กอบศักดิ์ แนะทริคถกสหรัฐ เพิ่มทางรอดไทยยืนได้ท่ามกลางสงครามการค้าโลก
กอบศักดิ์ กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ แนะรัฐบาลไทยจับสัญญาณทรัมป์ ใช้เป็นแนวทางเจรจาสหรัฐ ชี้ไทยมีโอกาสถูกขึ้นภาษี แนะอย่าทำตัวเป็นเป้าสายตา-ลดข้อได้เปรียบ-เพิ่มช่องทางลงทุน-การค้า เชื่อไทยยืนอยู่ได้ท่ามกลางสงครามการค้า
ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล กรรมการรองผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ เปิดเผย ผ่านรายการ “ทันเศรษฐกิจ” ของธนาคารกรุงเทพ ผ่านเพจ Bnomics (Bangkok Economics) ในหัวข้อ ส่งครามการค้าโลก ว่า ภายหลังจากนายโดนัลด์ ทรัมป์เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสหรัฐเพียง 17 วัน เพราะทรัมป์ได้มีการลงนามในคำสั่งฝ่ายบริหารไปเกือบ 500 ฉบับแล้ว ซึ่งสร้างสีสันในตลาดโลก แต่ขณะเดียวกันได้สร้างความผันผวนต่อตลาดเงินโลกอย่างต่อเนื่องอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทั้งในส่วนของตลาดหุ้น อัตราแลกเปลี่ยน และสินทรัพย์ต่างๆ
สำหรับนโยบายกำแพงภาษีของสหรัฐ ที่ส่งผลกระทบต่อการค้าโลก หลายคนตั้งคำถามว่า เหตุใดทรัมป์ถึงประกาศขึ้นภาษีศุลกากรครั้งใหม่ต่อสินค้าทุกชนิดที่นำเข้ามาจากคู่ค้ารายใหญ่ จาก จีน และได้มุ่งเป้าไปที่ เม็กซิโก และแคนาดาเป็นหลัก โดยขึ้นภาษีนำเข้าสินค้า 25% ทั้งที่ก่อนหน้า 2 ประเทศนี้เป็นพันธมิตรที่เคยดี และสนับสนุนซึ่งกันและกันมาโดยตลอด เชื่อว่าเหตุผลที่แท้จริงไม่เกี่ยวกับการกังวลเรื่องการเข้าเมืองผิดกฏหมาย และการลักลอบค้ายาเสพติด แต่เป็นเพราะเป็นสหรัฐเสียเปรียบดุลการค้ากับ เม็กซิโกและแคนาดาอย่างมาก จึงเลือกจัดการ 2 ประเทศนี้ก่อน แม้สุดท้ายทรัมป์จะชะลอขึ้นภาพษีเม็กซิโก แคนาดาออกไปอีกหนึ่งเดือน หลังทั้ง 2 ชาติสัญาญายกระดับมาตรการควบคุมชายแดน ตามความต้องการของทรัมป์ นั่นเพราะเศรษฐกิจ เม็กซิโกและแคนาดาไม่สามารถอยู่ได้หากมีตลาดส่งออกของสหรัฐ
ทั้งนี้เห็นได้ว่า ทั้ง เม็กซิโก และแคนาดา มีการพึงพาตลาดส่งออกสหรัฐเป็นสำคัญ โดยเม็กซิโกส่งออกไปสัดส่วน 74% ถ้าสหรัฐขึ้นภาษี 25% เช่นเดียวกับแคนาดา มีสัดส่วนไปสหรัฐมากถึง 77% ของการส่งออกทั้งหมด
นอกจากนี้ยังมีหลายประเทศต้นๆที่เกินดุลสหรัฐ เชื่อว่าประเทศเป้าหมายถัดไป คือ เวียดนาม เพราะเกินดุลสหรัฐ เป็นอันดับ 4 รองจากเม็กซิโก
