posttoday

ไทยนับถือพระคเณศมากสุดในสุวรรณภูมิ

11 เมษายน 2562

โดย สมาน สุดโต

ไทยนับถือพระคเณศมากสุดในสุวรรณภูมิ 

บรรดาประเทศในสุวรรณภูมิ 5 ประเทศนั้น ประเทศไทยเป็นประเทศที่เคารพนับถือพระคเณศเป็นที่ 1 จากการประเมินของ ดร. อมรา ศรีสุชาติ ที่ปรึกษากรมศิลปากร ที่ตอบคำถามผู้เขียนหลังจาก เสวนาทางวิชการ เรื่องพระคเณศ เทพแห่งศิลปวิทยา ตำนานความเชื่อ และประติมานวิยา ที่หอดำรงราชานุภาพ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ เนื่องในสัปดาห์วันอนุรักษ์มรดกไทย เมื่อวันที่ 8 เมษายน 2562 โดยมีวิทยากรร่วมเสวนา อีก 3 ท่านคือ ดร.จิรัสสา คชาชีวะ และอรุณศักดิ์ กิ่งมณี รองอธิบดีกรมศิลปากร และสมชาย ณ นครพนม ผู้ทรงคุณวุฒิกรมศิลปากร เป็นผู้ดำเนินรายการ

ไทยนับถือพระคเณศมากสุดในสุวรรณภูมิ

การที่ประเทศไทยมาเป็นที่ 1 ในการนับถือพระคเณศ และเทพต่างๆ เพราะไทยเป็ประเทศเสรี เปิดรับเทพทุกองค์ ในขณะที่พื้นที่ๆ เป็นศาสนสถานของชาวพุทธก็มิได้จำกัดพื้นที่สำหรับพุทธ แต่เปิดรับเทพต่างๆ บางแห่งสร้างใหญ่โต เกินหน้าพระพุทธรูป ด้วยซ้ำ จึงพบว่าในโบสถ์ ในวิหารแทนที่จะมีแต่พระพุทธรูปกลับมีเทพต่างๆ มาตั้งเคียงข้าง หรือบางแห่งเป็นหลักเลยก็มี ส่วนพระสงฆ์ก็ต่อต้าน บอกว่าเป็นศรัทธาญาติโยม

ดร.อมรา ว่าแบบนี้จะไม่พบเห็นในประเทศอินเดีย เพราะเขาแบ่งวิหารเทพองค์ใดก็ขององค์นั้น ไม่ปะปนกัน บนเวทีเสวนานั้น ดร.อมรา เล่าถึงชื่อของพระคเณศว่า มีมากถึง 108 ชื่อ สอดคล้องกับการฉลอง 108 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ใน พ.ศ. 2562 พอดี

ชื่อต่างๆ ของพระคเณศ มีความหมายในชื่ออยู่แล้วเช่น คชานนะ เจ้าแห่งช้าง วิฆเณศวร เจ้าแห่งอุปสรรค วินายกะ นายกใหญ่ แต่ที่ ดร.อมรารู้สึกชื่นชอบ คือ ชายษฐราช หัวหน้าคนสูงอายุ หรือหัวหน้าของคนที่เป็นพี่ทั้งหลาย พร้อมกันนั้นได้บอกคาถาบูชา พระคเณศ ว่า ปุญญาหะวจนะ ขอให้เทพเจ้าแห่งอุปสรรคทั้ง 2 เจ้านายของอุปสรรค จงโปรดกรุณาด้วย

หนังสือ 108 ปีแห่งการสถาปนากรมศิลปากร ที่น.ส.พิมพ์พรรณ ไพบูลย์หวังเจริญ เป็นบรรณาธิการ เล่าเรื่องพระคเณศ พร้อมภาพประกอบอีกหลายรูปแบบ รวมทั้งปกก็เป็นรูปพระคเณศด้วย ส่วนบทความหลักในเล่ม เล่าเรื่องพระคเณศตั้งแต่ประติมานวิทยา ว่า ด้วยลักษณะของพระคเณศ เช่นมีร่างกายเป็นมนุษย์ สัณฐานต่ำเตี้ย อกกว้าง ท้องพลุ้ย ศีรษะใหญ่และเป็นช้าง หูใหญ่เหมือนกระด้ง ปาก และตา มีขนาดเล็ก มีงวงคดโค้ง (จะโค้งไปทางซ้ายเป็นส่วนใหญ่ ส่วนโค้งไปทางขวานั้น พบที่ไหนให้รีบเก็บรักษา เพราะหายากมาก) ใบหน้าสีแดง โดยมีหนูเป็นพาหนะ และมีธงประจำองค์ ก็เป็นรูปหนู เช่นกัน

อ.สมชาย ณ นครพนม เล่าเรื่องพระคเณศ กับหนู ทำนองไม่เชื่ออย่าลบหลู่ ว่า เพื่อนคนหนึ่งบูชาพระคเณศ สม่ำเสมอ วันหนึ่งบ่นให้ อ.สมชาย ฟังว่าทำไมบ้านเขาจึงมีหนูมากเหลือเกิน อ.สมชายถามว่าบูชาพระคเณศ หรือเปล่า เขาบอกว่าบูชา ต่อมา อ.สมชายไปจ.เชียงใหม่ ซื้อหนูที่ทำด้วยเซรามิกให้เพื่อนเอาไปถวายพระคเณศศ เมื่อพบกันอีกครั้ง เพื่อนบอกด้วยความดีใจว่าหนูในบ้านหายไปหมดแล้ว

พระคเณศ สมัย ร.6 พระคเณศ เข้าสู่เมืองไทย ตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 12 ซึ่งมีลักษณะของศิลปะอินเดียและศิลปะอื่นๆที่เจริญและแพร่หลายอยู่ในดินแดนนี้ก่อนสมัยสุโขทัย เช่น ศิลปะทาวารวดี และศิลปเขมรเป็นต้น แต่มารุ่งเรืองในสมัยในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ที่ทรงความสนใจศึกษาภารตวิทยาแนวตะวันตก และทรงพระราชนิพนธ์เนื่องด้วยเทววิทยาหลายเรื่อง จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “เทวลัยพระคเณศ” ในฐานะเทพแห่งศิลปศาสตร์ ณ พระราชวังสนามจันทร์ สำหรับบวงสรวงบูชาเป็นสิริมงคล นับแต่นั้นบทบาทของพระคเณศ ในฐานะเทพเจ้าแห่งศิลปวิทยาการจึงได้รับการฟื้นฟูและเผยแพร่กว้างขวางไปในสังคมไทย

ตราสัญลักษณ์ ปัจจุบันพระคเณศ เป็นตราสัญลักษณ์ ของสถาบันที่เกี่ยวข้องกับงานด้านอักษรศาสตร์และวรรณคดี เช่น ตราเครื่องหมายวรรณคดีสโมสร ต่อมาใช้เป็นตราสัญลักษณ์ของหน่วยงานและสถาบันการศึกษาด้านศิลปกรรม นาฏศิลป์ และดุริยางคศิลป์ ได้แก่ ตราประจำกรมศิลปากร มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาลัยช่างศิลป วิทยาลัยนาฏศิลป และสถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
จากบทบาทฐานะในแวดวงศิลปกรรม พระคเณศจึงเป็นที่รู้จักและยอมรับในสังคมไทยอย่างกว้างขวาง ปัจจุบันพระคเณศได้รับความนับถือทั่วไปในฐานะเทพผู้ขจัดอุปสรรคและบันดาล