posttoday

เปิดมุมคิดกูรูตลาดทุน "ครม.เศรษฐา 1" หนุนตลาดหุ้นแค่ไหน ?

02 กันยายน 2566

โปรดเกล้าฯประกาศ แต่งตั้งรัฐมนตรี “ครม.เศรษฐา 1” นายกฯควบกระทรวงคลัง กูรูวงการตลาดเงินตลาดทุน หวังนโยบายเสริมส่งตลาดหุ้นและเศรษฐกิจไทยเติบโตแข็งแกร่ง พร้อมผ่าเกมหุ้นโต้คลื่นปัจจัยถาโถม

โปรดเกล้าฯแต่งตั้ง ครม.

     วันนี้(2 ก.ย.66) ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศแต่งตั้งคณะรัฐมนตรี ความว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้ประกาศว่า ตามที่ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง นายเศรษฐา ทวีสิน เป็นนายกรัฐมนตรี ตามประกาศลงวันที่ ๒๒ สิงหาคม พุทธศักราช ๒๕๖๖ แล้ว นั้น บัดนี้ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ได้เลือกสรรผู้ที่สมควรดำรงตำแหน่ง รัฐมนตรีเพื่อบริหารราชการแผ่นดินสืบต่อไปแล้ว อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๕๘ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งรัฐมนตรี ดังต่อไปนี้
     นายภูมิธรรม เวชยชัย เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์
     นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นรองนายกรัฐมนตรี
     นายปานปรีย์ พหิทธานุกร เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
     นายพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
     นายอนุทิน ชาญวีรกูล เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย
     พลตำรวจเอกพัชรวาท วงษ์สุวรรณ เป็นรองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
     นางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี
     นายสุทิน คลังแสง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
     นายเศรษฐา ทวีสิน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง อีกตำแหน่งหนึ่ง
     นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง
     นายจุลพันธ์ อมรวิวัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง

     นายจักรพงษ์ แสงมณี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
     นางสาวสุดาวรรณ หวังศุภกิจโกศล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา
     นายวราวุธ ศิลปอาชา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
     นางศุภมาศ อิศรภักดี เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการอุดมศึกษาวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
     ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
     นายอนุชา นาคาศัย เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
     นายไชยา พรหมา เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
     นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม
     นางมนพร เจริญศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
     นายสุรพงษ์ ปิยะโชติ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
     นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
     นายนภินทร ศรีสรรพางค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
     นายไผ่ ลิกค์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์
     นายเกรียง กัลป์ตินันท์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
     นายชาดา ไทยเศรษฐ์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
     นายทรงศักดิ์ ทองศรี เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย
     พันตำรวจเอกทวี สอดส่อง เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม
     นายพิพัฒน์ รัชกิจประการ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน
     นายเสริมศักดิ์ พงษ์พานิช เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงวัฒนธรรม
     พลตำรวจเอกเพิ่มพูน ชิดชอบ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
     นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
     นายแพทย์ชลน่าน ศรีแก้ว เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข
     นายสันติ พร้อมพัฒน์ เป็นรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
     นางสาวพิมพ์ภัทรา วิชัยกุล เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม

ครม.ใหม่กระทุ้งตลาดเงินตลาดทุนแค่ไหน ?

     นายสมศักดิ์ ศิริชัยนฤมิตร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอสเซท โปร แมเนจเม้นท์ จำกัด ที่ปรึกษาด้านการเงิน การลงทุน กล่าวกับ "โพสต์ทูเดย์" ว่า ในมุมมองของคนที่อยู่ในตลาดทุน การที่เรามีรัฐบาลเป็นผลบวกในแง่ความชัดเจนการบริหารประเทศ ความชัดเจนนโยบายของรัฐบาล และอีกปัจจัยหนึ่งที่ติดตามกันคือไม่มีเหตุวุ่นวาย บรรยากาศการเมืองไม่วุ่นวายเป็นอานิสงส์ที่เป็นบวกต่อตลาดทุน 

     ส่วนรายละเอียดของนโยบายรัฐบาล โครงการกระตุ้นเศรษฐกิจ คิดว่าน่าจะออกมาเป็นระยะๆคงมีส่วนที่ผลักดันภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงตลาดทุนคึกคักมากกว่าเดิม 

"เศรษฐา"คุม ก.คลัง มองอย่างไร ?

