posttoday

การประมูลของรัฐ

23 ธันวาคม 2558

โดย...กิติชัย เตชะงามเลิศ นักลงทุนหุ้นและอสังหาริมทรัพย์

โดย...กิติชัย เตชะงามเลิศ นักลงทุนหุ้นและอสังหาริมทรัพย์

การประมูลคลื่น 1,800 และ 900 MHz ของกสทช. ได้สร้างความแปลกใหม่และดึงดูดความสนใจจากประชาชน จากการที่ราคาประมูลวิ่งไปแรงและไกลกว่าที่ทุกๆคนจะจินตนาการถึง กระทั่งตัวผู้เข้าร่วมประมูลเองก็คงไม่คาดว่าราคาจะไปสิ้นสุดที่ราคาสูงขนาดนั้น โดยคลื่น 900 MHz ประมูลไปเมื่อเดือนพฤษจิกายนราคาเริ่มต้นประมูลที่ 15,912 ล้านบาท มี 2 ใบอนุญาต แต่ละใบม อายุ 18 ปี และขนาดของคลื่น 15 MHz โดยราคาไปสิ้นสุดที่ 39,792 ล้านบาท (เฉลี่ยค่าใบอนุญาตตกปีละ 2,210 ล้านบาท)สำหรับใบแรกโดย TRUE เป็นผู้ชนะ

ส่วนใบที่สองไปสิ้นสุดที่ 40,986 ล้านบาท โดย AIS เป็นผู้ชนะ 2 ใบรวมเป็นเงิน 80,778 ล้านบาท สูงกว่าราคาตั้งต้น 48,954 ล้านบาท คิดเป็นราคาที่เพิ่มขึ้น 153.83% โดยราคาประมูลที่สูงขึ้นมากเกิดจากการที่มีผู้เล่นรายใหม่อย่าง JAS ที่ต้องการเข้ามาทำธุรกิจการให้บริการมือถือด้วย เพื่อต่อยอดธุรกิจเดิมที่เป็น BROADBAND INTERNET และ WIFI ธุรกิจจะได้ครบถ้วนแข่งขันกับ TRUE และ AIS ที่มี 2 ธุรกิจนี้เช่นกัน และแนวโน้มการใช้งานในอนาคตของคนรุ่นปัจจุบันมีการใช้งานจาก MOBILE  มากขึ้นเรื่อยๆ จากราคาของ SMART PHONE ที่ถูกลงเรื่อยๆ โดยมีประสิทธิภาพในการทำงานที่สูง โดยปัจจุบันมือถือเครื่องเล็กๆสามารถทำอะไรต่อมิอะไรได้น้องๆ NOTEBOOK เลยทีเดียว บวกกับชีวิตที่เร่งรัด และการชอบใช้ SOCIAL MEDIA ของคนไทยอย่างมากจนเราติดอันดับผู้ใช้ FACEBOOK  INSTAGRAM และLINE ในระดับโลกเลยทีเดียว ปริมาณการใช้ DATA ผ่านมือถือมีอัตราเติบโตอย่างน่าตกใจมาโดยตลอด และยังมีแนวโน้มการเติบโตสูงขึ้นไปเรื่อยๆ จากความต้องการคุณภาพของถาพโดยเฉพาะ VDO ที่มีความละเอียดสูงขึ้นทำให้ 4G ช่วยตอบโจทน์เหล่านี้ได้ดีขึ้น

ผู้เล่นหลักรายเดิม 3 ราย คือ AIS DTAC และTRUE โดยเฉพาะรายที่ 1 และ 3 จึงได้แข่งขันประมูลราคาจนไปแตะระดับ 40,000 ล้าน เพื่อกีดกันผู้เล่นรายใหม่อย่าง JAS โดย DTAC ถอดใจตั้งแต่ราคา 10,504 ล้านบาท ในขณะที่ JAS สู้ยิบตาจนถึง 38,996 ล้านบาท (เมื่อผู้เสนอราคาสูงสุดที่ 14,625 ล้านบาท) ส่วนการประมูลคลื่น 900MHz ที่เพิ่งจะจบไปเมื่อเร็วๆนี้ ได้สร้างสถิติใหม่ของการประมูล คือใช้เวลาประมูลยาวนานถึง 66 ชม. ทำเอาประมูลคลื่น 1,800 MHz เมื่อเดือน พฤษจิกายนที่ว่านานถึง 33 ชม ชิดซ้ายไปเลย โดยคลื่น 900 MHz นี้มีอายุของใบประมูลเพียง 15 ปี และมีขนาดของคลื่นใบละ 10 MHz เท่านั้น โดยใบแรกจะใช้งานได้ไม่เต็ม 10MHz

