posttoday

ยูทูบเบอร์มืออาชีพ ต้องรู้จักภาษียูทูบเบอร์

16 สิงหาคม 2566

YouTube คอยทำหน้าที่บอกต่อหรือส่งผ่านข้อมูล ความสนุก กลายเป็นอาชีพยอดฮิต รายได้งามอย่าง YouTube อาชีพในสายงานนี้อาจจะจัดทำขึ้นเพื่อความบันเทิง ให้ความรู้ หรือทำเพื่อหารายได้ ด้วยเหตุนี้อาชีพยูทูบเบอร์จึงต้องมีการเสียภาษียูทูบ

          เนื่องจากคนไทยมีความนิยมชมชอบติดตามข่าวสารต่างๆ จากสื่อโซเชียลมีเดียผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นจำนวนมาก เนื่องจากมีความสะดวก รวดเร็ว ฉับไว เข้าถึงได้ง่ายทุกช่วงเวลา ฉะนั้นจึงทำให้มีผู้คนจำนวนไม่น้อยเข้าถึงสินค้าจากแบรนด์ต่างๆ ได้ง่าย ซึ่งจากจุดนี้กลายเป็นอาชีพยอดฮิต รายได้งามอย่าง YouTube ที่คอยทำหน้าที่บอกต่อหรือส่งผ่านข้อมูล ความสนุกสนาน และมีอิทธิพลต่อการตัดสินใจโดยมุ่งเน้นไปถึงกลุ่มเป้าหมายได้โดยตรง 

          โดยอาชีพในสายงานนี้อาจจะจัดทำขึ้นเพื่อความบันเทิง ให้ความรู้ หรือทำเพื่อหารายได้ อีกทั้งยังสามารถทำคนเดียวหรือทำเป็นหมู่คณะได้ แต่ไม่ว่าจะทำคนเดียวหรือทำเป็นหมู่คณะก็จะมีความเกี่ยวข้องกับรายได้ที่รับเข้ามาเหมือนกัน ด้วยเหตุนี้อาชีพยูทูบเบอร์จึงต้องมีการเสียภาษียูทูบ 

          แล้วทราบหรือไม่ว่า อาชีพยูทูบเบอร์ไม่ได้เสียภาษีที่ประเทศไทยอย่างเดียว ยังต้องเสียภาษีหัก ณ ที่จ่าย ของสหรัฐอเมริกาอีกด้วย อาจต้องเสียสูงมากถึง 24-30% ในกรณีที่ไม่ยื่นแบบการเสียภาษีผ่านการกรอกแบบฟอร์ม Google AdSense

          แต่หากมีการกรอกแบบฟอร์ม Google AdSense ยูทูบเบอร์ไทยจะเสียภาษีเพียงแค่ 5% เท่านั้น เพราะประเทศไทยมีความสัมพันธ์ทางสนธิสัญญาภาษีกับสหรัฐอเมริกา จึงถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายน้อยลง ทั้งนี้ทั้งนั้นขึ้นอยู่กับข้อตกลงของแต่ละประเทศ และทำให้ถูกต้องตามข้อตกลงด้วย

เปิดรายได้ยูทูบเบอร์จากหลายช่องทางกับเกณฑ์การเสียภาษี

          เป็นที่รู้จักกันแล้วว่าอาชีพยูทูบเบอร์มีช่องทางรายได้มากมาย แต่จะมีช่องทางไหนบ้างลองศึกษารายละเอียดดังต่อไปนี้

          1.การขายสินค้าและบริการต่างๆ ถือเป็นอีกช่องทางรายได้ หาก Youtuber มีสินค้าที่ผลิตเป็นแบรนด์ของตัวเอง หรือซื้อมาขายไป ในกรณีจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 ซึ่งเป็นรายได้จากการค้าขาย และยังต้องแยกประเภทอีกว่า สำหรับสินค้าที่เป็นของ Youtuber ที่ผลิตและนำมาขาย รายได้นี้จะให้หักค่าใช้จ่ายตามความเป็นจริง แต่ถ้าเป็นสินค้าที่ซื้อมาขายไป รายได้นี้จะให้หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 60% เป็นต้น

          2.การรับงาน Event ของ Youtuber เมื่อ Youtuber  เปิดช่องมาแล้วมีความโด่งดังจนต้องเชิญออกไปงานตามสถานที่ต่างๆ แบบนี้ก็เป็นช่องทางรายได้เหมือนกัน ซึ่งรายได้นี้จัดเป็นประเภทที่ 2 โดยจะโดนหักแบบเหมา 50% สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท  หรือถ้าหากมีการขยับจากยูทูบเบอร์ไปเป็นดารา เมื่อมีการจ้างให้ออกงานอีเวนต์ จะจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 นักแสดงสาธารณะ คือหักค่าใช้จ่าย 300,000 แรกแบบเหมา 60% และส่วนที่เกิน 300,000 หักเหมา 40% แต่รวมทั้งหมดไม่เกิน 600,000 บาท หรือหักตามจริง

          3.ค่าโฆษณา เป็นรายได้ที่มาจากโฆษณาที่มักขึ้นคั่นรายการมาก่อนเข้าดูคลิปจริง และขณะเล่นคลิปก็จะมีโฆษณาคั่นเช่นกัน รวมถึงตอนจบคลิปด้วย ซึ่งจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 (40(8)) คือหักค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องมีหลักฐานใช้จ่ายครบถ้วน

