posttoday

รมว.เกษตรสั่งเร่งช่วยเกษตรกรภาคใต้1.8แสนรายได้รับผลกระทบจากพายุปาบึก

06 มกราคม 2562

"กฤษฏา" สั่งทุกหน่วยงานเร่งระดมสำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติ "พายุปาบึก" พบ 13 จังหวัดใต้ เกษตรกร ได้รับผลกระทบเบื้องต้น 189,688 ราย

"กฤษฏา" สั่งทุกหน่วยงานเร่งระดมสำรวจความเสียหายจากภัยพิบัติ "พายุปาบึก" พบ 13 จังหวัดใต้ เกษตรกร ได้รับผลกระทบเบื้องต้น 189,688 ราย

นายกฤษฏา บญราช รมว.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้สั่งการศูนย์อํานวยการและบัญชาการสถานการณ์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ศอบ.กษ.) พายุโซนร้อนปาบึก ให้เร่งสำรวจประเมินความเสียหายทางเศรษฐกิจและสังคม ด้านเกษตร โดยเฉพาะความเสียหาย ต่อการประมง ท้ังประมงพาณิชย์ ประมงพื้นบ้าน เพาะเลี้ยงชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทยตลอดแนว ดังนั้น จึงขอให้เกษตรและสหกรณ์จังหวัด ได้พิจารณาดำเนินการ เฝ้าระวัง เตือนภัย พื้นที่เสี่ยงที่จะเกิดจากน้ำป่าไหลหลาก และเกิดน้ำท่วมฉับพลัน พื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ พื้นที่ริมเชิงเขา ริมแม่น้ำลำคลอง (พื้นที่มีความล่อแหลม เปราะบางสูง)

โดยเฉพาะชาวประมง ให้เร่งสำรวจ และเกษตรกร ให้ได้รับการ ช่วยเหลือตามระเบียบท่ีเกี่ยวข้องจากรัฐอย่างทั่วถึง ทันการณ์ ทันเวลา โดยให้วางแผนระดมและจัดกำลังเจ้าหน้าที่ให้เหมาะสมกับปริมาณภาระงาน เพื่อสำรวจความเสียหายสิ้นเชิง ด้านพืช ประมง และปศุสัตว์ เป็นรายอำเภอ โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสถานการณ์เข้าสู่ภาวะปกติแล้ว ขอให้เร่งวางแผนและดำเนินการ ทันที รวมทั้งจัดทำชุดข้อมูลเพื่อประกอบการเสนอกองบัญชาการบรรเทาสาธารณภัย กชภอ.และกชภช.พิจารณาประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือ ผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน และเร่งดำเนินการจัดท้าเอกสารตามขั้นตอนของระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกษตรกร ได้รับการช่วยเหลือโดยเร็วที่สุด พร้อมกันนี้ เฝ้าระวัง ป้องปราม การจำหน่ายวัสดุทางการเกษตร เพื่อไม่ให้มีการฉวยโอกาสขึ้นราคาสินค้าและกักตุนสินค้าวัสดุ การเกษตร หากพบการฝ่าฝืนให้ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง

สำหรับพื้นที่การเกษตรประสบภัย 13 จังหวัด เกษตรกรรวมทั้งสิ้น 189,688 ราย แบ่งเป็น

- ด้านพืช 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี สงขลา ตรัง ปัตตานี ชุมพร เกษตรกร 158,550 ราย

พื้นที่ได้รับผลกระทบ 116,823 ไร่ แบ่งเป็น ข้าว 20,437 ไร่ พืชไร่ 2,513 ไร่ พืชสวนและอื่นๆ 93,873 ไร่ ลักษณะความเสียหาย ระยะแรกของพายุจะมีลมพัดแรง ส่งผลต้นไม้ขนาดใหญ่หักโค่น และระยะต่อมาเมื่อปริมาณฝนสะสมตกหนักจะเกิดมวลน้ำสะสมไหลหลากผ่านพื้นที่เกษตร ส่งผลให้หน้าดินในสวนยางพารา สวนปาล์มน้ำมัน ถูกกัดเซาะ จากน้ำหลาก และเกิดน้ำท่วม พื้นที่เกษตรลุ่มต่ำ ส่งผลให้สวนยางพารา สวนปาล์ม มีน้ำขังท่วมโคนต้น และพื้นที่นาข้าวในจังหวัด นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ซึ่งอยู่ในระยะการเจริญเติบโตอายุปลูก 60 วัน ได้รับผลกระทบจากน้ำหลากไหลผ่านและท่วมขัง

- ด้านประมง7จังหวัดได้แก่จังหวัดนครศรีธรรมราชสุราษฎร์ธานีสงขลาปัตตานีประจวบคีรขันธ์จันทบุรี ตราด เกษตรกร 6,653 ราย พื้นที่เพาะเลี้ยงสัตวน้ำ คาดว่าจะเสียหาย 22,364 ไร่ (บ่อปลา 12,484 ไร่ บ่อกุ้ง/ปู/หอย 9,880 ไร่) กระชัง 4,050 ตารางเมตรลักษณะความเสียหาย ปลาที่เลี้ยงในกระชังถูกคลื่นซัดได้รับความเสียหาย สัตว์น้ำที่เลี้ยงในบ่อถูกน้ำท่วม