     ในเรื่องนี้ต้องยอมรับว่าคุณเศรษฐาเป็นนักธุรกิจและมีความรู้ความเข้าใจในการทำธุรกิจ ผมเชื่อว่าการเข้ามาบริหารในภาคการเงิน คือ กระทรวงการคลังคิดว่าจะช่วยกระตุ้นผลักดันภาคธุรกิจได้ตรงใจ ตรงประเด็นมากกว่า เพราะฉะนั้นผมหวังว่าน่าจะเป็นผลบวกกับภาพรวมของเศรษฐกิจไทย

ฝากถึงรัฐบาลชุดใหม่ ?

     อยากฝากรัฐบาลบริหารประเทศอย่างตรงไปตรงมาและมีนโยบายที่ช่วยสนับสนุนภาพรวมเศรษฐกิจและภาพรวมต่างๆเกิดความชัดเจนในแง่การผลักดันให้ทุกฝ่ายได้เติบโต และที่สำคัญต้องออกนโยบายที่เข้าใจถึงบริบทของแต่ละภาคเศรษฐกิจ

รัฐบาลชัด แต่ต่างชาติไม่เข้า?

     ในด้านต่างชาติ ผมคิดว่าอาจเป็นความรู้สึกส่วนหนึ่ง แต่ในข้อเท็จจริงเราต้องยอมรับว่าในภาพรวมของเศรษฐกิจโลกไม่ได้ดีมาเป็นระยะหนึ่งแล้ว ภาพรวมเศรษฐกิจโลกตั้งแต่ภาวะโรคระบาดโควิด-19 ภาวะสงครามรัสเซีย-ยูเครนที่ทำให้เกิดภาวะเงินเฟ้อ การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยในช่วง 1ปีที่ผ่านมา ผมคิดว่ามีส่วนสำคัญที่ทำให้บรรยากาศการลงทุนในภาพรวมของโลกมันอยู่ในภาพที่ไม่เป็นบวกมากนัก 

     ดังนั้นการที่ประเทศไทย ตลาดทุนเราต้องเข้าใจว่าตลาดทุนไทยมีสัดส่วนที่เล็กมากเมื่อเทียบกับตลาดทุนในโลก เราเป็นตลาดหลักทรัพย์ฯที่เล็กไม่ได้ใหญ่ เพราะฉะนั้นการที่ต่างชาติมีการเคลื่อนย้ายเงินทุนน่าจะมาจากปัจจัยภาวะเศรษฐกิจของโลกมากกว่า

 

มองบวก

     ฝ่ายวิเคราะห์ บริษัทหลักทรัพย์ แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การที่ นายกฯ ควบ รมว.คลังด้วยนั้น หากมองในแง่ดีเป็นการสะท้อนความมั่นใจว่ามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจและการใช้จ่ายในประเทศจะสามารถทำได้ หุ้นที่คาดได้ประโยชน์ เช่น  ADVANC, CPALL, COM7, KTC 

 

เกาะติดนโยบายกระตุ้น ศก.

     ฝ่ายวิจัย บล.กรุงศรี พัฒนสิน จำกัด (มหาชน) ระบุว่า การเมืองภายในมีความชัดเจนหน้าตา ครม.ใหม่ ผสานกับประธานสภายืนยันสภามีความพร้อมให้รัฐบาลแถลงนโยบายแล้ว ทำให้คาดการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาได้ต้น ก.ย.

     ส่วนกระแสนโยบายเมื่อวันที่ 31 ส.ค.66 ยังไม่มีการกล่าวถึงนโยบายใหม่ๆ ที่จะเร่งผลักดันเพิ่มเติม โดยการสำรวจตลาดคุณเศรษฐา ยังยืนยันในเรื่อง Digital Wallet ที่จะดำเนินการได้ในไตรมาส 1/67 ส่วนมาตรการอื่นๆ อาทิ การลดค่าพลังงาน การพักหนี้เกษตรกร และค่ารถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ต้องพิจารณาอีกครั้งตามงบประมาณ มองช่วยผ่อนคลายความกังวลกลุ่มพลังงานระยะสั้นได้ ส่วนรถไฟฟ้า (BEM, BTS) จะบวกจากโอกาสได้ผู้โดยสารเพิ่ม

     ฝ่ายประเมินนโยบายหลักๆที่รัฐบาลใหม่จะแถลง ต้น ก.ย. จะเน้นที่เศรษฐกิจฐานราก (บริโภค ท่องเที่ยว เกษตร) โครงสร้างพื้นฐาน ดิจิทัล หนุนหุ้นภายใน มองหุ้นน่าสนใจกลุ่มอิงรากฐาน SCB, JMT, CPAXT, DOHOME กลุ่มท่องเที่ยว AOT, ERW, CENTEL กลุ่มอิงการลงทุน STEC, PTT, AMATA, WHA, GULF ระบบดิจิทัล BE8, ADVANC

เปิดมุมคิดกูรูตลาดทุน \"ครม.เศรษฐา 1\" หนุนตลาดหุ้นแค่ไหน ?