          4.หากช่อง YouTube มียอด View และผู้ติดตาม ซึ่งเป็นรายได้ที่มาจากยอดคนเข้ามาดู และยอดคนติดตามช่องยูทูบ โดยรายได้นี้จะเกิดขึ้นเมื่อมียอดติดตาม 1,000 คนขึ้นไป และมียอดคนดูทุกคลิปรวมกันเกิน 4,000 ชั่วโมง ใน 1 ปี ซึ่งจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 คือหักค่าใช้จ่ายตามจริง ต้องมีหลักฐานใช้จ่ายครบถ้วน

          5.Sponsor หรือ Tie-in สินค้าภายในคลิป เป็นรายได้ที่มาจากผู้จ้างจ้างให้รีวิวสินค้า ถ้ารับจ้างรีวิวแบบทำคนเดียว ถ้ารับจ้างรีวิวแบบทำคนเดียว เป็นการทำงานแลกเงินตามปกติ เช่น รีวิวครีม รีวิวอาหาร จัดเป็นรายได้ประเภทที่ 2 (40(2)) หักแบบเหมา 50% แต่สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท แต่ถ้าหากผู้จ้างจ้างให้รีวิวแบบเหมาที่ต้องมีทีมงานโปรดักชั่น มีการจ้างทำของที่มีค่าใช้จ่ายสูง จะจัดเป็นรายได้ประเภทที่ 8 คือหักตามจริง ต้องมีหลักฐานใช้จ่ายครบถ้วน

ภาษียูทูบเบอร์ต้องจ่ายเมื่อเงื่อนไขเข้าเกณฑ์

          หลายคนอาจมีข้อสงสัยว่าอาชีพยูทูบเบอร์ต้องยื่นหรือเสียภาษียูทูบเบอร์ไหม ซึ่งแน่นอนว่านอกจากรายได้จากการรีวิวสินค้าจะต้องยื่นภาษีแล้ว รายได้ค่าโฆษณา การซื้อมาขายไป และหากยูทูบเบอร์มีชื่อเสียงแล้วถูกจ้างไปโชว์ตัวตามสถานที่ต่างๆ ก็จะได้รับค่าตอบแทน ซึ่งรายได้ทั้งหมดที่ได้รับจะต้องนำมาคำนวณภาษีทั้งสิ้นในส่วนนี้ยูทูบเบอร์จึงมีหน้าที่ต้องเสียภาษียูทูบเบอร์ ซึ่งยูทูบเบอร์ที่ไม่ได้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคล จะต้องยื่นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยมีข้อมูลที่ควรศึกษาวางแผนการเสียภาษีบุคคลธรรมดา และการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดามี 2 แบบด้วยกัน คือ

          1.วิธีคำนวณภาษีจากเงินได้สุทธิ สูตรคือ (รายได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน) x อัตราภาษี = ภาษีที่ต้องจ่าย หลังจากนำรายได้หักลบค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนแล้ว ให้นำยอดตัวเลขที่ได้มาคูณกับอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามอัตราภาษีก้าวหน้า หรือแบบขั้นบันไดดังนี้

ตารางภาษีบุคคลธรรมดา  
เงินได้สุทธิ 0 – 150,000 บาท (ได้รับการยกเว้นภาษี)
เงินได้สุทธิ 150,000 – 300,000 บาท (อัตราภาษี 5%)
เงินได้สุทธิ 300,001 – 500,000 บาท (อัตราภาษี 10%)
เงินได้สุทธิ 500,001 – 750,000 บาท (อัตราภาษี 15%)
เงินได้สุทธิ 750,001 – 1 ล้านบาท (อัตราภาษี 20%)

          2.การคำนวณภาษีจากเงินได้พึงประเมิน สูตรคือ รายได้ (ยกเว้นเงินเดือน) x 0.5% = ภาษีที่ต้องเสีย ทั้งนี้ กรณีคำนวณภาษีตามวิธีที่ 2 แล้วมีภาษีชำระไม่เกิน 5,000 บาท จะได้รับยกเว้นภาษีจากการคำนวณตามวิธีที่ 2 แต่ยังต้องเสียภาษีตามวิธีที่ 1

          กล่าวโดยสรุป อาชีพยูทูบเบอร์ต้องแยกรายได้และที่มาของรายได้ให้ชัดเจนโดยละเอียด บิลหรือเอกสารต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับค่าใช้จ่ายต้องเก็บให้ดี ถ้าข้อมูลครบก็จะจบเรื่องภาษียูทูบเบอร์ได้ง่าย หรืออย่างมากหากคิดจะขยับขยายงานให้มีขนาดใหญ่ขึ้น เพื่อรองรับทีมงานและงานที่เพิ่มมากขึ้น แนะนำบริการจดทะเบียนบริษัทเป็นนิติบุคคลให้เป็นเรื่องเป็นราว ซึ่งยูทูบเบอร์จะทำงานได้ง่ายขึ้นไม่ต้องห่วงเรื่องภาษีที่จะโดนตรวจสอบในภายหลัง

อ่านบทความเพิ่มเติมได้ที่ Inflow Accounting