posttoday

กรมชลฯ เร่งดูแลน้ำกิน-น้ำใช้ ให้ปลอดเค็ม พร้อมขอทุกฝ่ายประหยัดน้ำ

06 มกราคม 2563

เผยน้ำทะเลจะเริ่มหนุนตั้งแต่ 7 ม.ค.และสูงสุดวันที่ 13 ม.ค.-ช่วงปลายเดือน พร้อมระบายน้ำท้ายเชื่อนดัน ผันน้ำแม่กลองเข้า ดันน้ำเค็มออก ในช่วงน้ำทะเลหนุน

เผยน้ำทะเลจะเริ่มหนุนตั้งแต่ 7 ม.ค.และสูงสุดวันที่ 13 ม.ค.-ช่วงปลายเดือน พร้อมระบายน้ำท้ายเชื่อนดัน ผันน้ำแม่กลองเข้า ดันน้ำเค็มออก ในช่วงน้ำทะเลหนุน

กรมชลฯ เร่งดูแลน้ำกิน-น้ำใช้ ให้ปลอดเค็ม พร้อมขอทุกฝ่ายประหยัดน้ำ

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า น้ำทะเลจะเริ่มหนุนสูงอีกครั้งตั้งแต่ 7 ม.ค. สูงสุด13 ม.ค. 2563 และในช่วงปลายเดือน ม.ค. อีกครั้ง ซึ่งกรมได้บริหารน้ำเพื่อรักษาระบบนิเวศ และเพื่อดันน้ำเค็มไม่ให้กระทบระบบประปาของการประปานครหลวง

"จะเพิ่มการระบายน้ำจากท้ายเขื่อนเจ้าพระยา พรุ่งนี้ก็จะเพิ่มท้ายเขื่อนเจ้าพระยา และพระราม6อีกเพื่อดันน้ำเค็ม และผันน้ำจากลุ่มแม่กลองมาช่วยในช่วงเวลาดังกล่าว ที่จะต้องผันล่วงหน้าเพื่อให้น้ำจืดมาดันน้ำเค็มในช่วงน้ำทะเลหนุน"ดร.ทองเปลวกล่าว

สำหรับการผันน้ำลุ่มแม่กลองมาไล่น้ำเค็มจะผันผ่านประตูระบายน้ำ(ปตร.)พระยาบรรลือ สูบน้ำ 13 เครื่อง(จาก 14 เครื่อง เครื่องละ 3 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำ 39 ลบ.ม./วินาที)

และผ่านปตร.สิงหนาท2 สูบน้ำ 8 เครื่อง(จาก 12 เครื่อง เครื่องละ 3 ลบ.ม./วินาที ปริมาณน้ำ 24 ลบ.ม./วินาที) นอกจากนั้นเดินเครื่องผลักดันน้ำแล้ว 54เครื่อง สำหรับ ปตร.คลองลัดโพธิ์ จะเปิด ปิดตามจังหวะน้ำขึ้นและน้ำลง

นายทวีศักดิ์? ธนเดโชพล? รองอธิบดีกรมชลประทาน? เปิดเผยว่า? ฤดูแล้งปีนี้มีปริมาณน้ำต้นทุนอยู่ในเกณฑ์น้อย? จึงต้องบริหารจัดการน้ำอย่างจำกัด? และให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ซึ่งมีเพียงพอต่อการอุปโภคบริโภครักษาระบบนิเวศสนับสนุนพืชที่ใช้น้ำน้อยหรือเกษตรต่อเนื่องบางพื้นที่เท่านั้น

โดยยืนยันว่าน้ำปริมาณน้ำในเขื่อนหลัก? 4? แห่ง เขื่อนภูมิพล? เขื่อนสิริกิติ์? เขื่อนแควน้อยบำรุงแดน? และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ที่มีรวมกันอยู่ทั้งหมด 40% จะเพียงพอใช้ได้ไปจนถึงสิ้นฤดูแล้ง? เดือนพฤษภาคมปี 2563 ทั้งยังเผื่อฝนทิ้งช่วงอีก 3 เดือน? จนกระทั่งถึงเดือนกรกฎาคม? 2563? ที่จะมีน้ำเพียงพอ

ทั้งนี้จากน้ำจาก 4 เขื่อนหลัก? ถูกระบายลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยาวันละ 18 ล้านลูกบาศก์เมตร?(ลบ.ม.) แบ่งเป็นใช้เพื่อการอุปโภคบริโภค 7 ล้านลบ.ม. รักษาระบบนิเวศและผลักดันน้ำเค็ม 8 ล้านลบ.ม. และเพื่อการทำเกษตรต่อเนื่องเช่นสวนส้มโอและอื่นๆหรือพืชที่ใช้น้ำน้อยอีก 3 ล้านลบ.ม. ทั้งยังมีการผันน้ำจากลุ่มน้ำแม่กลองอีกวันละ 4-5 ล้านลบ.ม.เพื่อผลักดันน้ำเค็ม ซึ่งน้ำลุ่มน้ำแม่กลองยังมีมากเพียงพอที่จะผันมาข่วยลุ่มเจ้าพระยา? เนื่องจากอิทธิพล?ของพายุ?โพ?ดุล?

สำหรับเกษตรกร? ได้ขอความร่วมมืองดทำนาปรังและรอให้ฝนตกรอบใหม่จึงจะเริ่มหว่านกล้าทำนาได้ซึ่งถ้าหากตัดสินใจทำในช่วงเวลานี้? จะไม่มีน้ำเพียงพอที่จะสนับสนุน?ต้องปล่อยยืนต้นตาย? เนื่องจากได้จัดลำดับความสำคัญเพื่อการอุปโภคบริโภคเป็นอันดับแรก

นายสุพิศ พิทักษ์ธรรม ผู้อำนวยการสำนักเครื่องจักรกล กรมชลฯ กล่าวว่า ได้เตรียมความพร้อมในเรื่องของเครื่องจักร? และเครื่องมือเพื่อส่งไปประจำการที่ศูนย์ต่างๆทั่วประเทศ? มีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดนนทบุรีและอีก 7? สาขาในทุกภูมิภาคได้แก่จ.เชียงใหม่? จ.พิษณุโลก? จ.ขอนแก่น? จ.นครราชสีมา? จ.พระนครศรีอยุธยา? จ.นนทบุรีและจ.สงขลา? ซึ่งจะกระจายส่งเครื่องจักร? เครื่องมือจำนวน 4316 ชิ้นแยกเป็นเครื่องสูบน้ำจำนวน 1935 เครื่องสูบน้ำจำนวน 258 คัน?

รถขุดจำนวน 499 คัน? เรือขุดจำนวน 69 ลำ? รถบรรทุกจำนวน 511 คัน? รถบรรทุกน้ำจำนวน 106 คัน? รถแทรกเตอร์จำนวน 565 คัน? และเครื่องจักรสนับสนุน?อื่นๆจำนวน 373 เครื่อง พร้อมสั่งการให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่เฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์น้ำอย่างใกล้ชิดในทุกพื้นที่ โดทุกพื้นที่จะต้องสามารถเข้าถึงประชาชนในเวลาไม่เกิน2ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือประขาชน