posttoday

ภาคเอกชนพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ย้ำสร้างแต้มต่อด้วยการพัฒนาแรงงานคุณภาพ

09 กุมภาพันธ์ 2566

ภาคเอกชนจากทั้งฝั่งท่องเที่ยว อาหาร และโรงพยาบาล ร่วมแสดงวิสัยทัศน์ในงานสัมนา ‘อนาคตประเทศไทย Economic Drives เศรษฐกิจไทย..สตาร์ทอย่างไรให้ก้าวนาโลก’ ซึ่งจัดขึ้นโดย โพสต์ทูเดย์ และ เนชั่นทีวี ที่ต่างเน้นย้ำให้เสริมศักยภาพแรงงาน เพื่อนำไปสู่การพัฒนายั่งยืน


ภายในงานสัมนา ‘อนาคตประเทศไทย Economic Drives เศรษฐกิจไทย..สตาร์ทอย่างไรให้ก้าวนาโลก’ ซึ่งจัดขึ้นโดย โพสต์ทูเดย์ และ เนชั่นทีวี นางมาริสา สุโกศล หนุนภักดี นายกสมาคมโรงแรมไทยได้ให้มุมมองต่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในฝั่งของอุตสาหกรรมโรงแรมและท่องเที่ยวว่า 

 

ภาคท่องเที่ยวของไทยมีแนวโน้มเติบโตอย่างแน่นอน โดยคาดการณ์ว่าตัวเลขรายได้การท่องเที่ยวในปีนี้จะเพิ่มขึ้นอีก 1 ล้านล้านบาทเป็นราว 2.25 ล้านบาท หรือเติบโตขึ้นถึง 76% เมื่อเทียบกับปี 2562 ขณะที่ตัวเลขอัตราการเข้าพักของโรงแรมจะอยู่ที่ 60%

 

ส่วนในแง่ตัวเลขนักท่องเที่ยวคาดว่าในปีนี้จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ 28 ล้านคน ที่จะสร้างรายได้ถึง 1.44 ล้านล้านบาท ขณะที่จะมีจำนวนนักท่องเที่ยวไทยที่ 226 ล้านคน คิดเป็นรายได้ที่ 8.2 แสนล้านบาท 

 

อย่างไรก็ตาม แม้การเติบโตด้านท่องเที่ยวของไทยจะไปได้ดีในปีนี้ แต่ตัวเลขขีดความสามารถในการแข่งขันด้านท่องเที่ยวที่อยู่ในอันดับ 36 ของโลก นางมาริสาจึงมองว่ายังมีอีกหลาย ๆ เรื่องที่ยังต้องพัฒนาให้ดีขึ้นได้ เช่น ความปลอดภัย การให้ความสำคัญจากภาครัฐ การดูแลสิ่งแวดล้อม ฯลฯ  จึงยังคงมีความท้าทายที่ผุ้ประกอบการด้าท่องเที่ยวและโรงแรมยังต้องรับมือ 

 

เช่นเดียวกับภาคท่องเที่ยวของไทยยังมีท้าทายอยู่ในหลายเรื่อง เช่น การขาดแคลนแรงงาน การกระจายรายได้ท่องเที่ยวสู่ท้องถิ่น การโอกาสต่าง ๆ อีกทั้งมองว่าควรให้โรงแรมทุกประเภทอยากอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์ที่เท่าเทียม รวมไปถึงการสนับสนุนเรื่อง Sustainable development (SD) ด้านท่องเที่ยวที่น่าจะมีมากกว่านี้ 

 

"โดยเฉพาะเรื่อง Tourist Fee อยากให้จัดสรรมาให้เอกชน เพื่อพัฒนาขีดความสามารถมากยิ่งขึ้น"

 

นอกจากนี้นางมาริสายังฝากถึงภาครัฐอีกว่า เน้นย้ำอีกว่า เรื่อง SD เป็นเทรนด์สำคัญระดับโลก จึงต้องผลักดันให้โรงแรมสีเขียวมีบทบาทมากขึ้น  รวมถึงยังฝากถึงภาครัฐในเรื่องเทคโนโลยี

