posttoday

แสวงบุญ..เมืองมัณฑะเลย์กับวัดธรรมกาย  ตอน 1

15 ธันวาคม 2562

โดย อุทัย มณี (เปรียญ)

โดย อุทัย มณี (เปรียญ)

ตลอดชีวิตการเป็นนักข่าว 15 ปีมานี้ มีหลายองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน หรือแม้กระทั้งวัดหลายวัดทั้งในประเทศและต่างประเทศ พยายามชวนให้ผู้เขียนร่วมเดินทางไปแสวงบุญ ไปดูงานหรือไม่ก็ให้ไปร่วมกิจกรรมที่หน่วยนั่น ๆ จัดขึ้นแบบ “ไปฟรี กินฟรี และอยู่ฟรี” ผู้เขียนปฎิเสธทุกครั้งไป บางเวลาอ้างว่าติดงาน บางเวลาก็อ้างว่าติดภารกิจโน้นนั่นนี่เป็นข้ออ้าง ๆ แต่ในความจริงผู้เขียนมีปัญหามากที่สุดเวลาไปร่วมงานประเภทนี้ที่ต้องปฎิเสธทุกครั้งคือ ผู้เขียนมีปัญหา “ชอบนอนคนเดียวและมีปัญหาเรื่องตื่นเช้า” ซึ่งนี้คือ จุดบอด ไม่เคยไปร่วมกับคณะไหน ๆ เลยในชีวิตการเป็นนักข่าว

แสวงบุญ..เมืองมัณฑะเลย์กับวัดธรรมกาย  ตอน 1

แต่เมื่อประมาณ 2 เดือนที่แล้วเจอ พระมหานพพร ปุญฺญชโย ป.ธ.9  รองผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร วัดธรรมกายที่มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ท่านเมตตาชวน โดยแจ้งว่า “ไปสร้างบุญไปร่วมตักบาตรพระ 30,000 รูป” ณ เมืองมัณฑะเลย์ ในเดือนธันวาคมปีนี้

เมืองมัณฑะเลย์ผู้เขียนไปมาแล้ว 4 ครั้งทั้งในฐานะเลขาธิการสมาคมการค้าไทย -เมียนมา,ทั้งในฐานะนักท่องเที่ยวและในฐานะผู้ติดตามพระคุณเจ้าพระศรีสุทธิเวที เลขานุการเจ้าคณะภาค 9 วัดอรุณราชวราราม มีความสนิทสนมกับหลายคนที่นั้น ร่วมทั้งพระสงฆ์มอญด้วย เวลาผู้เขียนไปมีคหบดีมอญและพระมอญ ซึ่งมีวัดตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับพระมหามัยมุนีมาคอยต้อนรับและส่งที่สนามบินทุกครั้ง ครั้งนี้เลยมีความตั้งใจว่าเมื่อไปร่วมตักบาตรกับวัดธรรมกายครั้งนี้แล้วก็จะแวะไปกราบนมัสการทำบุญกับท่านเนื่องในเทศกาลปีใหม่ด้วยจึงตอบตกลงรับปากไปกับท่านมหานพพร ปุญฺญชโย

กำหนดวันเดินทางในวันศุกร์ที่ 6 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีจุดนัดพบ ณ ศูนย์อำนวยการสื่อมวลชน วัดธรรมกาย มีคณะต้อนรับต้องบอกว่า “ประหลาดใจ” ผู้เขียนรับใช้วัด รับใช้พระสงฆ์และองค์ทางศาสนามาหลายองค์กร “ไม่เคยมีมืออาชีพ” เท่านี้ ส่วนใหญ่เวลาวัดหรือพระสงฆ์ชวนเราไปร่วมงานบุญในลักษณะนี้ ดีที่สุดที่เคยได้รับคือ “อนุโมทนาบุญ” การดูแลนักข่าว สื่อมวลชนของวัดธรรมกายทำแบบ “มืออาชีพ” แม้ผู้เขียนจะขับรถวนรอบวัดธรรมกายคณะที่ดูแลทีมนักข่าวรวมทั้งพระภิกษุ “ต้องรอ” แต่เมื่อเจอหน้า “ท่าทางก็เป็นมิตรยิ้มแย้มแจ่มใส” อ่อนน้อมถ่อมตนได้การต้อนรับอย่างดี “อันนี้คือเสน์ห์” ของคณะศิษย์วัดธรรมกายอันหนึ่งที่ทำให้ผู้คนจำนวนมาก “ศรัทธาวัดแห่งนี้” สมกับคำว่า “เป็นกัลยาณมิตร”

แสวงบุญ..เมืองมัณฑะเลย์กับวัดธรรมกาย  ตอน 1

เมื่อถึงสนามบินมีคณะสื่อมวลชนหลายสำนักร่วมเดินทางไปด้วยทุกคนก็ได้รับการอำนวยความสะดวกที่ดีจากฝ่ายสื่อสารองค์กร ซึ่งมีน้องยิ้ม กับพี่โต เป็นคนดูแล ส่วนท่านมหานพพร ปุญฺญชโย ล่วงหน้าไปหลายวันแล้วซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กรแจ้งว่า จะรอต้อนรับคณะเราอยู่ที่สนามบินเมืองมัณฑะเลย์