ส่วนจีน ที่เกินดุลเป็นอันดับ 3 แต่ สหรัฐเก็บภาษีนำเข้าเพียง 10% ทั้งที่จีนได้ดุลการค้าสหรัฐเยอะที่สุด รองจากอียู จีนส่งสินค้าไปสหรัฐประมาณ 5 แสนกว่าล้านเหรียญ ถ้าขึ้นภาษีไปอีก 10% ค่าความเสียหายจะอยู่ที่ 5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ แม้จะเป็นต้นทุนทีเพิ่มขึ้น แต่เมื่อเทียบกับเศรษฐกิจจีน ถือว่าเล็กน้อยมาก จึงไม่น่าแปลกใจว่าการแลกหมัดของทั้งสองประเทศ เพราะมีผลกระทบต่อกันน้อยมาก จึงไม่ใช่กรณีเดียวกับเม็กซิโก และแคนาดา
อย่างไรก็ตามนี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของสงครามการค้าเท่านั้น ยังมีเรื่องความเป็นผู้นำด้านเทคโนโลยี เพราะหลายคนมองว่า จีนคือคู่แข่งที่สำคัญของสหรัฐอย่างแท้จริง ต้องดูกันต่อว่าเกิดอะไรขึ้น
ดังนั้นในช่วงต่อไปจากนี้ 30 วัน จะเป็น 30 วันที่น่าติดตามกรณีศึกษาสงครามการค้าระหว่างเม็กซิโก แคนาดา และสหรัฐ
สำหรับผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยเป็นประเทศที่เกินดุลสหรัฐอยู่ที่อันดับ 10 กว่าๆ แต่ยังมองว่าไทยก็มีโอกาสที่จะถูกขึ้นภาษีเช่นกัน ส่วนผลกระทบจากสงครามการค้าจะเกิดขึ้นกับไทยได้5 ช่องทาง คือ
1.การค้า ซึ่งมีความเป็นไปได้ว่า โรงงานจีนที่แอบมาตั้งในไทย หรือประเทศอื่นๆ จะถูกเป็นเป้าหมายในการดำเนินการ หรือถูกสหรัฐเก็บไปด้วย ดังนั้นข้อขัดแย้งจะลุกลาม ถ้าไม่กระทบไทยตรงๆ จะเกิดผลกระทบอีกช่องทางคือ กระทบสินค้าเล็กๆในเมืองจีน เมื่อส่งออกไปสหรัฐไม่ได้แล้ว สินค้านี้ก็จะวนกลับทะลักสู่ไทย
จึงอยากขอเตือนเอสเอ็มอีไทยให้เตรียมรับมือ เมื่อสินค้าจีนส่งไปสหรัฐไม่ได้แล้วจะวนกลับมาเข้าไทยเหมือนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาจะส่งผลกระทบกับผู้ผลิตในประเทศอีกแบบหนึ่ง
2 การท่องเที่ยว ที่เกิดจากความเชื่อมั่นลดลง กระทบความรู้สึกของคนว่าจะท่องเที่ยวดีหรือไม่
3.เงินลงทุน ทั้งในตลาดหุ้น พันธบัตร และเงินลงทุนโดยตรง(FDI) ที่อยากเข้ามาลงทุนในไทย
4.ความเชื่อมั่น
5. ความผันผวนของสินทรัพย์ต่างๆ
เห็นได้จากวันที่ทรัมป์ได้ประกาศว่าจะขึ้นภาษี 25% วันนั้นตลาดเงินตกทั่วโลระเนระนาด ซึ่งส่งผลกระทบต่อตลาดเรา กระทบต่อความเชื่อมั่นของถึงไทย ทั้งที่ยังไม่ใช่ประเทศที่ได้รับผลกระทบต่อการขึ้นภาษีแต่เราก็พลอยฟ้าพลอยฝนไปด้วย ส่วนหนึ่งเพราะตลาดกำลังปรับตัว และผันผวน กระทบสินทรัพย์อย่างอื่นๆไปด้วยเช่นกัน ดังนั้น ไทยต้องคิด ต้องจัดการดีๆ เหมือนน้ำท่วมบ้านที่มี 5 ประตู เราจะเตรียมรับมือผล 5 ช่องทางได้อย่างไร
