posttoday

ทำไมจึงได้ชื่อว่าวัดพระพิเรนทร์

17 มิถุนายน 2555

วัดในกรุงเทพฯ ที่ผู้คนได้ยินชื่อมักจะเลิกคิ้วสงสัย แล้วถาม (ในใจ หรือดังๆ) ว่าทำไมจึงชื่อนี้ วัดนี้คือวัดพระพิเรนทร์ ทั้งนี้ เพราะคำว่าพิเรนทร์ ในปัจจุบันมีความหมายที่เพี้ยนไปจากความหมายเดิม ที่หมายถึงบรรดาศักดิ์นายทหาร และนายตำรวจผู้กล้าหาญ ที่ทำคุณงามความดีแก่ชาติบ้านเมือง มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตามนัยนี้ชื่อวัดตามบรรดาศักดิ์จึงมีเกียรติอย่างยิ่ง

วัดในกรุงเทพฯ ที่ผู้คนได้ยินชื่อมักจะเลิกคิ้วสงสัย แล้วถาม (ในใจ หรือดังๆ) ว่าทำไมจึงชื่อนี้ วัดนี้คือวัดพระพิเรนทร์ ทั้งนี้ เพราะคำว่าพิเรนทร์ ในปัจจุบันมีความหมายที่เพี้ยนไปจากความหมายเดิม ที่หมายถึงบรรดาศักดิ์นายทหาร และนายตำรวจผู้กล้าหาญ ที่ทำคุณงามความดีแก่ชาติบ้านเมือง มีประวัติยาวนานตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา ถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตามนัยนี้ชื่อวัดตามบรรดาศักดิ์จึงมีเกียรติอย่างยิ่ง

แต่กลายมามีความหมายที่ทำอุตริ จากการกระทำของนายตำรวจที่มีบรรดาศักดิ์พระพิเรนทรเทพ ในสมัยรัชกาลที่ 5 คนหนึ่ง ที่มีความปรารถนาดีต่อความมั่นคงของชาติ หากแต่สิ่งที่ทำนั้นคนอื่นรับไม่ได้ กลายเป็นการกระทำ หรือเล่นพิเรนทร์ไป

มีเรื่องเล่าว่า เมื่อไทยเกิดกรณีพิพาทกับฝรั่งเศสใน ร.ศ. 112 (พ.ศ. 2436) พระพิเรนทรเทพ ซึ่งรับราชการในกรมพระตำรวจ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ออกความคิดจะจัดตั้งและฝึกหัดหน่วยจู่โจมพิเศษ เพื่อให้มีนักดำน้ำไปเจาะเรือรบฝรั่งเศสให้จม ในการฝึกดำน้ำนั้น ผู้รับการฝึกหัดบางคนยังดำน้ำไม่เก่ง ดำน้ำไม่นานก็โผล่ขึ้นมาพระพิเรนทรเทพใช้ไม้ถ่อคอยค้ำไว้ไม่ให้โผล่ขึ้นมาเร็วเกินไป เผอิญเกิดมีอันตรายถึงชีวิต การกระทำของพระพิเรนทร์ (อ่านว่า พระพิเรน) ถือได้ว่าเป็นการกระทำเกินเหตุ

จึงเกิดเป็นสำนวนติดปากว่า เล่นอย่างพิเรนทร์ หรือเล่นพิเรนทร์ หมายความว่า เล่นแผลงๆ อย่างพระพิเรนทรเทพ ด้วยเหตุที่คำว่า พิเรนทร์ มาจากชื่อ พระพิเรนทรเทพ คำว่า พิเรนทร์ จึงต้องมี ท ทหาร ร เรือ การันต์ ท้ายคำด้วย

หกระทู้ในพันทิป

เคยมีผู้ตั้งกระทู้ใน PANTIP.COM เกี่ยวกับวัดพระพิเรนทร์ โดยผู้ตั้งกระทู้ถามอยู่ที่ความเห็นที่ 23 เพ็ญชมพู เป็นผู้ตอบอยู่ในความคิดเห็นที่ 24 กระทู้นี้เริ่มต้นด้วยชื่อคน คือคุณพระพิเรนทรเทพ ตำรวจหลวงสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งต่อมาคำนี้กลายเป็นศัพท์ภาษาไทยในความหมายที่ไม่ค่อยดี อยากจะถามคุณเพ็ญชมพูดูสักหน่อยว่า วัดพระพิเรนทร์นี่ คุณพระพิเรนทร์ท่านเป็นคนสร้างหรือเปล่า ตอนสมัยเด็กๆ พอได้ยินชื่อวัดพระพิเรนทร์ คอยจะคิดไปว่าพระวัดนี้ท่านมีอะไรพิเรนทร์หรือเปล่า ถึงได้ตั้งชื่อวัดว่าวัดพระพิเรนทร์

