posttoday

ขึ้นเหนือเที่ยวอาณาจักร“น่านเจ้า”ยลชุมชนไทลื้อ

21 มีนาคม 2564

โดย อุทัย มณี

*********************

เป็นอนุจรติดตาม “พระเทพปวรเมธี” รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ขึ้นมาจังหวัดน่าน เพื่อมาร่วมงานพระราชทานเพลิงศพ พระเทพนันทาจารย์ อดีตเจ้าคณะจังหวัด

ถือว่าเป็นครั้งแรกในชีวิตที่มาจังหวัดน่าน จังหวัดน่านเป็นจังหวัดที่มีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขา ทิวทัศน์สวยงาม ผู้คนมีจิตใจไมตรีอารีย์ดั่งคนเหนือทั่วไป คือ อ่อนหวาน ยิ้มแย้มแจ่มใจ ใกล้ชิดกับพระพุทธศาสนา

ขึ้นเหนือเที่ยวอาณาจักร“น่านเจ้า”ยลชุมชนไทลื้อ

สถานที่คณะพวกเราไปพักหลังจากลงจากสนามบินก็คือ “วัดภูเก็ต” วัดนี้เป็นชื่อของชุมชน “ไทลื้อ” ที่อนุรักษ์วิถีชีวิตและรูปแบบศิลปวัฒนธรรมของตนไว้อย่างแน่วแน่น

ที่นี้มี “พระเทพเวที” รักษาการเจ้าคณะภาค 6 รองอธิการบดีฝ่ายกิจการนิสิต มจร เป็นเสมือนเจ้าอาวาสตัวจริง คอยต้อนรับในฐานะ “เจ้าถิ่น”

วัดภูเก็ต มีโรงแรมระดับ 4 ดาวเรียกว่า “โรงแรมธรรมะ” ทิวทัศน์ตั้งอยู่บนเนินเขา มองไปด้านล่างเห็นบ้านเรือนผู้คนและท้องนา ภูเขาสวยงามตระการตา

วัดภูเก็ต มีโรงเรียนพระปริยัติธรรมมีสามเณรมาเรียนประมาณ 120 รูป และที่นี่สามเณรค่อนข้างมีคุณภาพสอบติดมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงทุกปี

วัดภูเก็ต เป็นวัดที่ตั้งอยู่ใจกลาง “หมู่บ้านเก็ต” ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีอายุหลายร้อยปีของชุมชน  “ไทลื้อ”

ขึ้นเหนือเที่ยวอาณาจักร“น่านเจ้า”ยลชุมชนไทลื้อ

ด่านล่างของวัดมีทั้ง “ถนนคนเดิน” และ “ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน” หรือ สินค้า otop ของชุมชนไทลื้อ  โดยการสนับสนุนของ กรมการพัฒนาชุมชน เป็นหลัก

เท่าที่ฟังจากพระเทพเวที พระคุณเจ้าถือว่า “เป็นคนรักบ้านเกิด” จริง ๆ เป็นสะพานบุญเชิญ ชวน เชื่อม ชวนคนเมืองกรุง มาช่วยบ้านเกิดท่าน เฉพาะตัวเงินที่ท่านนำมาพัฒนาวัด,โรงเรียน,ชุมชน “ไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท”

และที่นี้ท่านมีพยายามไม่ให้คนในชุมชน ญาติพี่น้องท่าน “ขายที่ดิน” รักษาประเพณี รักษาเครือข่ายระบบญาติพี่น้องไว้ในชุมชนอย่างเหนียวแน่น เนื่องจากหากคนในชุมชนอื่นหรือต่างถิ่นอื่นมาอยู่ พระคุณเจ้ากลัว “แตกสามัคคี”

คนที่นี้ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม,ผลิตภัณฑ์ชุมชนผ้าทอมือ,กะละแมไทลื้อสูตรโบราณบ้านเก็ต เลี้ยงชีพไม่ค่อยมีคนไป “ขายแรงงานเมืองใหญ่ หรือเมืองกรุงกันมาก”

ไม่ไกลจากวัดภูเก็ตมากนักมี “ โคก หนอง นาโมเดล” ด้วย เนื่องจากจังหวัดน่านเป็นเมืองเกษตรคนจึงสนใจเยอะสมัครเข้าร่วมโครงการมากถึง 273 ครัวเรือน สำหรับการจ้างงานคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิดที่ภาษาโคกหนองนาเรียกว่า “นักพัฒนาต้นแบบ” จังหวัดน่านมี 248 คน และตอนนี้กำลังอบรมสู่เข้ารุ่นที่ 7 แล้ว

ขึ้นเหนือเที่ยวอาณาจักร“น่านเจ้า”ยลชุมชนไทลื้อ

โดยเฉพาะอำเภอปัว มีผู้เข้าร่วม 15 ครัวเรือน แอบไปดูพื้นที่ทำโคก หนอง นาโมเดลขนาด 1 ไร่ของคุณอุทิศ จิตอารี ที่นี้เขาทำอยู่ก่อนแล้ว เป็นศูนย์เรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ด้วย

ปัญหาหนึ่งเท่าที่ฟังจากพัฒนากรและนักพัฒนาต้นแบบอำเภอปัว ประสบปัญหาเรื่อง “ช่างออกแบบและควบคุมขุดบ่อ” เพราะกรมพัฒนาชุมชนไม่มีช่างออกแบบหรือช่างควบคุมงานและตรวจงาน วิธีแก้ปัญหาตอนนี้คือ ขอช่างจากหน่วยงานท้องถิ่นและให้ทหารมาช่วย..

ภาคบ่ายไกด์กิตติมศํกดิ์ รก.เจ้าคณะภาค 6 “พระเทพเวที” พาเที่ยววัด พาเที่ยวพระธาตุเก่าแก่อายุรุ่นเดียวกับยุคสุโขทัย ที่ท่านไปบูรณะเอาไว้ ทำบรรไดพญานาคสวยงาม พาไปกราบวัดชุมชนไทลื้อเก่าแก่

ยอมรับเลยว่า.. จังหวัดน่านมีเสน่ห์มีแหล่งท่องเที่ยวนอกจากธรรมชาติที่สวยงามอากาศดีติดอันดับแล้ว ศิลปะวัฒนธรรมชุมชนมีเสน่ห์น่าชมมากจริง ๆ เสียดายเวลามีน้อย

หากมีโอกาส..จะกลับมาอีกครั้งอย่างแน่นอน......

ขึ้นเหนือเที่ยวอาณาจักร“น่านเจ้า”ยลชุมชนไทลื้อ