ลดค่าไฟฟ้า-ราคาน้ำมันดีเซล

     ฝ่ายมอง Negative เชิง sentiment ต่อทั้งกลุ่มพลังงานฯ และโรงไฟฟ้า จากตลาดอาจกังวลต่อผลกระทบอัตรากำไร แต่ในเชิงพื้นฐานเรายังไม่ให้น้ำหนัก downside กลุ่มโรงไฟฟ้า ผู้ได้รับ sentiment ลบ คือ GPSC และ BGRIM จากประเด็นแนวทางลดค่าไฟฟ้า โดยขยายเวลาชำระคืนหนี้ EGAT อาจส่งให้ตลาดกังวลว่าการฟื้นของอัตรากำไรขายไฟฟ้าลูกค้าอุตสาหกรรม(IU)จะล่าช้า หรือ worst case คือแย่ลงหากภาครัฐปรับ ft มากกว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาพลังงาน เช่น ปรับ ft ลงมากกว่าราคาพลังงาน ซึ่งกรณี worst case นี้จะส่งให้มี downside ต่อประมาณการ GPSC และ BGRIM ได้ 

     โดยทุกๆการปรับ ft มากกว่าราคาพลังงาน 1 สตางค์/หน่วย จะกระทบกำไรปี 2024F ของ GPSC ราว -60 ลบ./ปี หรือ -0.8% ของกำไรปกติ 2024F ส่วน BGRIM กระทบ -21 ลบ./ปี หรือ -0.6% ของกำไรปกติ 2024F ทั้งนี้เรามองว่ามีโอกาสน้อยที่นโยบายรัฐจะออกมาในรูปแบบ worst case เพราะ EGAT แบกรับภาระหนี้อยู่สูงแล้วในปัจจุบัน (ราว 1 แสนลบ. จน IBD/EQ เป็นราว 1 เท่า Vs. debt covenant 1.5 เท่า) และระยะยาวเรามองภาครัฐยังต้องคืนหนี้คงค้างของ EGAT ส่งให้ต้องปรับ ft ลงช้ากว่าต้นทุนพลังงานและเป็น upside ต่อทั้ง GPSC และ BGRIM 

     กลุ่มพลังงานฯ มอง sentiment ลบ ต่อ OR และ PTG จากประเด็นปรับลดราคาน้ำมัน ที่อาจส่งให้ตลาดกังวลว่าการฟื้นของค่าการตลาดดีเซลอาจจำกัด (หากรัฐใช้การลดภาษีสรรพสามิต จะไม่ได้กระทบต่อค่าการตลาดของเอกชน แต่ก็มีโอกาสจำกัดที่ค่าการตลาดปรับขึ้น) หรือหาก worst case ภาครัฐใช้เครื่องมือทั้งภาษีสรรมสามิต และกองทุนฯ แล้วไม่พอ ต้องมาคุมค่าการตลาดดีเซลด้วย จะมี downside ต่อประมาณการกำไรของ OR และ PTG เราประเมินทุกๆค่าการตลาดดีเซล -0.1 บาท/ลิตร จะกระทบกำไร 2024F ราว -767 ลบ. หรือ -5% ของ OR และ -360 ลบ. หรือ -27% ของ PTG ทั้งนี้เรามองกรณี worst case มีโอกาสเกิดน้อย จากมองการลดภาษีสรรพสามิตสูงสุด 5 บาท/ลิตร เพียงพอรับมือกับราคาน้ำมันดิบที่เปลี่ยนแปลงราว 22-23 $/bbl ดังนั้นคงมุมมอง Neutral ต่อกลุ่มพลังงานฯ ขณะที่คงน้ำหนัก Bullish สำหรับกลุ่มโรงไฟฟ้า เลือก BCP, GULF เป็น Top Picks

 

จับตามาตรการเร่งด่วน

     ฝ่ายวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป(ประเทศไทย) ระบุว่า นายกรัฐมนตรี เศรษฐา ทวีสิน แถลงคืบหน้าโครงการพักหนี้เกษตรกร โดยจัดเป็นวาระเร่งด่วน ซึ่งอยู่ระหว่างการมอบหมายให้ ธ.ก.ส.ดำเนินเรื่องต่อ 

