posttoday

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

31 มีนาคม 2563

คอลัมน์ Great Talk

ถึงคุณเกรทครับจำนวนผุ้ติดเชื้อหรือผู้เสียชีวิตต่างๆ ที่ในโซเชียลแชร์กันนั้น ช่วยเราได้อย่างไรบ้าง ปัจจุบันผมและที่บ้านเครียดเหลือเกินเห็นผู้ป่วยติดเชื้อเพิ่มขึ้นรายวัน วันๆไม่ต้องเป็นอันทำอะไรแล้ว นั่งดูตัวเลขตลอด ผมอยากถามว่ามันมีประโยชน์อะไรนอกจากให้เรานอยด์เล่นไหมครับ เพราะ บางทีพอรู้แล้วก็ทำอะไรไม่ได้เลยได้แต่ป้องกันตัวเองอย่างเดียว

จาก ต้อม

ถึง คุณต้อมครับ พอคุณต้อมพูดถึงตัวเลขผมนี่ต้องไปหาข้อมูลตัวเลขมาเพื่ออธิบายเลยครับ เพราะการวิเคราะห์ตัวเลขต้องหาแหล่งอ้างอิงที่ชัดเจน เพราะปัจจุบันสื่อออนไลน์รวดเร็วเหลือเกินครับ เราได้รับประโยชน์อะไรนอกเหนือจากความนอยด์ ฉบับนี้ผมขอแชร์วิธี วิเคราะห์ครับข้อมูลผู้ติดเชื้อโควิท 19 ทั่วโลกปัจจุบัน มีจำนวน 722,082 เสียชีวิต 33,966 รักษาหาย 151,330 คน

*ข้อมูลผู้ติดเชื้ออัพเดตวันที่ 30 มีนาคม 2563

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

คิดเป็น 4.704% ของผู้เสียชีวิตและ 20.957% ของผู้รักษาหาย ทั่วโลกตัวเลขสำคัญอย่างไร? หากเราใช้แนววิเคราะห์ Data Analysis เราจะเห็นเทรนด์แนวโน้มของประเทศที่ติดเชื้อได้อย่างชัดเจน ว่าหากเราคัดเลือกจาก Top 10 ประเทศที่ติดเชื้อสูงสุดได้แก่

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

ประเทศดังกล่าวล้วนเป็นประเทศที่ทั่วโลกต่างรู้จักและมีการเดินทางติดต่อธุรกิจการค้าและท่องเที่ยวเป็นจำนวนมากคราวนี้เรามาดู Top 10 ประเทศที่มีผู้ติดเชื้อน้อยกันบ้างได้แก่

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

รายชื่อประเทศหรือพื้นที่เหล่านี้ คุณต้อม คนทั่วไปย่อมไม่คุ้นเคยอย่างแน่นอน ยกตัวอย่างประเทศโซมาเลีย มีพื้นที่ 637,661 ตร.กม. ประชากรประมาณ 9.1ล้านคน คิดเป็นความหนาแน่น 13คน/ตร.กม. หมายถึง 1 ตาราง กิโลเมตร มีคน อยู่ 13 คน (จังหวัดสกลนคร ประเทศไทย ความหนาแน่น 120คน/ตร.กม)ผู้ติดเชื้อ 1 คนจะสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ 2.2 คนดังนั้น ความหนาแน่นของจำนวนประชากรเป็นตัวแปรสำคัญต่อการกระจาย เชื้ออย่างแน่นอน ประเทศไทยปัจจุบัน(30มีนาคม)มีจำนวนผู้ติดเชื้อ 1,524 คน (0.211%) อยู่ในอันดับ 34เสียชีวิต 7คน (0.021%) อยู่ในอันดับที่ 60รักษาหาย 229 คน (0.151%) อยู่ในอันดับที่ 18 ของโลก

ค่าการคำนวนดังกล่าวเป็นจำนวนต่อผู้คนทั้งโลกที่ติดเชื้อ บุคคลากรแพทย์ของไทย มีการรักษาไวรัสโควิด นี้ ประสิทธิภาพเป็นอันดับที่ 18 ของโลก!!! จากข้อมูลข้างต้นนี้ผมเองต้องนับถือในความทุ่มเทของทีมแพทย์ทั้งหมดรวม ไปถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ระดมทั้งกำลังและมันสมองทั้งหมดทำให้ ประเทศไทยมีตัวเลขการรักษาที่สูงมาก โดยเปอร์เซนต์การรักษาคนในประเทศให้หายได้แล้วนั้น สูงถึง 15% ใกล้เคียงกับมาเลเซียซึ่งถือว่าเป็นประเทศที่มีการแพทย์และเทคโนโลยีที่ยอดเยี่ยมเช่นกัน

ดังนั้นจุดเปลี่ยนของวิกฤติโคโรน่านี้ คือ การทำให้ค่าความชันของตัวเลขการติดที่น้อยลง (ผมไม่ขอยกตัวอย่างการสร้างกราฟหาค่าความชันนะครับเดี๋ยวจะเยอะไป) สิ่งที่คุณต้อมบอกว่า "ได้แต่ดูแลตัวเองอย่างเดียว" นั้นเป็นคำตอบที่ถูกต้อง แล้วครับเพราะเราต้องกักกันตัวเอง โดยการกักกันพื้นที่และสังคม (social distance)ให้มีการพบปะน้อยลง เพราะถ้าหากผู้ที่มีความเสี่ยงน้อยลง ผมเชื่อว่าแพทย์ไทยน่าจะรับมือได้และเราน่าจะผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างรวดเร็ว

ฉบับนี้หวังว่าคุณต้อมน่าจะพอได้ไอเดียจากการเห็นตัวเลขเพิ่มขึ้นนะครับ ผมยังมีของฝากเป็นตัวเลขให้คุณต้อมเพิ่มด้วยครับ เป็นตัวเลขที่คำนวนต่อเป็นเปอร์เซนต์ของประเทศทั้ง 200 ประเทศครับ แล้วพบกันฉบับหน้าครับ

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

แก้วิกฤตโควิดด้วย Data Analysis

ขอบคุณข้อมูลจากhttps://www.who.int/docs/default-source/searo/thailand/20200306-tha-sitrep-15-covid-19- finalth.pdf?sfvrsn=5f11f10a_0https://tmc.or.th/pdf/tmc_knowlege-26.pdfhttps://www.worldometers.info/coronavirus/#countries