เพ็ญชมพู ตอบว่า วัดที่พระพิเรนทรเทพสร้างมีอยู่ 2 แห่ง คือ วัดพระพิเรนทร์ ถนนวรจักร และ วัดใหม่พิเรนทร์ โพธิ์สามต้น แต่เป็นคนละคนกับพระพิเรนทรเทพ ซึ่งเป็นต้นกำเนิดของคำว่า “เล่นพิเรนทร์”

หประวัติวัดพระพิเรนทร์

วัดพระพิเรนทร์ ตั้งอยู่เลขที่ 326 ถนนวรจักร แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย สร้างขึ้นในสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีตอนปลาย ราวปี พ.ศ. 2300

ในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ราวปี พ.ศ. 2379 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ พระพิเรนทรเทพ (ขำ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา) เจ้ากรมพระตำรวจหลวง บุตรชายเจ้าพระนครราชสีมา (ทองอินทร์ อินทรกำแหง ณ ราชสีมา) ให้มาบูรณปฏิสังขรณ์วัด เจ้าศรัทธาจึงตั้งนามวัดว่า “วัดขำเขมการาม”

ครั้นถึงปี พ.ศ. 2411 รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงแปลงนามวัดให้ใหม่ว่า “วัดขำโคราช” ใช้มาถึงปี พ.ศ. 2430 จึงได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดพระพิเรนทร์” ตามชื่อบรรดาศักดิ์ของเจ้าศรัทธา ผู้บูรณปฏิสังขรณ์

ทำไมจึงได้ชื่อว่าวัดพระพิเรนทร์

 

ต่อมาในปี พ.ศ. 2480 (พระเทพคุณาธาร ผล ชินปุตโต หรือปู่ขุ่น แซ่เล็ก) ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสในขณะนั้น ได้ประกอบพิธียกป้ายวัดขึ้นสู่ซุ้มประตูด้านติดกับถนนวรจักร วัดแห่งนึ้จึงกลายเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ในช่วงที่พระเทพคุณาธารเป็นเจ้าอาวาส (พ.ศ. 24762-512) เป็นช่วงรุ่งรืองสูงสุด ของวัดพระพิเรนทร์ มีพระสงฆ์สามเณรในวัดประมาณ 50-60 รูป ศิษย์วัดนับจำนวนเป็นสิบขึ้นไป กิจนิมนต์นอกวัดในวันเสาร์อาทิตย์นั้น มีหลายสายจนรับไม่ไหว ส่วนในวัดที่มี 45 ศาลา ก็มีพิธีสงฆ์เกือบทุกศาลา ต้องนิมนต์พระวัดอื่นๆ มาสวดมนต์เสริมด้วยเป็นประจำ

ความที่มีกิจกรรมมาก เสียงปี่พาทย์ในวัดพระพิเรนทร์ไม่เคยขาดหาย จะได้ยินตั้งแต่ 9 โมงเช้าเป็นต้นไป ถึง 5 ทุ่ม เพราะวัดพระพิเรนทร์มีชื่อเสียงด้านจัดการเมรุและฌาปนกิจศพ ทั้งนี้เพราะพระเทพคุณาธาร ท่านมีเมตตาจัดงานศพให้ทุกคนทั้งที่มีทุนทรัพย์มาก จนกระทั่งไม่มีเลย (ไม่มีทรัพย์ฌาปนกิจให้ฟรี ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติอยู่)

พระภิกษุสามเณรวัดพระพิเรนทร์ ที่มีนับสิบนั้น ส่วนมากเป็นพระนักเรียนนักศึกษา บางท่านมีผลงานจนเป็นที่ยอมรับของมหาชนทั่วโลก คือพระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) ที่อยู่ที่วัดพระพิเรนทร์ตั้งแต่เป็นเด็ก เมื่อบรรพชาเป็นสามเณรก็เรียนเก่ง จนกระทั่งสอบได้เปรียญธรรม 9 ประโยค ขณะที่เป็นสามเณร เมื่อปี พ.ศ. 2504 อุปสมบทที่พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม โดยเป็นนาคหลวง

