posttoday

'ศักดิ์สยาม’เร่งลงทุนเมกะโปรเจ็กส์อีอีซี 5 แสนล้าน ดันเศรษฐกิจไทย

27 สิงหาคม 2562

'ศักดิ์สยาม'เดินหน้าขับเคลื่อนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี เร่งอีอีซี 5 แสนล้าน หวังช่วยกระตุ้นเศรษฐไทย เตรียมเรียกหน่วยงานคมนาคมตรวจการบ้านหลังผ่านไปแล้ว1เดือน

'ศักดิ์สยาม'เดินหน้าขับเคลื่อนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานตามยุทธศาสตร์ชาติ 20ปี เร่งอีอีซี 5 แสนล้าน หวังช่วยกระตุ้นเศรษฐไทย เตรียมเรียกหน่วยงานคมนาคมตรวจการบ้านหลังผ่านไปแล้ว1เดือน

นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยในงาน “ยุทธศาสตร์เศรษฐกิจไทย ภายใต้รัฐบาลใหม่” ซึ่งจัดขึ้นโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า กระทรวงคมนาคมมีภารกิจในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตามแผนยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยจะต้องมีการจัดสรรงบประมาณการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งทางบก ทางน้ำทางอากาศ และทางราง ประมาณ 1.9 ล้านล้านบาท ซึ่งทาง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ได้กำชับให้การดำเนินโครงการแต่ละโครงการต้องเป็นไปตามแผนงาน

ส่วนความคืบหน้าโครงการต่างๆ โดยเฉพาะแผนลงทุนในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก(อีอีซี) มูลค่า 5 แสนล้านบาท เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจประเทศ อาทิ โครงการท่าเรือแหลมฉบังระยะที่ 3 วงเงิน 8 หมื่นล้านบาท ขณะนี้ยังต้องรอคำสั่งศาล ขณะที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) วงเงิน 2.2 แสนล้านบาท มีแผนลงนามในสัญญาให้ได้ภายในเดือนก.ย.นี้ นอกจากนี้ยังมีโครงการเมืองการบินอู่ตะเภา 2 แสนล้านบาท ซึ่งจะเดินหน้าต่อหลังมีการตัดสินจากศาลชัดเจนแล้ว

ทั้งนี้จะมีการประชุมหัวหน้าหน่วยงานทั้งหมดในสังกัดของกระทรวงคมนหวังาคม ทั้งส่วนราชการและรัฐวิสาหกิจ เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงาน หลังจากได้มอบนโยบายและให้การบ้านแต่ละหน่วยงาน ซึ่งจะครบตามกรอบเวลา 1 เดือนที่กำหนด ทั้งนี้ ถือเป็นตัวชี้วัด (KPI) ของทุกหน่วยงานด้วย ซึ่งภายหลังการประชุมดังกล่าว จะเรียกบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. และกรมท่าอากาศยาน (ทย.) มาหารือถึงการโอนย้าย 4 สนามบิน โดยเฉพาะกรณีมติคณะกรรมการ (บอร์ด ทอท.) เลือกสนามบินกระบี่มาบริหารจัดการแทน หากทย. มีความประสงค์จะบริหารสนามบินกระบี่ต่อนั้น จะต้องมีแผนการเพิ่มศักยภาพของสนามบิน เพื่อพัฒนาให้สนามบินกระบี่ เป็นสนามบินนานาชาติ ทั้งยังเป็นการลดความแออัดของสนามบินภูเก็ตด้วย

นอกจากนี้ได้วางแนวทางการบริหารงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมได้แก่ การสร้างความสะดวกสบายให้กับประชาชน ,การลดค่าใช้จ่ายให้ประชาชนลดภาระงบประมาณแผ่นดิน ,แก้ปัญหาปากท้องของประชาชน และภาคทุกโครงการของกระทรวงคมนาคมต้องโปร่งใสและตรวจสอบได้ ส่วนการแก้ไขปัญหาจราจรและปัญหาฝุ่น PM 2.5 ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพของประชาชน ทางกระทรวงคมนาคมจะดำเนินการทั้งในเรื่องการจำกัดเวลาวิ่งของรถบรรทุกในชั้นเมือง ขยายความเร็วของรถวิ่งได้สูงสูง 120 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การยกเลิกไม้กั้นทางด่วนที่ซ้ำซ้อน ทำบัตรผ่านทางเป็นแบบตั๋ววัน คาดจะเหลือ 30 บาทต่อวัน รวมถึงยกเลิกเกาะกลางถนน และจัดการรถโดยสารธารณะโดยใช้เทคโนโลยี อย่างไรก็ตามยืนยันว่าปัจจุบันยังไม่มีการขึ้นค่ารถแท็กซี่ มอเตอร์ไซต์รับจ้าง เพียงแต่ขณะนี้มีแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการมากมายจึงจะต้องแก้ปัญหาทำอย่างไรให้บริษัทฯที่จะให้บริการจดทะเบียนเป็นของไทย