตัน หลังจำกัดการเดินทาง ชะลอการใช้ไบโอดีเซล ผนึกกำลังไปรษณีย์ไทย ขายผลไม้ออนไลน์

นายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวระหว่างการแถลงข่าวของ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศบค.) ว่า เมื่อวันที่ 7 พ.ค.63 มีการประชุมกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร โดยมีมติร่วมในหลักการ ให้พักชำระหนี้เกษตรกรทั้งเงินต้น และดอกเบี้ย ในวงเงินประมาณ 900 ล้านบาท โดยกองทุนฯต้องกลับไปแก้ไขระเบียบเกี่ยวข้อง ที่เดิมใช้มาตรการขยายเวลาชำระหนี้ แล้วเข้าประชุมคณะกรรมกาารกองทุนฯอีกครั้ง เพื่อออกเป็นระเบียบปฏิบัติ

นายบุณยฤทธิ์ กล่าวว่า ขณะที่ สินค้าเกษตร 5 ชนิดหลัก คือ ข้าว มันสำปะหลัง ยางพารา ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ และปาล์ม โดย 4 ชนิดราคาปรับตัวดีขึ้น ยกเว้นปาล์ม ที่ราคาปรับตัวลดลง เนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาด มีการจำกัดการเดินทาง ทำให้การใช้พลังงาน ไบโอดีเซลที่มีปาล์มเป็นวัตถุดิบ ลดน้อยลง เมื่อความต้อการน้อยราคาจึงตกไปบ้างแต่ขณะนี้สถานการณ์เริ่มดีขึ้น การเดินทางสัญจร และการขนส่งเริ่มกลับมา บริษัทผู้ผลิตไบโอดีเซลจึงพร้อมที่จะรับซื้อผลปาล์มากขึ้น

ขณะที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิดโดยคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ที่ยังหลือรับการซื้ออีก 3 หมื่นตันในเร็ววันนี้ คาดว่าราคาผลปาล์มจะขยับตัวสูงขึ้น แต่หากสเถียรภาพยังไม่ดีขึ้น จะสำรองการรับซื้อเพิ่มอีก 1 แสนตัน รวมถึงของควารมร่วมมือกระทรวงมหาดไทย ให้ผู้ว่าราชการจังหวัด รับซื้อผลปาล์มในราคาเป็นธรรม ไม่กดราคากับชาวสวนปาล์ม ซึ่งถ้าหากมีการกดราคาจนไม่เป็นธรรม จะชัดกฎหมาย มาตรา 29 การกดราคาสินค้าเกินควรซึ่งจะมีโทษทั้งจำและปรับ

นายบุณยฤทธิ์ กล่าวว่า ช่วงนี้เป็นฤดูกาลผลไม้ และจากสถานการณ์โควิด-19 ส่งผลกระทบต่อการส่งออกโดยเฉพาะมะม่วง ที่ไม่สามารถส่งออกขายนอกประเทศได้ เนื่องจากหลายประเทศมีการปิดพรมแดน กระทรวงพาณิชย์??จึงร่วมกับบริษัทไปรษณีย์ไทย ช่วยกันจำหน่ายผลไม้ออนไลน์ ภายในประเทศ โดยไปรษณีย์ไทย ที่มีกลไกโลจิสติกส์ จะเข้าไปรับสินค้าถึงในส่วน และจัดส่งให้ด้วย

