posttoday

“ปรับตัวอย่างไรให้เป็น Smart and Fast SME”

28 กรกฎาคม 2563

คอลัมน์จับทิศธุรกิจเอสเอ็มอี

ในสภาวะที่เราต่างกังวลเกี่ยวกับสถาณการณ์โควิด 19 ที่จะกลับมาระบาดรอบ 2 และแถลงการปรับลด GDP จากธนาคารแห่งประเทศไทย จาก -5.3% เหลือเพียง -8.1%

และสถาณการณ์ทั่วโลกยังไม่มีทีท่าจะดีขึ้น จึงเป็นโจทย์ใหญ่ให้ SME ต้องปรับตัวเพื่ออยู่ให้รอดทำอย่างไร?

1. ทำตัวให้เล็กและเคลื่อนที่ให้เร็ว

ในอดีตทำการค้าต้องวางแผนขยายให้ใหญ่ขึ้น สาขาต้องมากขึ้น แต่เดี๋ยวนี้ยิ่งใหญ่ยิ่งอุ๊ยอ้าย เดินช้า เราต้องปรับองค์กรให้เล็ก กระจายความเสี่ยง จ้างภายนอกOutsource ซึ่งอดีตการจัดจ้างข้างนอกเป็นเรื่องยากในการควบคุมคุณภาพ และจำนวนสต๊อก

แต่เดี๋ยวนี้เราสามารถใช้เทคโนโลยีที่มีเข้ามาควบคุม โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป ซึ่งเป็นการลงทุนที่ต่ำกว่าจะนั่งผลิตเองทั้งระบบ

2. มองหาพันธมิตร

ขยายฐานตลาดการที่ SME จะต้องแบกภาระ Fix Cost ค่าจ้างเซลล์ช่วยจำหน่ายสินค้าเพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายประจำ ลองมองหาพันธมิตรมาช่วยขยายตลาดแล้วยอมจ่ายค่าคอมมิตชั่นที่สูงขึ้น แต่จ่ายตามจริง เพื่อให้ทั้งเขา และเราอยู่รอด

3. โฟกัสสินค้าเฉพาะกลุ่ม

จงเป็นที่ 1ในใจคน ดีกว่าเป็นตัวสำรองของคนทั่วไป ข้อนี้ต้องกาดอกจัน ตัวโตๆ เพราะ SME ส่วนมากจะติดกับดักการผลิต Productivity เน้นผลิตสินค้ามาก ขายมาก โดยไม่โฟกัสกลุ่มลูกค้าทำให้เกิด Over Stockกว่าจะรู้ตัวเกิดภาวะสต๊อกบวมต้องเทขายสินค้าขาดทุน

4. ถือครองกระแสเงินสดให้นานที่สุด

เพราะสงครามครั้งนี้เพิ่งเริ่มต้น และเรายังไม่เห็นวี่แววจุดสิ้นสุดเมื่อไหร่การถือกระแสเงินสด เหมือนเรามีกระสุนพร้อมออกรบ การเจรจาเจ้าหนี้ยืดอายุการผ่อนชำระ เร่งขายสินค้าเพื่อถือกระแสเงินสด ช่วยให้ SME มีทางรอดเพิ่มขึ้น SME ไทย ถือเป็นฟันเฟืองเล็กๆ แต่มีความสำคัญมาก เพราะหากขาดชิ้นใดชิ้นหนึ่งไป

นั่นหมายถึง เครื่องยนต์เศรษฐกิจตัวนี้อาจพังพินาศ อยากฝากทีมเศรษฐกิจในรัฐบาล ผ่อนปรนมาตรการเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำเพื่อเติมถังอ๊อกซิเจนให้พวกเค้ามีชีวิตรอด