 

นั่นคือควรต้องมุ่งเน้นด้านบริหารจัดการข้อมูลให้ดีขึ้น โดยเฉพาะข้อมูลตัวเลขนักท่องเที่ยวที่เดิมต้องใช้เวลาอัปเดตถึง 1 เดือน แต่น่าจะทำให้ได้ข้อมูลแบบเรียลไทม์ ทั้งนี้หากสามารถทำได้จะช่วยให้เป็นประโยชน์ด้านวางแผลและทำกลยุทธ์การตลาดได้ดีขึ้น ตลอดจนอยากฝากเรื่องการปรับปรุงเรื่องกฎหมายต่าง ๆ เกี่ยวกับโรงแรมให้ดีขึ้นด้วย

 

"ตอนนี้เมืองไทยถูกจารึกว่าเป็น Top Destination เช่นเดียวกับที่กรุงเทพก็จะได้รับนิยมมากขึ้นด้วย เช่นเดียวกับเมืองใหญ่ ๆ อื่นของโลก จึงอยากให้การท่องเที่ยวเป็นวาระแห่งชาติ อยากให้มีศูนย์การพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนเกิดขึ้น เพราะถ้าท่องเที่ยวดีเศรษฐกิจไทยก็จะดีไปด้วย" 

 

ภาคเอกชนพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ย้ำสร้างแต้มต่อด้วยการพัฒนาแรงงานคุณภาพ

 

ด้านดร.วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา รองประธานกรรมการหอการค้าไทย และนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย กล่าวในงานสัมมนาว่า ประเทศไทยกำลังเผชิญกับ 5 ความท้าทาย ประกอบด้วย 1.ความขัดแย้งทางภูมิศาสตร์โลก ส่งผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทาน ซึ่งเหตุการณ์ที่เห็นได้ชัดเจนคือ ปัญหาสงครามรัสเซีย-ยูเครน ทำให้อาหารของโลกขาดแคลน ข้าวสาลีหายไป 30% ขณะที่ข้าวโพดสำหรับสัตว์เลี้ยงหายไป 20% ส่งผลให้ราคาอาหารแพง เงินเฟ้อสูง

 

จึงนำไปสู่ความท้าทายข้อที่สอง คือ การขึ้นดอกเบี้ย เมื่ออัตราเงินเฟ้อทั่วโลกยังอยู่ในระดับสูง ส่งผลให้ธนาคารกลางของประเทศต่าง ๆ ต้องขึ้นดอกเบี้ยเพื่อสกัดเงินเฟ้อ ประเทศที่กระทบคือ ประเทศที่กำลังพัฒนาและยังไม่พัฒนา

 

ขณะที่ประเทศไทยเริ่มเห็นผลกระทบส่งผ่านไปยังอัตราเงินกู้ โดยคนที่ได้รับปัญหาคือเอสเอ็มอี ซึ่งมีภาระเดิมอยู่แล้ว ทำฟื้นตัวยากขึ้นกว่าเดิม แต่หากประเทศไทยจะเพิ่มดอกเบี้ยต่อไปเรื่อย ๆ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนก็พลิกเกม ค่าเงินแข็งพุ่งก่อนดอกเบี้ยขึ้น ถือเป็นการหักปากกาเซียน

 

ข้อที่ 3 ความท้าทายจากมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเพิ่มขึ้น แต่ละประเทศต้องการชะลอการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ

 

ข้อที่ 4 ความท้าทายของการเคลื่อนย้ายแรงงานระหว่างประเทศไม่สะดวก ทำให้ขาดแคลนแรงงาน ซึ่งเรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ เพราะเราไม่สามารถเปลี่ยนแปลงระบบการผลิตแบบเ.ดิมไปสู่ระบบออโตเมชันได้เพียงข้ามคืน

 

