posttoday

อดีตรมว.คลังกังขานโยบายที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐอาจเอื้อนายทุน

06 มกราคม 2562

"ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" ตั้งข้อสงสัยนโยบายเกี่ยวกับที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐบาลอาจเป็นการนำไปให้นายทุนทำโครงการอสังหาฯ

"ธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล" ตั้งข้อสงสัยนโยบายเกี่ยวกับที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐบาลอาจเป็นการนำไปให้นายทุนทำโครงการอสังหาฯ

นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรมว.คลังได้โพสต์ข้อความแสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กตั้งข้อสงสัยนโยบายเกี่ยวกับที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐบาลที่อาจเป็นการนำไปให้นายทุนทำโครงการอสังหาริมทรัพย์หากำไร โดยมีเนื้อหาดังนี้

"ตัวอย่างที่ดินโรงงานยาสูบที่อาจจะหลุดจากกฎหมายร่วมทุนฯ (PPP)"

ผมสงสัยว่าทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ทำนโยบายเกี่ยวกับที่ดินยาสูบที่ถนนรัชดาภิเษกตัดกับถนนพระราม ๔

อาจจะเป็นขบวนการเพื่อนำที่ดินไปให้นายทุนระดับชาติทำโครงการอสังหาริมทรัพย์หากำไร ตามบันไดหลายขั้น ต่อไปนี้

ขั้นที่ ๑ เปลี่ยนโครงสร้างภาษีสรรพสามิตบุหรี่ จากเดิมที่บุหรี่ไทยได้เปรียบ กลับเป็นเสมอกับบุหรี่นอก

ขั้นที่ ๒ เมื่อราคาขายปลีกบุหรี่ไทยแพงขึ้นเสมอบุหรี่นอก โรงงานยาสูบก็เปลี่ยนจากกำไรปีละ ๑ หมื่นล้านบาท เป็นขาดทุนหลายพันล้าน

ขั้นที่ ๓ เสนอแก้ไขฐานะโรงงานยาสูบโดยตรากฎหมายจัดตั้งเป็นรัฐวิสาหกิจ ยสท. ซึ่งกำหนดให้กระทรวงคลังต้องโอนที่ดินที่ใช้งาน เข้าไปอยู่ใน ยสท.

ขั้นที่ ๔ เสนอร่างกฎหมายร่วมทุนฯ ที่ตัดโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ ออกไปจากกระบวนการควบคุมของกฎหมาย

ขั้นที่ ๕ ในอนาคต ก็จะสามารถเปิดให้นายทุนระดับชาติใช้ที่ดินนี้ เพื่อทำโครงการอสังหาริมทรัพย์ได้

โดยอำนาจพิจารณาอยู่แค่ กก.ยสท. ไม่ต้องเสนอคณะกรรมการร่วมทุนฯ (โดยตัดโครงการทำนองนี้ออกไปจากร่างมาตรา ๗ ใหม่ - ดูรูป ๗)

ผมได้ทำหนังสือ วันที่ ๑๔ พฤษภาคม ๒๕๖๑ ถึงนายกรัฐมนตรี เสนอแนะว่า การโอนอสังหาริมทรัพย์ไปให้แก่ ยสท. ควรจะจำกัดขอบเขตเฉพาะทรัพย์สินที่ ยสท. จะใช้เพื่อการยาสูบในระยะยาวเท่านั้น

แต่จะต้องไม่ทำการโอนที่ดินที่ถนนรัชดาภิเษกให้ ยสท. เพียงเพื่อใช้งานเป็นการชั่วคราว เพราะไม่เข้าลักษณะจำเป็นต่อการดำเนินกิจการของ ยสท. อย่างแท้จริงตามที่มาตรา ๓๙ บัญญัติไว้ (รูป ๑-๔)

อธิบดีกรมธนารักษ์นายอำนวย ปรีมนวงศ์ มีหนังสือ (รูป ๕-๖) แจ้งว่า

ที่ดินจุดนี้ ๕๒๗ ไร่ ทำสวน 'เบญจกิติ' ๔๕๐ ไร่ ที่เหลือ ๗๗ ไร่ ยสท. ยังคงใช้ประโยชน์เป็นโรงพยาบาลยาสูบและสำนักงานใหญ่ตามเดิม ดังนั้น กระทรวงการคลังและ ยสท. จึงไม่มีการนำพื้นที่โรงงานยาสูบไปจัดหาประโยชน์เชิงพาณิชย์แต่อย่างใด

ก็ในเมื่อมีการย้ายโรงงานไปที่อยุธยาแล้ว คนงานทั้งหมดก็จะไปอยู่ที่นั้นแล้ว ...

ผมขอถามว่า ในอนาคตอีกไม่นาน โรงพยาบาลยาสูบและสำนักงานใหญ่จะไม่ย้ายตามไปอยู่ที่อยุธยาหรือ?

ในอนาคต ที่ดิน ๗๗ ไร่ใจกลางเมืองหลวง ที่มีทัศนียภาพสุดยอด เพราะล้อมสวนป่าอันร่มรื่น จะไม่กลายเป็นที่ว่างหรือ?

ตรงนี้แหละครับ ที่ผมต้องการชี้ช่องว่า กรณีใดที่ถ้าหากจะมีการทำทุจริตเชิงกฎหมาย ก็จะต้องดำเนินการด้วยกฎหมายหลายฉบับที่สอดรับกัน เป็นกฎหมายชุด

ซึ่งโดยลำพังกฎหมายฉบับหนึ่ง ที่เพียงแค่ปลดล๊อคประตู ในขณะที่บานประตูยังปิดอยู่อาจจะดูไม่เป็นอันตรายต่อประเทศ ...

จนกระทั่งเกิดกฎหมายฉบับที่สอง ที่เปิดบานประตูเพื่อแสวงหาประโยชน์

ผู้อ่านคงเข้าใจแล้วนะครับ ทำไมผมจึงคัดค้านการแก้ไขร่างมาตรา ๗ ของกฎหมายร่วมทุนฉบับใหม่ (ดูหนังสือเปิดผนึกถึงประธาน สนช. ใน Note)

อดีตรมว.คลังกังขานโยบายที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐอาจเอื้อนายทุน

อดีตรมว.คลังกังขานโยบายที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐอาจเอื้อนายทุน

อดีตรมว.คลังกังขานโยบายที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐอาจเอื้อนายทุน

อดีตรมว.คลังกังขานโยบายที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐอาจเอื้อนายทุน

อดีตรมว.คลังกังขานโยบายที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐอาจเอื้อนายทุน

อดีตรมว.คลังกังขานโยบายที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐอาจเอื้อนายทุน

อดีตรมว.คลังกังขานโยบายที่ดินโรงงานยาสูบของรัฐอาจเอื้อนายทุน