- ด้านปศุสัตว์ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครศรีธรรมราช สุราษฎรธ์านี นราธิวาส ปัตตานี เกษตรกร 25,138 ราย

สัตว์ได้รับผลกระทบ 1,216,681 ตัว แบ่งเป็น โค- กระบือ 46,678 ตัว สุกร 49,993 ตัว แพะ-แกะ 9,021 ตัว สัตว์ปีก 1,110,989 ตัว ลักษณะความเสียหายสัตว์ปีกพื้นบ้านที่ไม่อยู่ในพื้นที่ปลอดภัย สูญหาย และโรงเรือนสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์ (ไก่เนื้อ ไก่ไข่)ที่อยู่ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ถูกน้ำท่วมโรงเรือนสัตว์ใหญ่โคเนื้อสามารถอพยพขึ้นที่สงูตามคำเตือนซึ่งในระยะต่อมาสุขภาพสัตว์อาจอ่อนแอเนื่องจาก ภาวะเครียดและความชื้น ได้รับอาหารไม่เพียงพอ

ส่วนเรือประมง ประสบภัย 8 จังหวดั ได้แก่ จังหวัดชลบุรี ระยอง จันทบุรี ประจวบคีรีขันธ์ นครศรีธรรมราช ระนอง สงขลา ปัตตานี จ้านวน 86 ลำ

ลักษณะความเสียหาย ในพื้นที่ภาคตะวันออก เรือประมงพื้นบ้านส่วนใหญ่เป็นเรือที่จอดบริเวณชายหาด น้ำเข้าเครื่องยนต์เรือ สามารถถอดมาล้างและใช้งานได้ เปลือกเรือแตกเนื่องจากเรือกระแทกกันขณะจอด สามารถซ่อมแซมได้ ในขณะนี้หน่วยงาน กรมประมง ร่วมบูรณาการตรวจสอบความเสียหาย

ทั้งนี้การช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ พ.ศ. 2556 ในกรณีเสียหายสิ้นเชิง และ ตาย/สูญหาย

ด้านพืช ช่วยเหลือรายละไม่เกิน 30 ไร่ ข้าว 1,113 บาท พืชไร่ 1,148 บาท พืชสวน 1,690 บาท ช่วยเหลือค่าขนย้ายดินโคลน ไร่ละไม่เกิน 7,000 บาท รายละ 5 ไร่ ช่วยเหลือค่าปรับเกลี่ยพื้นที่ช่วยเหลือ ไร่ละ 700 บาท ไม่เกิน 30 ไร่

ด้านประมง ปลา 4,225 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กุ้ง/ปู หอย ทะเล 10,920 บาท รายละไม่เกิน 5 ไร่ กระชัง 315 ตรม. ไม่เกิน 80 ตรม.

ด้านปศุสัตว์ โค-กระบือ ตัวละ 6,000 บาท-22,000 บาท ไม่เกินสองตัว

ยางพารา สมาชิกการยางแห่งประเทศไทย(กยท.)เสียสภาพสวน ให้ทุนปลูกแทน ไร่ละ 16,000 บาท ช่วยเหลือค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกินครัวเรือนละ 11,000 บาท ช่วยเหลือค่าซ่อมแซมคอกสัตว์/โรงเรือน ครัวเรือนละไม่เกิน 5,000 บาท

รวมทั้งช่วยเหลือเรือประมงตามระเบียบกรมประมง พ.ศ. 2541/ตามระเบียบก.คลัง พ.ศ. 2556

กรณีเรือความยาวไม่เกิน 10 เมตร ช่วยเหลือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ลำละ 20,000 บาท กรณีเรือจม ช่วยเหลือค่ากู้เรือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 30,000 บาท กรณีเรือสูญหาย/เสียหายมาก ซ่อมแซมไม่ได้ ช่วยเหลือ ล้าละไม่เกิน 66,000 บาท กรณีเรือความยาวเกิน 10 เมตร ช่วยเหลือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 70,000 บาท กรณีเรือจม ช่วยเหลือค่ากู้เรือ ค่าซ่อมแซมเรือและอุปกรณ์ ไม่เกิน ล้าละ 95,000 บาท กรณีเรือสูญหาย/เสียหายมาก ซ่อมแซมไม่ได้ ช่วยเหลือ ล้าละไม่เกิน 200,000 บาท กรณีไม่เข้าหลักเกณฑ์การช่วยเหลือตามระเบียบกรมประมงฯ ให้ช่วยเหลือตามระเบียบกระทรวงการคลังฯ ค่าเครื่องมือประกอบอาชีพ ไม่เกินครัวเรือนละ 11,000 บาท