ขณะที่กรมท่าอากาศยาน ให้ความร่วมมือจัดพื้นที่ในสนามบิน เปิดขายผลไม้ ซึ่งมีบริการส่งฟรีในระยะทางไม่เกิน 20 กิโลเมตร นอกจากนี้ ยังมีโครงการแลกสินค้าการเกษตร เช่น ข้าวแลกปลา เป็นแนวคิดกระทรวงพาณิชย์ ที่ใช้กลไกพาณิชย์จังหวัด ให้เป็นเซลล์แมนขายสินค้า เนื่องจากแต่ละจังหวัดรู้ว่าตัวเองมีสินค้าอะไร ที่ล้นอาจตลาด อยากระบายไปที่อื่น ขณะที่บางจังหวัดรู้ว่าตัวเองต้องการอะไร โดยจังหวัด วิสาหกิจชุมชน และสหกรณ์ ร่วมมือกัน เสนอสินค้าจับคู่กัน ทำให้เกิดมูลค่าการค้าเพิ่มขึ้นมากกว่าการค้าปกติ โดยมีมูลค่าเพิ่มขึ้นมา 900 กว่าล้านบาท ซื้อขายสินค้าเกษตรออกนอกพื้นที่ มากขึ้น

เมื่อถามว่า การส่งออกสินค้า ขณะนี้เริ่มทำได้แล้วหรือไม่ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่าช่วงสถานการ์แพร่ระบาด ทุกประเทศจำกัดการเคลื่อนย้าย ทั้งคน และสินค้าโดยเฉพาะประเทศจีน ที่มีความต้องการสินค้าเกษตรของเราค่อนข้างเยอะ ที่ผ่านมาใช้การขนส่งผ่านประเทศเพื่อนบ้านและวิ่งยาวไปถึงประเทศจีน แต่มีการล็อกด่านพรมแดนจึงเกิดความยากลำบาก รัฐบาลจึงใช้การเจรจาในระดับสูงด้านการทูต ซึ่งปัญหาเริ่มคลี่คลายแล้ว

โดยเมื่อวันที่ 3 พ.ค.ที่ผ่านมา สปป.ลาว ได้กำหนดจุดเปลี่ยนถ่ายสินค้า ให้ใช้รูปแบบอยู่ดินแดนประเทศไหน ให้คนชาตินั้นขับ จึงเกิดความสะดวกเพราะหากใช้คนจากประเทศเราขับเข้าไปก็จะถูกกักตัว ขณะที่ปลายเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา ทางการจีนเปิดนำเข้าผลไม้ทางบก บริเวณด่าน ตงซิง ที่อยู่ทางตะวันออกของประเทศเวียดนาม และด่าน หมิงเสียง ก็เปิดด่านรถไฟเพิ่มจากเดิมที่มีแต่ด่านรถยนต์

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชยังมีโครงการให้ประชาชนเข้าถึงสินค้าอุปโภคบริโภคราคาถูก โดยจัดโครงการธงฟ้าสู้ภัยโควิด-19 ที่เริ่มต้นเฟซแรกมาตั้งแต่ปลายเดือนมี.ค. มีรถเร่ร้อยกว่าคัน วิ่งขายสินค้าราคาประหยัดในพื้นที่กรุงเทพมหานคร และปริมณทล และจะมีเฟส 3ในวันที่ 13 พ.ค. จะเพิ่มรถเร่เป็น 300 คัน รวมถึงโครงการพาณิชย์ลดราคาเพื่อประชาชน ที่เริ่มตั้งแต่วันที่ 16 เม.ย.ที่ผ่านมา มีสินค้าร่วมรายการ 72 รายการ ผู้ประกอบการ 31 ราย และเฟส 2 เมื่อวันที่ 25 เม.ย. มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้นเป็น 51 ราย และสินค้า 3,025 รายการ และเตรียมที่จะมีเฟส 3 อีกในเร็ววันนี้

นอกจากนี้ เรายังได้รับความร่วมมือจาก 7-11 ลดราคาอาหารแช่แข็ง เมนูยอดนิยม 6 เมนู จากราคา 30 -32 บาท จะขายในราคาเดียวคือ 20 บาท เช่นเดียวกับบริษัทสหพัฒนพิบูลย์ จำกัด จัดสินค้ามาม่าคัฟ 14 รสจากราคา 13 บาท ลดเหลือราคา 10 บาท เพื่อช่วยเหลือประชาชนให้ซื้อสินค้าราคาถูก และลดค่าครองชีพ