โดยผู้ชนะคือ JAS คว้าใบอนุญาตแรกที่ 75,654 ล้านบาท (เฉลี่ยค่าใบอนุญาตปีละ 5,046.60 ล้านบาท) ในขณะที่ TRUE คว้าใบอนุญาติที่สองไปที่ 76,298 ล้านบาท (เฉลี่ยค่าใบอนุญาตปีละ 5,086.56 ล้านบาท) ถ้าคิดต่อ MHz แล้ว JAS ประมูลแพงกว่า TRUE เสียอีก รวม 2 ใบทำรายได้เข้ารัฐไป 151,952 ล้านบาท และเมื่อรวมใบอนุญาตคลื่น 1,800 ที่ประมูลไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนอีก 2 ใบ จะเป็นรายได้เข้ารัฐทั้งสิ้น 232,730 ล้านบาท นับว่าน่าอัศจรรย์จริงๆ กับการประมูลของคลื่นที่จับต้องไม่ได้ แต่สามารถทำให้รัฐมีรายได้มากขนาดนี้ เอาไปทำรถไฟฟ้าได้ถึง 3 สายเลยทีเดียว หวังว่ารัฐคงจะนำเม็ดเงินนี้ไปใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่า ไม่นำไปตำน้ำพริกละลายน้ำ ควรจะใช้ในโครงการที่สร้างสาธารณุปโภคเพื่อความสะดวกสะบายของประชาชนและนักลงทุน

จากผลลัพธ์ที่ได้จากการประมูลครั้งนี้ ควรจะชี้ทางสว่างให้กับหน่วยงานรัฐอื่นๆที่ควรจะจัดให้มีการประมูลในโครงการที่มีมุลค่าตั้งแต่ 5,000 ล้านบาท ใจจริงอยากให้เป็นตั้งแต่ 1,000 ล้านบาท ต้องมีการจัดการประมูลในลัษณะแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งโครงการใหญ่ๆ แบบรถไฟฟ้า รถไฟรางคู่ ฯลฯ ที่เราจะมีการจัดการประมูลในปีหน้า ถ้าทำให้โปร่งใสแบบที่ กสทช. ทำในคราวนี้ และเปิดโอกาสให้ต่างชาติสามารถเข้าประมูลได้อย่างเต็มที่จะทำให้ราคาของแต่ละโครงการของรัฐจะมีราคาที่ถูกลง ซึ่งเรากำลังจะมีโครงการมากมายในปีหน้าด้วย ควรจะประหยัดเงินรัฐไปได้อีกโข และจะทำให้ประเทศไทยในสายตาของชาวโลกเป็นประเทศที่มีการแข่งขันแบบยุติธรรม จะทำให้เมื่อจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยก็จะมีการไต่อันดับที่สูงขึ้น ประชาชนก็จะมีความกินดีอยู่ดีมากขึ้น ต่างชาติเข้ามาลงทุนมากขึ้น ต้นทุนสินค้าและบริการจะถูกลงจากการแข่งขันอย่างเสรี ไม่ใช่การอั้วราคาแบบในอดีต ทำให้แต่ละโครงการของรัฐแทนที่จะราคาถูกกลับกลายเป็นแพง เพราะว่ารายใหญ่ไม่กี่รายฮั้วราคากัน

กลับมาที่การแข่งขันในธุรกิจการให้บริการมือถือ คงจะมีการเปลี่ยนแปลง เนื่องจากมีรายใหม่เข้ามา อย่างไรก็ตามการรับน้องใหม่โดยแข่งขันประมูลบ้าเลือดไปถึงระดับราคาที่สูงปรี้ดขนาดนั้น คงทำให้ต้นทุนค้ำคอ JAS ที่เริ่มจากศุนย์และยังต้องเตรียมเงินสำหรับสร้างเครือข่าย น่าจะไม่ทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงมากแบบที่คนในตลาดหุ้นเกรงกัน อนึ่งตัวผู้บริหาร JAS ย่อมซาบซึ่งดีกว่าเพื่อนในกรณี TT&T ที่ประมูล FIXED LINE (โทรศัพท์พื้นฐานในอดีต)  แล้วผลลัพท์เป็นอย่างไร อย่างที่เราเห็นๆกัน แต่บอกได้คำเดียวว่า งานนี้ JAS เหนื่อยสุดครับ