ความท้าทายข้อสุดท้ายคือ ราคาพลังงาน และต้นทุนวัตถุดิบปรับเพิ่มขึ้น ช่วงที่หนักมากที่สุดคือ ต้นทุนค่าระวางเรือพุ่งขึ้น ในช่วงโควิด หลายประเทศประกาศให้หยุดงาน ทำให้ตู้คอนเทนเนอร์แออัด เพราะไม่มีพนักงานทำงาน

 

สำหรับสถานการณ์การส่งออกอาหารของประเทศไทย ปี 2564-2565 ประเทศไทยอยู่อันดับที่ 13 โดยเฉพาะปีที่แล้วเป็นปีทองของอาหารเติบโต 23%  ปี 2565 ประเทศไทยส่งออกไปยังกลุ่มอาเซียนเพิ่มขึ้น 26% คิดเป็นมูลค่า 350,741 ล้านบาท ,กลุ่มประเทศยุโรปเพิ่มขึ้น 32% มูลค่า 116,322 ล้านบาท ,สหรัฐอเมริกา 152,383 ล้านบาท , ญี่ปุ่นเพิ่มขึ้น 17% มูลค่า 162,055 ล้านบาท และจีน เพิ่มขึ้น 12% มูลค่า 357,135 ล้านบาท  

 

ส่วนสินค้าอาหารส่งออกของไทยที่ขยายตัว ได้แก่ น้ำตาล และกากน้ำตาล เพิ่มขึ้น 116% มูลค่า 108,721 ล้านบาท ,ไขมันจากพืชและสัตว์ เพิ่มขึ้น 56% มูลค่า 70,290 ล้านบาท ,ไก่สดแช่แข็งและแปรรูป เพิ่มขึ้น 39% มูลค่า 141,968 ล้านบาท ,อาหารสัตว์เลี้ยง เพิ่มขึ้น 27% มูลค่า 98,594 ล้านบาท และข้าวเพิ่มขึ้น 26% มูลค่า 138,452 ล้านบาท 

 

“อาหารสัตว์เลี้ยงเป็นม้ามืด โตเกือบ 30 % เพราะเป็นสินค้าตอบโจทย์ BCG การผลิตสามารถใช้ได้ทั้งเลือด กระดูก เป็นอาหารที่ขายเรื่องโภชนาการ แม้ราคาจะแพงกว่าปลากระป๋อง ” ดร.วิศิษฐ์ กล่าว 

 

เขากล่าวต่อว่า เทรนด์การบริโภคอาหาร คนสนใจบริโภคโปรตีนมากขึ้น ต้องบริโภคให้เพียงพอต่อน้ำหนักของร่างกาย คนสนใจเรื่องสุขภาพมากขึ้น สังคมผู้สูงอายุกำลังมา แม้ว่าอาหารแพลนท์เบสมีสัดส่วนเพียง 10% แต่มั่นใจว่าภายใน 10 ปี ตัวเลขเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลแน่นอน ประเทศไทยต้องผลักดันให้เกิดการผลิตอาหารจากพืช เช่น ลำต้น ราก มาวิจัยใช้ประโยชน์ อาจจะขายได้แพงกว่าการใช้เมล็ดอย่างที่เคยใช้

 

นอกจากแพลนท์เบสแล้ว คือ โปรตีนที่มาจากแมลง เพราะใช้พื้นที่เลี้ยงน้อยกว่า ใช้อาหารเลี้ยงน้อยกว่าการเลี้ยงวัว 10 เท่า ปล่อยก๊าซมีแทนน้อยกว่า 100 เท่า เป็น BCG แต่จะทำอย่างไรให้สามารถขายไปยังประเทศที่พัฒนาแล้วได้ นอกเหนือจากประเทศเพื่อนบ้าน เพราะคนยังกลัวแมลงอยู่ การขายจิ้งหรีด แทนที่จะขายเป็นตัว ต้องเป็นโปรตีนสกัด ทำเป็นผง ให้นำไปผสมกับอาหาร เช่น สปาเก็ตตี้ หรือ พาสต้า 

 