     ความชัดเจนทางการเมืองที่เริ่มเป็นไปตาม Time Line ทำให้นโยบายรัฐคืบหน้า ทั้ง นโยบายช่วยเหลือค่าครองชีพ-ราคาพลังงาน, เงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท รวมถึงการเร่งส่งเสริมภาคท่องเที่ยวเพื่อให้ทันต่อวันชาติจีน โดยคาดจะแถลงนโยบายต่อสภา 12 ก.ย.นี้

     ขณะที่ข้อมูลเศรษฐกิจจีนที่ดีขึ้น, การลด RRR ของ PBOC จะส่ง Sentiment ให้หุ้นเกี่ยวข้องกับจีนจะรับผลบวก หนุนในกลุ่ม Spending ท่องเที่ยว และ หุ้นกลุ่มเชื่อส่วนบุคคล ทั้ง AEONTS, CPALL, CPAXT, DOHOME, GLOBAL, MTC, SAWAD

 

รอนโยบายตามที่หาเสียงไว้

     ฝ่ายวิจัย บล.เอเซีย พลัส ระบุว่า เมื่อได้โปรดเกล้าฯ ครม.ใหม่ จากนั้นจะเป็นการนำคณะรัฐมนตรีเข้าทำการถวายสัตย์ปฎิญาณ ตามด้วยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภา ก่อนที่จะเริ่มทำงาน ซึ่งน่าจะเกิดขึ้นภายในเดือน กันยายน 2566

     หลังจากที่รัฐบาลใหม่เริ่มเข้าบริหารประเทศ ประเด็นที่จะอยู่ในความในใจ จะเป็นเรื่อง นโยบายรัฐบาล ภายใต้การนำของพรรคเพื่อไทย เช่น DIGITAL WALLET 10,000 บาท, ที่ดินทำกิน, ขึ้นค่าแรงขึ้นต่ำ 600 บาทภายในปี 2570, เงินเดือนปริญญาตรี 25,000 บาท, ลดค่าไฟ, เกณฑ์ทหารโดยสมัครใจ, เพิ่มราคาพืชผลเกษตร, แก้ปัญหาความขัดแย้งและสร้างสันติภาพที่ยั่งยืนในจังหวัดชายแดนภาคใต้, กัญชาทางการแพทย์และสุขภาพ และจะแก้รัฐธรรมนูญ

     โดยนโยบายที่ทุกคนจับตามอง คือ การแจก "เงินดิจิทัล 10,000 บาท"ให้กับคนที่มีอายุ 16 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป โดยนายกฯ ยืนยันว่าจะเห็นมาตรการนี้ออกมาช่วง ต้นปี 2567 โดยเงินดิจิทัลที่แจกเป็น UTILITY TOKEN ประเภทที่ 1 ซึ่ง TOKEN ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์การใช้เพื่อการอุปโภค-บริโภค ไม่สามารถนำมาซื้อขายในศูนย์ซื้อขายสินทรัพย์ดิจิทัล ได้

เปิดมุมคิดกูรูตลาดทุน \"ครม.เศรษฐา 1\" หนุนตลาดหุ้นแค่ไหน ?

     ในมุมของงบประมาณคาดการณ์ว่าจะต้องใช้เม็ดเงินสูงถึง 5.6 แสนล้านบาท โดยความเห็นจาก TDRI หรือ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย ระบุไว้ว่า แหล่งที่มาของเม็ดเงินน่าจะมาจาก 4 แหล่ง ดังนี้
     • รายรับจากภาษีของรัฐบาลในปี 2567 ซึ่งประมาณการว่าจะเพิ่มขึ้น 2.6 แสนล้านบาท
     • การจัดเก็บภาษีที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจอีก 1 แสนล้านบาท
     • การบริหารจัดการงบประมาณ 1.1 แสนล้านบาท
     • การบริหารงบประมาณสวัสดิการที่ซ้ำซ้อน 9 หมื่นล้านบาท

     ฝ่ายวิจัยฯ มองว่าประเด็นดังกล่าว “อาจมีคำถามต่อแหล่งที่มาของเงินทุนอยู่บ้าง” อาทิ ต้องปรับลดงบลงทุนภาครัฐ, ลดการชำระเงินต้นและดอกเบี้ยจากภาระหนี้สาธารณะในปัจจุบัน รวมถึงปรับลดสวัสดิการที่ถูกมองว่าซ้ำซ้อน นอกจากนี้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นจากการกระตุ้นเศรษฐกิจ ยังไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าการกระตุ้นเศรษฐกิจในลักษณะนี้จะก่อให้เกิดผลลัพธ์อย่างไร?