พระศิษย์เก่าวัดนี้ที่มีชื่อเสียงด้านนวกรรมการก่อสร้าง และสาธารณูปการในปัจจุบันได้แก่ พระเทพสิทธิโกศล (ใหญ่) เจ้าอาวาสวัดพลับพลาชัย เจ้าคณะเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย นอกจากนั้นก็มีพระศิษย์ของวัดไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสในภูมิภาคอีกหลายวัด หลายรูป เช่นพระมหาวิเชียร กลฺยาโณ เจ้าอาวาสวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ อ.เมือง จ.สุพรรณบุรี เป็นต้น

ผู้ที่เคยเป็นสมณะอยู่ที่วัดนี้แล้วลาสิกขาได้ดีมีชื่อเช่น (เฉพาะที่ทราบและจำได้ และอยู่ในช่วงเดียวกับผู้เขียน) พล.ต.ทองขาว พ่วงรอดพันธ์ หรือเป็นอาจารย์มหาวิทยาลัย เช่น อาจารย์ธวัช แย้มพงษ์ แห่งมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ส่วนผู้ที่เป็นศิษย์วัดรับราชการได้ดีเป็นถึงผู้ว่าราชการจังหวัดก็มี เช่น สุวัฒน์ ตันติพัฒน์ อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเชียงใหม่ เป็นต้น

ส่วนปูชนียวัตถุที่ควรกล่าวถึงในวัดนี้ ได้แก่อุโบสถ ที่มีสถาปัตยกรรมการก่อสร้าง ผสมผสานระหว่างสถาปัตยกรรมแบบตะวันตก และตะวันออก กล่าวคือตัวอุโบสถยกพื้นสูง โครงสร้างอาคารจัดแบ่งเป็นพื้นที่ชั้นในและชั้นนอก ชั้นในมีกำแพงหน้าต่าง และประตู และใบพัทธสีมาโดยรอบ ส่วนพื้นที่ชั้นนอก เป็นระเบียงรอบตัวอาคาร แปลว่าที่อุโบสถนี้มีระเบียงและที่รับรองทั้งด้านหน้าและด้านหลัง คล้ายกับพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม หรือวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ผิดกันที่ความวิจิตร และอลังการเท่านั้น

โครงสร้างรอบนอก โบสถ์ที่วัดอื่นตั้งเสาหาร คันทวยรับกับพาไล ที่วัดนี้ไม่มีเสาหาร คันทวย แต่ดัดแปลงเป็นซุ้ม แบบศิลปะตะวันตก หรือแบบโกธิก รับพาไล ซึ่งจะเห็นตามโบสถ์ฝรั่งทั่วไป

เมื่อดูส่วนหลังคา ก็เห็นความแตกต่างของอุโบสถหลังนี้กับอุโบสถวัดทั่วไป กล่าวคือในส่วนที่เป็นช่อฟ้าของอุโบสถทั่วไปจะเป็นหางพญานาคชูขึ้นเป็นช่อฟ้า แต่ตำแหน่งเดียวกันนี้ที่อุโบสถวัดพระพิเรนทร์ เป็นหัวพญานาคอ้าปากเห็นเขี้ยว

ในพระอุโบสถมีพระประธานปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง 1 เมตร มีพระพุทธรูปยืน ปางห้ามญาติ 2 องค์ ปางห้ามสมุทร 2 องค์ ปางประทานพร 1 องค์ ปางอุ้มบาตร 1 องค์ พระพุทธรูปนั่งปางสมาธิ 5 องค์ ซุ้มด้านหน้าพระอุโบสถ มีพระพุทธรูปปางลีลา 1 องค์ ซุ้มด้านหลังมีพระพุทธรูปปางรำพึง

นอกจากนั้น ที่ผนังกำแพงด้านตะวันออกในอุโบสถมีเครื่องประดับ 1 ชิ้น ได้แก่พระรูปหล่อส่วนพระพักตร์ รัชกาลที่ 8 ในแผ่นโลหะขนาดเท่าฆ้องขนาดเล็กติดอยู่ที่ผนังด้านทิศตะวันออก

ส่วนประตูหน้าต่างนั้น เป็นประตูไม้แกะสลักลายใบเทศ ที่ช่างจีนมานั่งแกะแทนของเก่า เมื่อปี พ.ศ. 2505-2506