นอกจากนี้อาหารอนาคตจากห้องแลปยังไม่สอดคล้องกับบริบทไทย ไม่เหมือนสิงคโปร์ ที่ทำให้เขาได้คะแนนความมั่นคงทางอาหารดี เพราะเขามีการสนับสนุนด้านกฎหมาย ภาษีนำเข้าเป็นศูนย์ ประเทศไทยต้องยกระดับความมั่นคงทางอาหาร ประชาชนต้องเข้าถึงได้ ราคาแข่งขันได้ หากผลิตไม่เยอะ ต้องควบคุมต้นทุนให้ต่ำ วัตถุดิบที่นำเข้า ทำเองได้หรือไม่

 

ภาคเอกชนพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ย้ำสร้างแต้มต่อด้วยการพัฒนาแรงงานคุณภาพ

 

สำหรับนางสาวนภัส เปาโรหิตย์ Chief Marketing Officer โรงพยาบาลบารุงราษฎร์ ระบุว่า ภาพรวมตลาดของ Medical Tourism Market จากในปี 2021 อยู่ที่ประมาณ 13.89 ล้านเหรียญสหรัฐ และคาดการณ์ว่าในปี 2028 จะมีมูลค่าตลาดรวมกว่า 53.51 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือเติบโตกว่า 21.1%

 

ในส่วนของตลาด Wellness Tourism Market หรือ การแพทย์เชิงป้องกัน แพทย์แผนไทย หรือแผนทางเลือกอื่นๆ โดยในปี 2020 มูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 4.4 ล้านล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ และในปี 2025 คาดว่าจะมีมูลค่าตลาดรวมอยู่ที่ 7 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ เติบโตกว่า 9.9% 

 

ซึ่งทั้งสองกลุ่มนี้จะเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยในอนาคต โดยเฉพาะอย่างยิ่งภายหลังสถานการณ์โควิด ในส่วนของเวลเนส มีศัพท์เซกเมนท์มากมาย ซึ่งเป็นโอกาสอันดี สำหรับธุรกิจทีเป็นเอสเอ็มอี ธุรกิจรายย่อย ธุรกิจของคนตัวเล็ก ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมมีส่วนแบ่ง ทั้งนี้ Thailand Medical Tourism Market ซึ่งไทยยังมีโอกาสที่จะเติบโตอีกมาก

 

อย่างไรก็ตามในปี 2019 มีการเดินทางเข้ามารักษาทางการแพทย์ในไทย อยู่ที่ 3.5 ครั้ง มีรายได้รวมกว่า 4.3 หมื่นล้านเหรียญดอลล่าร์สหรัฐ ในขณะที่สิงคโปร์มีการเดินทางเข้ามารักษาทางการแพทย์อยู่ที่ 850,000 ครั้ง มีรายได้ 3.5 หมื่นล้านเหรียญดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งมีรายได้ที่แตกต่างจากสิงคโปร์ที่ 19% แสดงให้เห็นว่าเรายังทำได้ไม่ดีพอ และเชื่อมั่นว่าเราจะทำได้ดีกว่านี้ 

 

ในส่วนของขีดความสามารถที่น่าจะเพิ่มขึ้นได้ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทย มี Overcoming Challenger บางประการด้วยกัน ประการที่ 1 คือ เศรษฐกิจของไทยส่วนใหญ่ ต้องพึ่งพาการท่องเที่ยวเป็นหลัก ซึ่งมีขนาดถึง 12.6% ของจีดีพีประเทศ

 

ประการที่ 2 คือ ประเทศไทยกำลังติดกับดักบางอย่าง เช่น เรื่องความสามารถที่จะเขยิบตัวเองไปสู่ภารการผลิตอุตสาหกรรม หรือไปสู่การส่งมอบผลิตภัณฑ์บางอย่างที่มีมูลค่าเพิ่มขึ้น ประการที่  3 คือ จากการสำรวจเรามีแรงงานที่ขาดทักษะ ถึง 50 % และจะทำอย่างไรเพื่อยกระดับให้แรงงานให้มีทักษะที่มีคุณภาพ และ ประการที่ 4 คือ เรากำลังประสบปัญหาการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัยซึ่งมีเป็นจำนวนมาก 

