posttoday

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม พลังขับเคลื่นอุตสาหกรรมไทย Empowering Food Industry ผลักดันยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารไทย 4.0

28 พฤศจิกายน 2560

ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อผู้ประกอบการเพิ่มขีดความสามารถ เพิ่มมูลค่าและผลิตภาพ เพิ่มโอกาสการลงทุนในตลาดโลก

 

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เป็นองค์กรชั้นนำในการสร้างคุณค่า (Value Creation) ให้กับอุตสาหกรรมอาหารของไทยเป็นที่ยอมรับทั้งในและต่างประเทศด้วยบริการที่เป็นเลิศ โดยมุ่งสร้างคุณค่าด้านวิชาการ เทคโนโลยีและองค์ความรู้ที่ล้ำสมัย ทันสถานการณ์ที่ตอบสนองความต้องการของภาครัฐและเอกชน เพื่อส่งเสริมการแข่งขันของอุตสาหกรรมอาหาร

นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหารสถาบันอาหาร ได้กล่าวถึงแนวการดำเนินงานเพื่อสนองต่อนโยบายประเทศไทย 4.0 ของรัฐบาลว่า สถาบันอาหารได้จัดทำแผนพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารแห่งชาติ 20 ปี ภายใต้วิสัยทัศน์ "ประชารัฐร่วมใจประเทศไทยเป็นครัวของโลก" โดยมีเป้าหมายในการเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าอาหารติดอันดับ TOP 5 ในปี พ.ศ. 2579 จึงจำเป็นต้องนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 4.0 มาเป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนฯ โดยภาครัฐจะมีบทบาทในการสร้างสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการขับเคลื่อน การเปลี่ยนแปลง (Enabling Environment) เข้าสู่อุตสาหกรรม 4.0 เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำเทคโนโลยีอุตสาหกรรมที่เหมาะสมมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต ลดปัญหาขาดแคลนแรงงานรวมถึงจะช่วยให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมการผลิตเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับผลิตภัณฑ์อาหารอนาคต (Future food) ทั้งนี้ การพัฒนาอุตสาหกรรมอาหารของประเทศสู่ยุค 4.0 จะให้ความสำคัญใน 3 เรื่อง ได้แก่

1. การเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและการแข่งขันของผู้ประกอบการอาหารไทยให้เข้าสู่ยุค 4.0 หรือให้เป็นนักรบรุ่นใหม่ (New warrior) 35,000 ราย ภายในปี 2579 ด้วยนวัตกรรม โดยภาครัฐจะสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการการผลิต การตลาด ตลอดจนการสนับสนุนคูปองเพื่อปรับปรุงกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ และการขยายตลาด

2. การจัดระบบการพัฒนาปัจจัยเอื้อต่อการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอาหารไทยเป็นครัวของโลก (Enabling factor) เกิดการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเพื่อสนับสนุนการลงทุนของผู้ประกอบการอุตสาหกรรมอาหารไทย (New warrior) ด้วยการพัฒนา World Food Valley Thailand ในรูปแบบประชารัฐ มุ่งเป้าสู่การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมอาหาร

3. การพัฒนาตลาดอุตสาหกรรมอาหารอนาคต และช่องทางการค้าในเวทีสากลเพื่อให้ SMEs ได้มีโอกาสเพิ่มช่องทางการตลาดทั้งในและต่างประเทศ ตลอดจนมีการเชื่อมโยงวัตถุดิบ ด้วยห่วงโซ่อาหารโลก Global Connect ผ่านกิจกรรม 4 รูปแบบ ได้แก่ 1.World Food Expo เพื่อส่งเสริมการลงทุนภายในประเทศ และสร้างช่องทางการค้าในตลาดโลก 2. Window of Thai Food เพื่อแสดงสินค้าของ New Warrior 3.Nationnal and Regional Food Festival เพื่อส่งเสริม Local Food และ Authentic Food 4. Virtual market เพื่อการค้าอาหาร และสร้างช่องทางในการเข้าถึง Warrior ในระดบบดิจิทัล และ market 4.0 สร้างการรับรู้ถึง Positioning ของอาหารไทยบนเวทีโลก

นายยงวุฒิ กล่าวถึงการพัฒนานวัตกรรมอาหาร ว่า การนำนวัตกรรมมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหารเป็นแนวทางสำคัญที่จะทำให้อุตสาหกรรมอาหารของไทยมีขีดความสามารถในการแข่งขัน การสร้างนวัตกรรมทางธุรกิจต้องคำนึงถึงความต้องการของผู้บริโภค รูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่จะเข้าสู่ตลาด การสร้างหรือต่อยอดนวัตกรรมทางธุรกิจในอุตสาหกรรมอาหารให้เกิดมูลค่าในเชิงพาณิชย์ หน่วยงานของรัฐต้องให้คำแนะนำผู้ประกอบการ เพื่อที่จะได้นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีไปใช้ในทิศทางเดียวกัน คือการเพิ่มขีดความสามารถในการปรับตัวและการแข่งขันของผู้ประกอบการในการนำนวัตกรรมมาใช้ในองค์กร การสร้าง Value creation เป็นต้น

สถาบันอาหาร ยังได้จัดทำโครงการมาตรฐานอาหารไทย เพื่อกำหนดมาตรฐานอาหารไทยให้มีความชัดเจน เป็นการรักษาภาพลักษณ์ รสชาติของอาหารไทยให้เป็นที่ยอมรับของชาวไทย และชาวต่างชาติทั่วโลก รวมถึงเป็นการส่งเสริมการใช้วัตถุดิบของไทย โดยกำหนดมาตรฐาน "รสไทยแท้" เพื่อเป็นการรับรองความเป็นอัตลักษณ์ของอาหารไทย ทั้งรวชาติ คุณค่า และคุณประโยชน์ของอาหารไทย ซึ่งสถาบันอาหารจะให้การรับรองความเป็นอัตลักษณ์ด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และศิลปะการปรุงอาหาร มาตรฐาน "รสไทยแท้" ยังเป็นเครื่องมือในการป้องกันความเข้าใจผิด และป้องกันความเสียหายท่าอาจเกิดขึ้นกับเอกลักษณ์ และอัตลักษณ์ของอาหารไทยด้วย

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม พลังขับเคลื่นอุตสาหกรรมไทย Empowering Food  Industry ผลักดันยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารไทย 4.0

สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม พลังขับเคลื่นอุตสาหกรรมไทย Empowering Food  Industry ผลักดันยุทธศาสตร์อุตสาหกรรมอาหารไทย 4.0