ระหว่างอุโบสถกับวิหารเป็นที่ตั้งมณฑป ประดิษฐาน รูปหล่อพระเทพคุณาธาร (ผล ชินปุตโต) และรูปอดีตเจ้าอาวาส หลายรูป ในบริเวณเดียวกันนี้มีหอระฆัง สร้างโดยภิกษุฟ้อน พรหมโชติ เมื่อปี พ.ศ. 2481 มีรูปแพะเป็นเครื่องหมายที่หน้ามุข อีกด้านหนึ่งเป็นวิหารจีนประดิษฐานพระสังกัจจายน์ 1 องค์ ด้านหน้าวิหารจีน นั้นเป็นศาลาคอนกรีต สร้างในสมัยพระเทพวิสุทธิโมลี (อุทัย) โดยธนาคารกรุงเทพ สาขาวรจักร เป็นผู้บริจาครายใหญ่

ถัดจากวิหารจีน เป็นวิหารไทย ยกช่อฟ้า ใบระกา มุงกระเบื้องเคลือบ ด้านในของวิหารมีพระพุทธรูป “หลวงพ่อดำ” ปางมารวิชัย 1 องค์ (องค์ล่าง) และ หลวงพ่อเพชร อีก 1 องค์ (องค์บน)

ถัดจากวิหารไปทางทิศใต้เป็นพระเจดีย์ทรงลังกา แต่เดิมเป็นเจดีย์ฉาบปูน ทาสีขาว รอบๆ ฐานพระเจดีย์ เป็นที่บรรจุอัฐิ ต่อมาพระเทพวิสุทธิโมลี ได้ปรับปรุงใหม่ ย้ายอัฐิไปเก็บตามช่องต่างๆ ของกำแพง ส่วนเจดีย์ทาสีทองสวยงามดังที่เห็น

ติดกับเจดีย์ทรงลังกาคือศาลาประชาอุทิศ ที่พระเทพวิสุทธิโมลี ดัดแปลงส่วนที่เป็นเพดานให้เป็นพื้นที่ใช้สอย เคยเป็นที่อบรมและปฏิบัติธรรมของสำนักสหปฏิบัติระยะหนึ่ง

ย้อนไปเมื่อ 5060 ปีที่แล้ว บริเวณโดยรอบวิหาร และพระเจดีย์เป็นป่าช้า หรือที่เก็บศพ ซึ่งเป็นที่มาของการฌาปกิจศพพระไม่มีญาติที่มรณภาพที่โรงพยาบาลสงฆ์ เอาศพมาเก็บไว้ 1 ปี ไม่มีญาติมารับ ถึงวันสงกรานต์ทางวัดจึงฌาปนกิจ ทำติดต่อมานานประมาณ 60 ปี จนกลายเป็นประเพณีของวัดพระพิเรนทร์ ถึงทุกวันนี้

หชื่อพระพิเรนทร์ มีแต่คนสำคัญ

อย่างไรก็ตาม คำว่า พิเรนทร์ ที่คนเข้าใจความหมายผิดไป ทั้งๆ ที่ในอดีตผู้ที่มีบรรดาศักดิ์นี้เป็นเจ้าขุนมูลนายที่มีความสำคัญเป็นถึงพระมหากษัตริย์ ครองกรุงศรีอยุธยา เช่น สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระบรมชนก สมเด็จพระนเรศวรมหาราช สมเด็จพระเอกาทศรถ และพระนางสุพรรณกัลยา) เดิมมีบรรดาศักดิ์ที่ขุนพิเรนทรเทพ ช่วยปราบขุนวรวงษาธิราชและท้าวศรีสุดาจันทร์ จนกรุงศรีอยุธยากลับเข้าสู่สภาพปกติ

สมัยรัตนโกสินทร์ พระพิเรนทรเทพ เดิมชื่อ ขำ ณ ราชสีมา เป็นขุนนางคนสนิทในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 เป็นบุตรชายของเจ้าพระยานครราชสีมา (ขำ ณ ราชสีมา) ผู้สำเร็จราชการเมืองนครราชสีมา เป็นผู้บูรณะและสร้างวัดจนนำบรรดาศักดิ์ที่เป็นราชทินนามมาเป็นชื่อของวัด 2 แห่ง คือวัดพระพิเรนทร์ และวัดใหม่พิเรนทร์ ดังกล่าวแล้ว

วัดพระพิเรนทร์ จึงเป็นวัดที่มีชื่อตามบรรดาศักดิ์ที่เป็นราชทินนามของผู้ที่มีเกียรติยศ มีความสำคัญต่อชาติ เป็นสำนักแห่งพระสงฆ์ชั้