 

ทั้งนี้หากมองว่าจะทำอย่างไรกับนโยบายของด้าน Medical Tourism กับการก้าวไปสู่มหาอำนาจทางการแพทย์ ซึ่งอยากจะนำเสนอประเด็นหลัก ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ประเด็นหลักด้วยกันซึ่งมีความเกี่ยวข้องกัน

 

โดยประเด็นแรก ต้องการที่จะยกระดับ Medical Tourism เป็น National Agenda ซึ่งจะต้องมีภาคส่วนต่าง ๆ ที่จะต้องร่วมมือกัน อันประกอบไปด้วย รัฐบาล เอกชน และภาคสังคม หรือภาคประชาชน 

 

ประเด็นที่ 2 ต้องยกระดับการรักษา Value-base Proposition ซึ่งจำเป็นที่จะต้องทำ High Intensity Case ทำ Customized-care และทำ Wellness and Longevity ประเด็นที่ 3 จำเป็นต้องพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ ซึ่งต้องพัฒนาทั้งในด้านของ Head โดยจำเป็นต้องพัฒนาในแง่ของ Knowledge & experience และในด้านของ Heart ซึ่งทัศนคติจะต้องดี Mental Health ต้องเข้มแข็ง และจำเป็นต้องมีหลักธรรมาภิบาล รวมถึงมีความซื่อสัตย์

 

ประการที่ 4 Culture : Active Citizen เราต้องปลูกฝังความคิดเรื่องการรักษาสุขภาพ ให้เป็นดีเอ็นเอของทุกคน และสร้างให้บุคลากรของเรามี Health literacy รวมถึงถ่ายทอดความรู้ที่มีอยู่ตั้งแต่สมัยอดีต เช่น ภูมิปัญญาชาวบ้าน ความรู้ความเข้าใจต่าง ๆ จะทำอย่างไรให้คนในประเทศรับรู้และทำให้ไประเทศไทยเป็น เมดิคัล ฮับ รวมถึงการส่งเสริมสุขภาวะที่ดีให้กับคนอื่นได้

 

และประการที่ 5 Repositioning Thailand เราจำเป็นที่ต้องสื่อสารให้เห็นถึงความเป็นไทย ซึ่งเราต้องคิดและสื่อสารความเป็นมหาอำนาจทางสุขภาพออกไป ทั้งนี้คาดว่าอาจจะใช้เวลาในการสื่อสารไม่นาน แต่ต้องใช้เวลาในการให้ติดอยู่ในความคิดของทุกคน 

 

สำหรับความท้าทายในการขับเคลื่อนทำให้ประเทศไทย เป็น เมดิคัล ฮับ ประการแรก คือต้องพยายามขับเคลื่อนให้ไปสู่ Medical Base ประการที่สอง เรามีสิ่งที่เรียกว่า Limited Talent Pool โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พยาบาล หรือหน่วยทางเทคนิคทางการแพทย์ต่าง ๆ ซึ่งเราขาดแคลน

 

ทั้งนี้จึงต้องเร่งพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์เพิ่มมากขึ้น ทางด้านเทคโนโลยีทางการแพทย์ เป็นส่วนหนึ่งที่จะต้องมีการพัฒนา แต่ไม่สำคัญเท่ากับการพัฒนาคน เพราะโรงพยาบาลเริ่มต้นที่บุคคล ลงท้ายที่บุคคล ไม่ว่าจะเป็นหมอ พยาบาล บุคลากรทางแพทย์ เป็นต้น ดังนั้นจึงควรมุ่งพัฒนาคน บุคลากร ซึ่งในปัจจุบันนี้จะเห็นได้บุคลากรทางแพทย์ทำงานกันหนักมาก

 

ภาคเอกชนพร้อมขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ย้ำสร้างแต้มต่อด้วยการพัฒนาแรงงานคุณภาพ