posttoday

เศรษฐกิจโลกชะลอ ฉุดส่งออกพ.ย.ติดลบ 6% หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

27 ธันวาคม 2565

‘พณ.’ เผยส่งออกเดือน พ.ย.ปี 66 ติดลบ 6% ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 หลังเจอหลายปัจจัยรุมเร้า ทั้ง เศรษฐกิจโลกชะลอ-เงินเฟ้อสูง-สงครามรัสเซีย-ยูเครน ที่ยังไม่มีท่าทียุติ ขณะที่ 11 เดือนแรก ส่งออกโตได้ 7.6% มูลค่ายังบวกกว่า 2.6 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ

นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน
แถลงภาวะการค้าระหว่างประเทศของไทย เดือนพฤศจิกายน  และ 11 เดือนแรกของปี 2565 ว่า ส่งออก เดือนพฤศจิกายน มีมูลค่าการส่งออก 22,308.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลง หรือติดลบ 6% ติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 ต่อเนื่องจากเดือนตุลาคมที่ผ่านมา โดยการส่งออกติดลบ -4.4% ซึ่งเป็นการหดตัวครั้งแรกในรอบ 19 เดือน

 

สำหรับ ปัจจัยลบที่จากกระทบการส่งออกในเดือนพฤศจิกายน และปี 2566 ได้แก่

1.ภาวะเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยคาดการณ์ว่า ปี 2566 เศรษฐกิจโลกจะขยายตัวได้ 2.7% ลดลงจากปี 2565 ที่ขยายตัว 3.2% ซึ่งจะมีผลกระทบต่อการส่งออกของไทย

 

2.เงินเฟ้อที่ยังสูง และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารต่างประเทศจะมีผลไปถึงปีหน้า ทำให้ความต้องการบริโภคอาจได้รับผลกระทบ

 

3.ปัญหาภูมิรัฐศาสตร์สงครามรัสเซีย-ยูเครนและอื่นๆ ยังไม่มีแนวโน้มยุติ ทำให้ต้นทุนการผลิตสูงจากพลังงาน อาหารสัตว์และความต้องการบริโภคลดลงไปด้วย
 

ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 23,650.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.6% ส่งผลการค้าไทยในเดือนพฤศจิกายนขาดดุลการค้า 1,342.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

 

โดยพบว่า การส่งออกหมวดสินค้าเกษตร เดือนพฤศจิกายน ติดลบ 4.5% มีมูลค่า 1,985.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกับหมวดอุตสาหกรรมที่ติดลบ 5.1% มีมูลค่า 17,882.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีเพียงหมวดสินค้าอุตกรรมเกษตร ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.0% มีมูลค่า 1.746.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

 

อย่างไรก็ตาม พบว่า การส่งออก 11 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-พ.ย.) กลับขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.6% โดยมีมูลค่า 265,349.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกับ การนำเข้า มีมูลค่า 280,438 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 16.3% แต่ไทยขาดดุล 15,088.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

เศรษฐกิจโลกชะลอ ฉุดส่งออกพ.ย.ติดลบ 6% หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2


ขณะที่การนำเข้ามีมูลค่า 23,650.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 5.6% ส่งผลการค้าไทยในเดือนพฤศจิกายนขาดดุลการค้า 1,342.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

 

โดยพบว่า การส่งออกหมวดสินค้าเกษตร เดือนพฤศจิกายน ติดลบ 4.5% มีมูลค่า 1,985.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกับหมวดอุตสาหกรรมที่ติดลบ 5.1% มีมูลค่า 17,882.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ มีเพียงหมวดสินค้าอุตกรรมเกษตร ที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.0% มีมูลค่า 1.746.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

 

อย่างไรก็ตาม พบว่า การส่งออก 11 เดือนแรกของปีนี้(ม.ค.-พ.ย.) กลับขยายตัวเพิ่มขึ้น 7.6% โดยมีมูลค่า 265,349.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เช่นเดียวกับ การนำเข้า มีมูลค่า 280,438 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น 16.3% แต่ไทยขาดดุล 15,088.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

 

โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่สำคัญ ปรับตัวเพิ่มขึ้นทุกรายได้ ได้แก่ สินค้าเกษตร ขยายตัวเพิ่มขึ้น 3.5% มีมูลค่า 24,679.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ สินค้าอุตสาหรกรมเกษตรเพิ่มขึ้น 20.6% มีมูลค่า 21,212.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเฉพาะสินค้าอุตสหากรรมขยายตัวได้ดี คือ เพิ่มขึ้น 6.5% มีมูลค่า 208,445.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

 

เศรษฐกิจโลกชะลอ ฉุดส่งออกพ.ย.ติดลบ 6% หดตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2

สำหรับ ตลาดที่ขยายตัวได้ดีในเดือน พฤศจิกายน อาทิ อิรัก เพิ่มขึ้น 215.6% บาร์เรน 153.1% ซาอุดีอาระเบีย 40.1% สหราชอาณาจักร 22.2% และลาว 21.3%

 

ส่วน ปัจจัยหนุนการส่งออกสำคัญ ได้แก่ 

 

1.การดำเนินงานอย่างเข้มข้นของกระทรวงพาณิชย์ร่วมกับเอกชน เช่น การลงนามขยายความร่วมมือด้านอีคอมเมิร์ซกับจีน ซึ่งเป็นช่องทางนวัตกรรมทางการตลาดที่มีผลให้ตัวเลขในจีนยังไปได้ และการเร่งรัดการเปิดด่านรอบประเทศจาก 97 ด่านเปิดแล้ว 72 ด่าน

 

2. ข้อมูลองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) คาดการณ์ว่าปี 2565 โลกจะนำเข้าอาหารมากขึ้นประมาณ 10% ส่งผลต่อการขยายตัวด้านอาหารและการส่งออกของไทยไปด้วยประการที่สามการเติบโตของ 5G รวมทั้ง Digital Economy ช่วยให้ความต้องการสินค้าเทคโนโลยี เช่น สมาร์ทโฟนมีมากขึ้นและประการที่สี่ สถานการณ์การขาดแคลนเซมิคอนดักเตอร์เริ่มคลี่คลาย ทำให้ยานพาหนะเ ครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์กลับมาดีขึ้น