posttoday

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา

25 สิงหาคม 2562

ผังการสร้างถาวรวัตถุ คล้ายกับวัดโสมนัสวิหาร คือ มีพระเจดีย์ประธานสีทองขนาดใหญ่ ด้านหลังพระอุโบสถ ในขณะที่พระอุโบสถก็ตกแต่งหน้าบันอย่างงาม บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ ที่งามตระการตายิ่งคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนสมัยรัชกาลที่ 5

โดย สมาน สุดโต

กรมศิลปากรจัดโครงการเผยแพร่มรดกศิลปวัฒนธรรมของชาติ ประจำปี 2562 เรื่อง เปิดตำนานวังหน้า จากอดีตถึงปัจจุบันที่จ.พระนครศรีอยุธยา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2562

สถานที่เกี่ยวกับวังหน้า หรือพระราชวังจันทร์เกษม นอกจากที่เกี่ยวข้องกับพระราชกรณียกิจสมเด็จพระนเรศวรมหาราชแล้ว วัดที่ใกล้กับวังจันทร์เกษม เช่นวัดเสนาสนาราม หรือวัดเสนาสน์ ก็อยู่ในลิสต์ที่กรมศิลป์นำชมด้วย

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา

ข้อมูลที่กรมศิลป์จัดให้บอกว่า วัดนี้อยู่ติดกับวังหน้า หรือวังจันทร์เกษม เดิมชื่อวัดเสือ เมื่อกรุงศรีอยุธยาตกเป็นของพม่าใน พ.ศ.2310 วัดเสือก็ทิ้งร้าง ได้รับการบูรณะและปฏิสังขรณ์ให้เป็นวัดที่งดงามอีกครั้งในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โดยให้เป็นวัดในสายธรรมยุต ที่ตั้งในภูมิภาคแห่งแรก

สิ่งที่เราพบเห็นก่อนเข้าวัดคือ ซุ้มประตูขนาดคนเดินสวนกันได้ มีปูนปั้นพระมงกุฎขนาบด้วยเศวตรฉัตร ประตูวัดเช่นนี้เห็นได้ในวัดธรรมยุตทั่วไป เช่น วัดราชบพิธสถิตมหาสีมาราม หรือ วัดราชประดิษฐ์ เป็นต้น

ผังการสร้างถาวรวัตถุ คล้ายกับวัดโสมนัสวิหาร คือ มีพระเจดีย์ประธานสีทองขนาดใหญ่ ด้านหลังพระอุโบสถ ในขณะที่พระอุโบสถก็ตกแต่งหน้าบันอย่างงาม บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ ที่งามตระการตายิ่งคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง เขียนสมัยรัชกาลที่ 5 เล่าเรื่องพระราชพิธี 12 เดือน เทพชุมนุม ประวัติศาตร์ และเหตุการณ์สำคัญในสมัยรัชกาลที่ 5

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา

จากพระอุโบสถ เป็นวิหารพระนอนขนาดใหญ่ นำมาจากวัดมหาธาตุ อยุธยานั่นเอง เป็นพระพุทธรูปศิลาแบ่งเป็นท่อนแล้วนำมาต่อด้วยกัน ลงรักปิดทองงามเลิศทีเดียว
ติดกับวิหารพระนอน เป็นวิหารพระอินทร์แปลง

เป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมริด ศิลปะล้านช้าง ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ หน้าตักกว้าง 2 ศอกเศษ สูงตลอดพระรัศมี 3 ศอก 3 นิ้ว ประดิษฐานบนฐานชุกชี ด้านหลังทำเป็นซุ้มต้นพระศรีมหาโพธิ์ทั่ทำด้วยปูนปั้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 โปรดให้อัญเชิญมาจากนครเวียงจันทน์ เมื่อ พ.ศ.2401 ดังพระราชหัตถเลขาถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวว่า "ยังมีพระมีชื่อ?เอามาแต่เวียงจันทน์อีก 2 องค์ พระอินทร์แปลงหน้าตัก 2 ศอกเศษ พระ 2 องค์นี้ องค์ที่ออกชื่อก่อน ฉันจะรับประทานไปไว้เป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดมหพฤฒาราม (วัดตะเคียน) ที่ให้ไปสร้างขึ้นใหม่"

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา

ด้านหลังพระอินทร์แปลงท่านให้สร้างถ้ำ ประดิฐานพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ ที่ไม่มีรูปปั้นช้างและลิงเคียงข้าง ที่ตรงนี้มีภาพเขียนเป็นป่าเขาด้านนอกด้วย ส่วนภาพจิตรกรรมฝาผนังเล่าเรื่อง วัดเสนาสนาราม เช่น พระอุโบสถ และภาพเขียนพระภิกษุรูปหนึ่งสูงวัย เป็นภาพปริศนาว่า เป็นภาพใคร ระหว่างพระเจ้าอยู่หัวรัช กาลที่ 4 หรือ พรพรหม เจ้าอาวาสรูปแรก

นอกจากนั้น มีชาดกหลายตอน นอกจากถาวรวัตถุดังกล่าว ก็มีกุฏิไม้ทรงโบราณอีกจำนวนหนึ่ง ที่สร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 ท่านเที่ยวอยุธยา เมืองมรดกโลกแล้วอย่าลืมแวะไหว้พระ ทัศนศึกษาที่ วัดเสนาสนาราม นะครับ

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา

ภาพเขียนประวัติศาสตร์สมัยร.5และพระอินทร์แปลง ที่วัดเสนาสน์ อยุธยา