     ส่วนอีกแนวทางหนึ่งในการจัดหาแหล่งเงิน ในการดำเนินนโยบายคือ การใช้กู้เงิน โดยประเทศไทยมีหนี้สาธารณะต่อ GDP อยู่ที่ 61.15% (ข้อมูลล่าสุดเดือน มิ.ย.66) ซึ่งตามกรอบวินัยการคลังสามารถกู้เพิ่มได้จนกว่า หนี้สาธารณะต่อ GDP จะอยู่ที่ระดับ 70% ซึ่งจะกู้เพิ่มได้อีกราว 1.58 ล้านล้านบาท (บนสมมุติฐาน GDP 17.86 ล้านล้านบาท) แต่โดยหลักการแล้วไม่ควรกู้ จนเต็มเพดานหนี้

     การเกิดขึ้นของ DIGITAL WALLET เราประเมินว่าจำเป็นต้องสร้าง ECOSYSTEM ขึ้นมารองรับ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว น่าจะสร้างประโยชน์ต่อหลายอุตสาหกรรม เช่น กลุ่มหุ้นที่ขายอุปกรณ์อิเล็กทรอนิคส์ และเครือข่ายโทรคมนาคม ADVANC TRUE COM7 SPVI CPW และกลุ่มหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ DIGITAL ASSET ทั้งหมด BROOK JTS RS ANAN SIRI SC ORI ASW MAJOR JMART KBANK SCB XPG JTS GULF เป็นต้น โดยในช่วงเดือน นี้อาจเห็นการเก็งกำไปตามกระแสข่าว ซึ่งควรมีความชัดเจนขึ้นตามลำดับ

เปิดมุมคิดกูรูตลาดทุน \"ครม.เศรษฐา 1\" หนุนตลาดหุ้นแค่ไหน ?      ส่วนอีกนโยบายที่จะมาเจาะลึก คือ นโยบายลดค่าไฟ โดยปัจจุบันพรรคเพื่อไทย ได้ออกมาชู 3 แนวทางหลักที่อาจเกิดขึ้น ดังนี้
     1. การปรับลดราคพลังงาน น้ำมัน-ไฟฟ้า-ก๊าซ ทันทีเพื่อลดภาระการใช้จ่ายให้ประชาชน ส่วนรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณา แต่หากพูดในมุมมองของวิธีการปรับลดในส่วนค่าไฟฟ้า จะเป็นการปรับลดในเชิงของโครงสร้างราคาค่าไฟฟ้า โดยเป็นการปรับลดตามกลไกต้นทุนพลังงานที่แท้จริง ทั้งราคาน้ำมัน และก๊าซฯในตลาดโลก ต่างก็ปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่องจากช่วงก่อนหน้า
     2. การเร่งพิจารณาพื้นที่ทับซ้อน เพื่อเพิ่มแหล่งก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูก ซึ่งในส่วนนี้ จะถือเป็นการเพิ่มปริมาณการผลิตก๊าซฯเพื่อผลักดันให้มีราคาก๊าซฯที่ถูกลง โดยพรรคเพื่อไทยกล่าวว่าจะมีการเจรจาเรื่องปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา เพื่อที่จะนำก๊าซธรรมชาติที่อยู่ในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนขึ้นมาใช้ประโยชน์ อย่างไรก็ตาม การสำรวจและขุดเจาะจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 2-8 ปี ดังนั้นหากเกิดขึ้นจริง จะเป็นนโยบายแก้ปัญหาค่าไฟฟ้าในระยะยาว
     3. การสนับสนุนการใช้พลังงานสะอาดเพื่อเพิ่มทางเลือก และเพื่อลดการพึ่งพิงพลังงานแบบดั้งเดิม เป็นการส่งเสริมการติดตั้งโซลาร์เซลระดับครัวเรือน หรือให้ กฟผ. ผลิตไฟฟ้าจากโซลาร์เซลเพื่อลดต้นทุนการใช้เชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า