เมื่อไปถึงสนามบินมัณฑะเลย์ มีพระมหานพพร พี่เกด เจ้าหน้าของวัดที่ดูแลนักข่าวต่างประเทศ พร้อมกับมัคคุเทศก์ชื่อ  “โตโน่” คอยต้อนรับ โตโน่ หนุ่มชาวพม่า พูดไทยคล่อง อัธยาศัยดี มีภรรยาเป็นชาวมอญ อาศัยอยู่แถวประตูน้ำ แต่เวลาวัดธรรมกายมีงานในลักษณะนี้โตโน่จะมาให้บริการเกือบทุกครั้ง สนามบินเมืองมัณฑะเลย์อยู่ห่างจากตัวเมืองมัณฑะเลย์ขับรถประมาณ 40 นาที และจุดแรกที่คณะเราจะไปเที่ยวกราบพระกันคือ เจดีย์หยก อันเลื่องชื่อของเมื่องมัณฑะเลย์

เมื่อขึ้นรถเรียบร้อย พระมหานพพร ปุญฺญชโย ป.ธ.9 รองผู้อำนวยการสำนักสื่อสารองค์กร ทำหน้าที่เป็นมัคคุเทศก์บรรยาย ความเป็นมาของงานว่า การจัดทำบุญตักบาตรในคราวนี้จำนวน 30,000 รูป ครั้งแรก 10,000 รูป ครั้งที่สอง 20,000 รูป และครั้งนี้จำนวน 30,000 รูป โดยทางมูลนิธิวัดพระธรรมกายร่วมกับรัฐบาลท้องถิ่นมัณฑะเลย์ จัดขึ้นและได้มีการเตรียมการมาแล้ว 6 เดือน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่รัฐบาลท้องถิ่นและคหบดีชาวพม่าเป็นคนออก โดยจะจัดที่สนามบินเก่าเมืองมัณฑะเลย์ พร้อมกันนี้พระคุณเจ้าก็บรรยายความเป็นมาของประเทศเมียมา ลักษณะพฤติกรรมชาวเมียนมา ภูมิประเทศและสถานที่ ๆเราจะไป หากไม่เห็นหน้าไม่รู้ว่าเสียงใคร “นึกว่ามัคคุเทศก์มืออาชีพ” เพราะท่านค่อนข้างทำการบ้านมาดี ทำให้พวกเราเพลิดเพลินกับคำบรรยายของท่านที่แฝงได้ด้วยสาระความรู้ของประเทศเมียนมา

หลังจากแวะพักดื่มน้ำชา ทานอาหารกันเรียบร้อย จุดแรกที่ไปคือ “พระเจดีย์หยก” หรือชื่ออย่างเป็นทางการว่า "พระเวรสนาเจดีย์ "ที่เรียกว่าพระเจดีย์หยก ก็เพราะว่า ทั้งด้านในและด้านนอกประดับด้วยหยกแผ่น หยกก้อนอันใหญ่ไปทั่วทั้งองค์พระเจดีย์นั่นเอง สร้างโดยคหบดีเศรษฐีชาวพม่าคนเดียวที่อดีตเป็นพนักงานขับรถตอนหลังร่ำรวยจากการค้าขายอัญมณี หยก จึงบริจาคทรัพย์ประมาณ 500 ล้านบาทสร้างเจดีย์แห่งนี้ไว้ในพระพุทธศาสนา

ตอนหน้าจะเล่าต่อสถานที่แหล่งท่องเที่ยว สำคัญ ๆ ในเมืองมัณฑะเลย์ “พระมหามัยมุนี”  ซึ่งเป็น 1 ใน 5 สิ่งศักดิ์สิทธิ์ในพม่า ทั้ง “สะพานอูเบ็ง” สะพานไม้สักที่เก่าแก่และยาวที่สุดในโลก ความยาว 1.2 กิโลเมตร เจดีย์มิงกุน" หรือ “เจดีย์จักรพรรดิ"  หรือแม้กระทั้งเจดีย์ชินพิวเม ที่ได้ชื่อว่าเป็น “ทัชมาฮาลแห่งลุ่มน้ำอิระวดี” มีความเป็นมาอย่างไร แต่ที่สำคัญที่พลาดไม่ได้ งานบุญตักบาตรพระจำนวนมากถึง 30,000 รูป วัดธรรมกายเขามีวิธีบริหารจัดการอย่างไร..

แสวงบุญ..เมืองมัณฑะเลย์กับวัดธรรมกาย  ตอน 1

แสวงบุญ..เมืองมัณฑะเลย์กับวัดธรรมกาย  ตอน 1

แสวงบุญ..เมืองมัณฑะเลย์กับวัดธรรมกาย  ตอน 1