สำหรับแนวทางการเตรียมรับมือ คือการเจรจากับสหรัฐ โดยต้องเริ่มต้นจากมุมมองของทรัมป์ก่อน ถ้าเรารู้จะสามารถเจรจาเดินได้ถูกทาง สามารถอยู่ร่วมกับเขาได้ โดยต้องดูว่า
- เราได้เปรียบ หรือเอาเปรียบสหรัฐตรงไหน
- สิ่งที่เราจะเป็นประโยชน์กับสหรัฐได้ เช่น พูดคุยหาช่องทางลงทุนในสหรัฐ
- สิ่งที่เราจะซื้อจากเขาได้บ้าง เช่น เครื่องบิน อุปกรณ์ และอื่นๆ
- เตรียมแนวทางเจรจา เพื่อบรรเทาผลกระทบ 5 ช่องทาง
เมื่อรู้แล้วต้องพยามคลี่คลายปัญหาเรื่องนั้นต่อไป แต่อยากให้เตือนว่าประเทศพันธมิตรเขายังทำได้ นับอะไรกับประเทศเล็กๆอย่างเรา ถ้าไม่มีดิวดีๆให้เขา คงต้องขึ้นภาษี แต่สิ่งที่สำคัญเป้าหมาย ทำอย่างไรให้ผ่านจุดนี้ไปได้ มั่นใจว่าใน4 ปีข้างหน้า เราต้องอย่าทำตัวเป็นเป้าหมายของทรัมป์ เร่งเจรจากับเขาเงียบๆ แล้วความสำเร็จของไทยในเรื่องสงครามการค้าโลกครั้งนี้ ทุกประเทศปั่นบวน แต่ไทยอยู่ร่วมได้
อย่างไรก็ตาม ท่ามกลางปั่นบวนการค้า เราอาจไปได้ดีก็ได้ สะท้อนได้จากการส่งออกในเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ยอดการส่งออกของไทยขยายตัว 8.7% ส่งออกไปสหรัฐ 17.5% ไปจีน 15% ซึ่งส่วนนี้ตีความได้ว่า สหรัฐ กับจีนจะไม่ได้ส่งออกไประหว่างกันโดยตรง แต่มีการส่งออกอาศัยแฝงผ่านไทยไประหว่าง 2 ประเทศ ซึ่งถือว่าเป็นโยชน์กับไทย การส่งออกไป CLMV ก็ดีขยายตัวได้ 20% รวมถึงอินเดีย 62.8%
ท่ามกลางความขัดแย้งต่างๆ มันอาจมีช่องให้สามารถเรายืนอยู่ได้ และอาจเป็นประโยชน์กับไทยด้วยซ้ำ เพียงแต่เราต้องไม่เป็นส่วนร่วมของสงคราม และมองหาโอกาสว่าเราอยู่ตรงไหน
ดร.กอบศักดิ์ เชื่อมั่นว่า ท่ามกลางขัดแย้งทางภูมิศาสตร์ทั้งหมด สิ่งที่ตามมาคือ การลงทุนโยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ที่เคยหลั่งไหลไปจีน ล่าสุดการเคลื่อนตัวของเงินลงทุนได้กลับมาสู่กลุ่มประเทศอาเซียนอีกรอบ ตัวเลขคำของการลงทุน BOI ในปี 2022 สูงที่สุดในรอบ 10 ปี และในปี 2023 ดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา 43% ปี 2024 ดีขึ้นกว่าปี 2023 อีก 35% คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนที่ขอในแต่ละปี ถึง 1.14 ล้านล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าความขัดแย้งยังไม่จบในเวลาอันใกล้ ปีหน้า และปีต่อไป แล้วอาเซียนจะเป็นประตูที่สำคัญที่สุด เข้าสู่ตลาดที่ใหญ่ที่สุด เป็นกลางที่สุด และนี่คือโอกาสของเราท่ามกลางการค้าโลก