     โดยสรุป นโยบายลดค่าไฟ คงเน้นไปในแนวทางลดต้นทุนเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า ซึ่งหากทำได้จริง ฝ่ายวิจัยมองว่าค่าไฟจะลดลงโดยไม่กระทบการบิดเบือนกำไรของกลุ่มผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าในส่วนถัดมา พรรคเพื่อไทยเน้นการกระตุ้นภาคท่องเที่ยวเป็นหลัก เนื่องจากเป็นรายได้หลักของประเทศ ซึ่งล่าสุดมีกระแสข่าวว่าจะมีการยกเว้นค่าธรรมเนียม VISA ให้กับนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาประเทศไทย อาทิ จีนและอินเดีย ในช่วง HIGH SEASON (2H66) รวมทั้งการเพิ่มเที่ยวบิน และแผนในระยะยาวอย่างการพัฒนาสนามบิน และการให้ AOT เข้าบริหารสนามบินในต่างจังหวัดเพิ่มเติม โดยประเมินผลบวกต่อหุ้นในกลุ่มฯ เรียงตามสัดส่วนรายได้ในไทย ดังนี้ AOT ในฐานะประตูสู่ประเทศไทย >ERW สัดส่วนราว 90% มาจากโรงแรมไทย > CENTEL สัดส่วน 82% ของรายได้โรงแรมงวด 1H66 อยู่ในไทย (รายได้ร้านอาหาร :โรงแรม ที่ 58% : 42%) > MINT สัดส่วนรายได้ราว 50% มาจากใน EU 

     นอกจากนี้แนวโน้มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เพิ่มขึ้นช่วง 4Q66 คาดช่วยเพิ่มปริมาณ TRAFFIC ในศูนย์การค้า และเป็นแรงส่งทางอ้อมต่อกำลังซื้อในประเทศ บวกต่อหุ้นที่เกี่ยวข้อง อย่าง CPN และกลุ่มร้านอาหารที่อยู่ในศูนย์การค้า เช่น CENTEL, MINT และ M 

     สรุป การเมืองมีสัญญาณที่ดีของ โดย รัฐบาลใหม่น่าจะเริ่มทำงานได้ในเดือน ก.ย.66 หลังจากนั้นคาดหวังการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายต่างๆ อาทิ ฟรีค่าธรรมเนียม VISA สำหรับนักท่องเที่ยวจีน อินเดีย และDIGITAL WALLET ที่มีโอกาสเกิดขึ้นจริงจากแหล่งที่มาของเม็ดเงินทั้ง 2 รูปแบบข้างต้น ขณะที่ในระยะสั้น คาดสร้าง SENTIMENT เชิงบวกต่อ SET INDEX ให้ทะลุแนวต้านสำคัญ และกลับทิศทางเป็นขาขึ้นได

     อย่างไรก็ตามหลังผ่านการ โหวตนายกฯ ต่างชาติก็เริ่มสลับมาซื้อสุทธิหุ้นไทย หนุนให้แรงขายในเดือน ส.ค. ลดน้อยลงส่วนช่วงที่เหลือของปี ยังคาดหวังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจดีขึ้นจากการเดินหน้าปรับกลยุทธ์กระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ชุดใหม่ ซึ่งน่าจะเห็นมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจต่างๆ ทยอยถูกขับเคลื่อนออกมา หนุนกำไรบริษัทจดทะเบียนเติบโตต่อเนื่อง ในช่วง 2H66 19%HOH และปี 2567 อีก 12.6% โดยมี SECTOR ที่กำไรเติบโตเด่นต่อเนื่อง คือ PETRO, MEDIA, STEEL, FOOD, INSUR,TRANS, PKG, PROP, และ COMM เป็นต้น

เปิดมุมคิดกูรูตลาดทุน \"ครม.เศรษฐา 1\" หนุนตลาดหุ้นแค่ไหน ?

     ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนในเดือน ก.ย. เลือกหุ้นที่ได้ SENTIMENT บวกในช่วงเปลี่ยนผ่านทางการเมือง และแนวโน้มกำไรฟื้นตัวต่อเนื่อง อย่าง JMART ราคาเป้าหมาย 24 บาท , BJC ราคาเป้าหมาย 42 บาท , CK ราคาเป้าหมาย 27 บาท , BEM ราคาเป้าหมาย 11.50 บาท , BBL ราคาเป้าหมาย 191 บาท , AMATA ราคาเป้าหมาย 27 บาท , TOP ราคาเป้าหมาย 60 บาท

เปิดมุมคิดกูรูตลาดทุน \"ครม.เศรษฐา 1\" หนุนตลาดหุ้นแค่ไหน ?